ขั้นตอนใช้ Google App สอนออนไลน์
Print : Gmail.com : Meet : Classroom : Forms : Drive : #สอนสด : #ชั้นเรียน : #แบบทดสอบ : PPTx : Github.io : FB - Teaching during COVID-19
ขั้นตอนใช้ Google App สอนออนไลน์
สารบัญ
1. ขั้นตอนครูเปิดสอนสดออนไลน์ ผ่าน Meet
2. ขั้นตอนครูสร้างชั้นเรียน
3. ขั้นตอนนักเรียนเข้าในชั้นเรียน
4. ขั้นตอนครูตรวจงานและแบบทดสอบในชั้นเรียน
5. ครูนัดหมายผ่านปฏิทิน Calendar
6. ครูสร้างแบบทดสอบผ่าน Form
7. ครูตรวจงาน เก็บคะแนนไว้ตัดเกรด
8. นักเรียนทำแบบทดสอบ

สอน สื่อ สอบ คือ 3 คำที่เป็นหัวใจของการจัดการสอนออนไลน์ในปัจจุบัน โดย 1) สอน คือ การสอนสดที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ อาจเป็นการสอนออนไลน์ผ่าน Google Meet, MS Teams, Zoom หรือ Webex เป็นต้น 2) สื่อ คือ แหล่งข้อมูลทั้งเอกสาร ไฟล์เสียง และคลิ๊ปวีดีโอที่ให้ความรู้ที่ผู้เรียนเข้าถึงได้จากทุกที่ทุกเวลา 3) สอบ คือ แบบทดสอบหรือแบบประเมินผลที่เปิดให้ผู้เรียนได้แสดงความรู้ความสามารถตามเกณฑ์มาตรฐานของหลักสูตร ซึ่งแบบทดสอบรองรับได้ทั้งคำตอบสั้น คำตอบยาว ตัวเลือก วาดภาพ เสียง ไฟล์ หรือคลิ๊ปวีดีโอ

Google Meet คือ เครื่องมือหนึ่งสำหรับสอนออนไลน์ ที่ให้ความสำคัญกับการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน ในแบบการสอนสด ที่สามารถเห็นหน้าทุกคนผ่านวีดีโอ พูดคุยโต้ตอบผ่านไมโครโฟน หรือเข้าร่วมประชุมด้วยเสียง ผู้สอนสามารถบรรยาย ซักถาม โต้ตอบกับผู้เรียน ทุกคนสามารถแชร์เอกสาร สื่อการสอน และแชทในห้องประชุม ช่วยให้ผู้สอนและผู้เรียนสลับกันนำเสนอผลงาน พร้อมพูดคุยแลกเปลี่ยนกันได้ ซึ่งผู้สอนสามารถควบคุมห้องเรียนได้ เสมือนเรียนในห้องเรียนออฟไลน์ และมีแอพพลิเคชั่นสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ ทำให้เข้าห้องเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา

Google Classroom คือ เครื่องมือหนึ่งสำหรับสอนออนไลน์ ที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมีเครื่องมือส่งเสริมการเรียนรู้มากมาย อาทิ การจัดเรียงหน่วยการเรียนรู้ตามแผนการสอน การมอบหมายงาน การส่งคืน การใช้แบบทดสอบ และการให้คะแนน ที่รองรับผู้เรียนจำนวนมากได้พร้อมกัน ซึ่งระบบการสอนแบบชั้นเรียนไม่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนแบบเผชิญหน้า ดังนั้นผู้สอนเลือกเวลาที่จะสอนได้ และผู้เรียนเลือกเวลาที่จะเรียนได้ตามที่ต้องการ และมีแอพพลิเคชั่นสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ ทำให้สอนหรือเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา

Google Calendar คือ เครื่องมือหนึ่งสำหรับช่วยวางแผนการใช้ชีวิต การทำงาน การเรียน ครอบครัว หรือกิจกรรมส่วนตัว ปฏิทินเสมือนเข็มทิศนำทางชีวิตว่าต้องทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไรกับใคร สามารถเชื่อมโยงกับ Gmail.com และ Google Meet ได้อย่างลงตัว มีระบบแจ้งเตือน และแอพพลิเคชั่นสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ ทำให้ไม่พลาดทุกกิจกรรมที่วางแผนไว้

Google Form คือ ระบบฟอร์มออนไลน์เพื่อบริการผู้สร้างฟอร์มได้ตั้งคำถามแล้วรอรับข้อมูลคำตอบจากผู้ให้ข้อมูล โดยแชร์ลิงค์แบบฟอร์มไปให้ผู้ให้ข้อมูล สามารถสั่งเปิดปิดฟอร์มรับข้อมูลได้ ประยุกต์เป็นแบบสอบถามงานวิจัย หรือแบบทดสอบออนไลน์ได้ มีประเภทของตัวเลือกในแบบฟอร์ม อาทิ คำตอบสั้น คำตอบยาวเป็นย่อหน้า หลายตัวเลือก ช่องทำเครื่องหมาย เลื่อนลง อัพโหลดไฟล์ การกำหนดเงื่อนไข เช่น บังคับตอบ สลับตัวเลือก ตอบได้หลายครั้ง หรือเฉลยคำตอบหลังทำเสร็จ

