ปรับปรุง : 2567-09-02 (ปรับรูปแบบ) |
|
|
ต.ย. รับค่าเก็บลงอาเรย์แล้วหาค่าสูงสุด ar = array(5) max = 0 for i = 1 to 5 accept to ar[i] next for i = 1 to 5 if (val(ar[i]) > max) max = val(ar[i]) endif next ? max |
ต.ย. Code อ่านข้อมูลจาก .dbf ไปพิมพ์ที่เครื่องพิมพ์ use empl set device to printer i = 0 while !eof() i++ @ i,10 say str(empl)+name+surn skip end eject set device to screen ไอทีในชีวิตประจำวัน # 285 รำลึกอดีตกับคลิ๊ปเปอร์ (540317) ในวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ มีตัวแปลภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาขึ้นมากมาย ภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 3 คือภาษาระดับสูง (High-Level Languages) ยังเป็นการเขียนโปรแกรมต้นฉบับ (Source Code) ที่ต้องอาศัยทักษะค่อนข้างมาก อาทิ COBOL, FORTRAN, BASIC, PASCAL, C, Foxpro, DBase หรือ Clipper เริ่มมีตัวแปลภาษาเพื่อตรวจสอบความผิดพลาดของรหัสต้นฉบับก่อนนำไปประมวลผลจริง การปรับปรุงแฟ้มข้อมูลในสื่อโบราณ อาทิ เทปกระดาษ หรือเทปแม่เหล็ก ยังใช้หลักการประมวลผลแบบตามลำดับในการประมวลผล ภาษายุคต่อมาทำให้การพัฒนาทางซอฟท์แวร์เป็นไปอย่างก้าวกระโดด เพราะสามารถใช้คำสั่ง SQL ในการจัดการข้อมูล เริ่มรองรับการพัฒนาแบบโมดูล มีภาษาใหม่เกิดขึ้นอย่างหลากหลาย ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ต้องเขียนรหัสต้นฉบับ แล้วนำไปแปลให้ได้โปรแกรมที่นำไปประมวลผลได้ทันที ใช้โครงสร้างภาษาของ DBase ใช้แฟ้มข้อมูล Dbase ก็มีภาษาคลิ๊ปเปอร์ (Clipper) ที่ได้รับความนิยมอีกภาษาหนึ่ง การพัฒนาตัวแปลภาษาก้าวกระโดดไปพร้อมกับการพัฒนาระบบปฏิบัติการ ทำให้ผู้พัฒนานิยมเลือกใช้ภาษาที่มีความสามารถทางกราฟฟิก มีความสามารถเชิงวัตถุ จัดการกับข้อมูลได้ง่ายด้วยคำสั่ง SQL และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพบนโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลรุ่นใหม่ จึงกล่าวได้ว่าภาษาคลิ๊ปเปอร์พ่ายแพ้ในตลาดตัวแปลภาษาไปพร้อมกับระบบดอส และดีเบส หลังการแข่งขันกับตัวแปลภาษายุคใหม่ที่เน้นด้านกราฟฟิก และการโปรแกรมเชิงวัตถุ มีสองกรณีที่ผู้เขียนได้ติดต่อกับเพื่อนนักพัฒนาเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ท่านแรกเปลี่ยนสายงานและไปทำงานในต่างประเทศ ไม่นานมานี้ได้มีโอกาสได้จับภาษาคลิ๊ปเปอร์อีกครั้ง ซึ่งท่านสอบถามถึงตัวแปลภาษาเพื่อนำไปใช้พัฒนาโปรแกรมหลังทิ้งไปแล้วหลายปี อีกท่านหนึ่งพบปัญหาการส่งข้อมูลให้โปรแกรมประมวลผล แล้วประมวลผลไม่ถูกต้อง ซึ่งโปรแกรมถูกใช้ต่อเนื่องมาแล้วหลายปี การพัฒนาโปรแกรมใหม่ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะผู้พัฒนาย้ายหน่วยงานไปแล้ว ภาษาคลิ๊ปเปอร์จะใช้คำสั่งเลือกข้อมูลแบบเดิม ถ้ากำหนดเงื่อนไขไม่ครอบคลุมแบบของข้อมูลก็ต้องพิจารณาเลือกป้อนข้อมูลที่ผ่านการคัดกรองอย่างดีก่อนส่งเข้าไปประมวลผล มิเช่นนั้นก็จะประมวลผลผิดพลาด ยังมีองค์กรอีกมากที่ยังใช้โปรแกรมรุ่นเก่า มิได้ไล่ตามเทคโนโลยี ถ้าโปรแกรมที่เคยใช้ยังใช้ได้ก็ยังใช้ต่อไป แต่ถ้าเกิดปัญหาก็ต้องแก้ไขไปตามอาการ เพื่อให้กระบวนการทำงานไหลลื่นต่อไป |