[2] 9 จุดรวมแอพ : [12] นำเสนอ 3 แบบ : [37] หน้าสตรีม : [126] 11 รูปแบบคำถาม :
กิจกรรมหลังการอบรม เพื่อทบทวนและปฏิบัติจริง
กิจกรรมกับ G Suite สอนสดออนไลน์ ด้วย Google Meet
1. เตรียมแผนการสอน หน่วยการเรียนรู้ หัวข้อ งานมอบหมาย แบบฝึกหัด แบบทดสอบ
2. เตรียมฝึกสอน ด้วยการสลับบทบาทกับเพื่อน แนะนำว่ามีจับกลุ่มเหนียวแน่น 3 คน ต้องรู้ "อีเมล ชื่อของเพื่อน และหน้าตา"
3. เตรียมพื้นที่สื่อสาร เช่น E-mail, Line group, Facebook group, Chat room เพื่อแจ้งข่าวสาร
4. เพิ่ม event นัดหมายใน Google Calendar ผ่าน Google Meet กับเพื่อน >= 3 คน ในอีก 1 ชั่วโมง/1 ปีข้างหน้า
5. เตรียมอุปกรณ์ทั้งคอมพิวเตอร์ และสมาร์ทโฟน ลงแอพ Google meet, Classroom, Drive, Calendar
6. เปิดห้อง Google Meet ใช้รหัสห้องประชุม 10 หลัก ส่งให้กลุ่มเป้าหมาย ด้วยวิธีการใด ๆ และตรวจไมค์ ตรวจกล้อง ตรวจลำโพง
7. สลับกับเพื่อนเปิดห้องประชุมสอนสดด้วย Google meet โดยใช้รหัสห้องประชุมที่มีของตน หรือของเพื่อน
8. เชิญนักเรียนเข้าห้อง ตรวจเสียงไมโครโฟน ตรวจกล้องทุกคน ฝึกคุมเสียง และลบเพื่อนออกห้องได้
9. ให้ทุกคนรายงานตัวเช็คชื่อผ่านแชท และบันทึกวีดีโอ ระบบบันทึกทั้งคลิ๊ปและแชทใน Google drive
10. กดปุ่มบันทึก และไปเปิดดูคลิ๊ปใน Meet Recordings ใน Google Drive ว่าได้ยินเสียงหรือไม่
11. แชร์จอภาพทั้ง 3 แบบ คือ 1) ทั้งหน้าจอ , 2) หน้าต่าง , 3) แท็บ Chrome
12. ให้เพื่อนแต่ละคนได้สลับกันแชร์จอ เพื่อฝึกควบคุมจอภาพในกรณีมีการสลับกันนำเสนอเข้ามา
13. ฝึกเปลี่ยนมุมมอง เช่น เห็นเต็มจอ เห็นเพื่อน เห็นแชท
 
กิจกรรมกับ G Suite สอนออนไลน์ ด้วย Google Classroom
1. เข้า Google Classroom สร้างชั้นเรียน
2. สร้างหัวข้อตามหน่วยการเรียนทั้ง 15 หน่วยการเรียน/สัปดาห์
3. กำหนดแผนการให้คะแนนในระบบ ว่าแต่ละงานให้เท่าใด และมีงานอะไรบ้าง
4. เพิ่มเนื้อหาเป็น pdf, pptx, docx, xlsx, youtube แต่ละหน่วยการเรียน
5. เพิ่มแบบฝึกหัด อาจเป็นเลือกตอบ ตอบสั้น หรืออัพโหลด
6. เพิ่มงานมอบหมาย อาจส่ง video, docx หรือ pdf
- ควรทดสอบส่งหลายแฟ้ม และหลายประเภท
- ครูควรส่งคืน แบบไม่ให้คะแนน เพื่อให้นักเรียนส่งซ่อม
- ครูควรสื่อสารเฉพาะบุคคลในรายที่มีปัญหา เช่น ความคิดเห็นส่วนตัว (private message)
7. ตรวจงานมอบหมาย ซึ่งมี 3 สถานะ คือ 1) ส่งแล้ว 2) มอบหมายแล้ว 3) ให้คะแนนแล้ว
8. เพิ่มคำถาม ให้ตอบในระบบ เช่น อยากทำโครงงานรายบุคคลเรื่องอะไร
9. เพิ่มนักเรียน เลือกเชิญอย่างน้อย 6 คน สลับกันเป็นนักเรียน/ครู
10. เข้าไปทำกิจกรรมให้ครบ และติดตามกิจกรรมของแต่ละคน
11. ตรวจงาน ให้คะแนน และนำคะแนนรวมออกมาจากระบบเพื่อตัดเกรดได้