สารบัญจากหนังสือ clipper ของผม
บทที่ 1 สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ CLIPPER 1.1 CLIPPER คืออะไร (WHAT IS CLIPPER?) 1.2 การสร้างโปรแกรม (SOURCE CODE) 1.3 การแปลโปรแกรม (COMPILING) 1.4 การตั้งชื่อตัวแปร และคำสงวน (VARIABLE AND RESERVED WORD) 1.5 เครื่องหมายต่าง ๆ (OPERATION AND SIGN) 1.6 การใช้โปรแกรม DBU (Database Utility) 1.7 Website ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ Clipper บทที่ 2 คำสั่ง (COMMAND) 103 คำสั่ง 2.1 คำสั่ง ? ถึง 2.103 คำสั่ง ZAP บทที่ 3 ฟังก์ชัน (FUNCTION) 194 ฟังก์ชัน 3.1 ฟังก์ชัน AADD( ) ถึง 3.194 ฟังก์ชัน YEAR( ) บทที่ 4 หลักการพื้นฐานในการเขียนโปรแกรม 4.1 ศึกษาการทำซ้ำด้วยพีระมิด 4.2 สูตรคูณและการคำนวณ 4.3 การอ่านข้อมูลมาพิมพ์ 4.4 การแต่งจอภาพอย่างง่าย 4.5 การเขียนเมนู 4.6 การเชื่อมแฟ้ม 2 แฟ้ม 4.7 การสร้างเสียง 4.8 โปรแกรมข้อสอบ 4.9 การปรับปรุงข้อมูล บทที่ 5 กรณีศึกษาระบบงานทะเบียน 5.1 ศึกษาความต้องการ 5.2 โครงสร้างข้อมูล 5.3 วิเคราะห์ระบบงานเบื้องต้น 5.4 โปรแกรมในระบบงานทะเบียน บทที่ 6 กรณีศึกษาระบบงานขาย และสินค้าคงคลัง 6.1 ศึกษาความต้องการ 6.2 โครงสร้างข้อมูล 6.3 วิเคราะห์ระบบงานเบื้องต้น 6.4 โปรแกรมในระบบงานขาย และสินค้าคงคลัง ภาคผนวก บรรณานุกรม |
e-Book
- chap0.pdf - chap1.pdf - chap21.pdf - chap22.pdf - chap31.pdf - chap32.pdf - chap4.pdf - chap5.pdf - chap6.pdf แผนการจัดการเรียนรู้ - plan402a.pdf - plan402b.pdf |
พบโปรแกรม THO : http://www.moph.go.th/download/tho/index.htm
ความหมาย โปรแกรมระบบฐานข้อมูลสถานีอนามัย (THO) พัฒนาขึ้นจาก Clipper 5.2 และ R-Clip Library (ของ นพ.ชุษณะ มะกรสาร) เพื่อใช้สำหรับบริหารจัดการฐานข้อมูลในสถานีอนามัย ได้แก่งานการให้บริการรักษาทั่วไป งานอนามัยแม่และเด็ก งานวางแผนครอบครัว รวมทั้งงานการติดตามให้บริการด้านสาธารณสุขในชุมชน โปรแกรม THO ทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ Dos Version 5.0 ขึ้นไป บนไมโครคอมพิวเตอร์ (PC) ที่ใช้หน่วยประมวลผล (CPU) ตระกูล X86 โดยมีหน่วยความจำหลัก(RAM)ไม่น้อยกว่า 4 MB และพื้นที่ว่างบนHarddisk ไม่น้อยกว่า 50 MB
ชุดติดตั้งโปรแกรมฯ ประกอบด้วยแผ่น Diskkette ขนาด 3.5" จำนวน 2 แผ่น (Disk1 และ Disk2) โดยมีขั้นตอนวิธีการติดตั้ง ดังนี้
ติดต่อได้ที่ e-mail: ratana@health.moph.go.th |
"ไม่เริ่มต้นในวันนี้ จะไม่มีทางสำเร็จในวันพรุ่ง" โดย โยฮัน ว็อล์ฟกัง ฟ็อน เกอเทอ |