กิจกรรมกับ G Suite สร้างแบบทดสอบ ด้วย Google Form
1. สร้างแบบทดสอบชุดที่ 1 แบบเลือกตอบอย่างง่าย มี 3 ข้อก็พอ
2. เชิญเพื่อนอย่างน้อย 6 คนมาทำข้อสอบ
3. ตรวจใน response ได้ ด้วยการตรวจทั้ง 3 แบบ คือ สรุป รายข้อ รายคน
4. ตรวจใน sheet ได้ มองเป็นตาราง
5. เพิ่มแบบทดสอบชุดที่ 2 ให้มีคำถามหลากหลายขึ้น มีประมาณ 5 ข้อก็พอ (เชิญเพื่อนเหมือนเดิม)
6. ตรวจคำตอบแบบย่อหน้า หรือตอบยาวได้ ทั้งผ่าน response และ sheet
7. ตรวจคำตอบแบบอัพโหลดใน Google drive ได้
8. เพิ่มแบบทดสอบชุดที่ 3 ให้มี Multiple choice 15 ข้อ แบ่งเป็น 3 Section
9. ดาวน์โหลดคำตอบมาเปิดใน Excel เพื่อตรวจในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ โดยใช้ =if(E2=E$2,1,0)
อ่านจาก "2 เทคนิคประมวลผลคะแนนสอบออนไลน์ใน Sheet อ้างอิงจากคำตอบขอคุณครู"
"https://cities.trueid.net/post/151240"
ตัวอย่างการใช้ Classroom บน Smart Phone
หัวข้อ 1. ขั้นตอนครูเปิดสอนสดออนไลน์ ผ่าน Meet #
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
1. ครูเข้าใจขั้นตอนการสอนสดผ่าน Google Meet
2. ครูเข้าใจการนำเสนอ Window ของ Application
3. ครูเข้าใจการเชิญนักเรียนเข้าห้องเรียนออนไลน์
สิ่งที่คาดหวัง
1. ครูสามารถจัดการเรียนการสอนแบบสอนสดได้
2. ครูสามารถนำเสนอเอกสารประกอบการสอนได้
. ครูเข้า Gmail ครั้งแรก
พบหน้าแรกของ Gmail.com
มีคำแนะนำว่าสามารถใช้ Google Meet ได้
การเชื่อมโยงกับ Gmail ทำให้สื่อสารกับผู้เรียนได้ง่าย
. คลิ๊ก 9 จุด พบรายการแอพทั้งหมด
พบรายการแอพทั้งหมดให้เลือกใช้
คลิ๊ก Meet ในรายการแอพได้
. หน้าแรกของ Google Meet
เลือก "เข้าร่วม หรือ เริ่มการประชุม"
ยังไม่พบรายการนัดหมายในวันนี้
การใช้งานครั้งแรกยังไม่มีนัดหมายนักเรียนล่วงหน้า
. คลิ๊ก Setting เพื่อตั้งค่า
ตรวจสอบ Microphone และ Video ว่าทำงานปกติ
หากไม่ปกติต้องไปตรวจสอบในระบบ Windows หรือ Device
. กรอกชื่อห้อง หรือ รหัสห้องประชุม
กรอกชื่อห้องประชุม หรือรหัสห้องประชุมที่ได้รับจากผู้สร้างห้อง
หรือปล่อยวางไว้ ก็สามารถทำได้
. รอหน้าห้องประชุม
ยืนยันเปิด Microphone หรือ Video เข้าห้องประชุม
คลิ๊ก เข้าห้องประชุม หรือ นำเสนอเลย
. เมื่อเข้าห้องแล้ว ตรวจ id ของห้องได้
ตรวจสอบ id ของห้องประชุม แล้วคัดลอกไปแชร์ต่อ
เพิ่มคนเข้าห้องได้ ด้วยการแชร์ id ตอนนี้อยู่คนเดียว
. ตรวจรายชื่อคนในห้องประชุม Participants
คลิ๊กรูปคนที่มุมบนขวา + จำนวนคนในห้อง
แสดงรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม หรือเพิ่มบุคคลได้
. เลือกส่งอีเมลเชิญ
Meet เปิดให้เชิญคนนอกองค์กร
สามารถเชิญผ่าน e-mail หรือ link
. คนเข้าร่วมห้องใช้ Smartphone เข้าได้
ใช้อุปกรณ์ได้ทั้ง PC หรือ Smartphone
มีแอพพลิเคชั่นให้ Download บน Smartphone
บน PC ใช้ Meet ผ่าน Browser ได้เลย
. สลับกล้องหน้า/หลังของ Smartphone ได้
กล้องของผู้ร่วมประชุม
หากเป็นสมาร์ทโฟน สามารถเปลี่ยนหน้า/หลังได้
. นำเสนอ ส่งจอ Window ให้ทุกคนเห็น
ผู้นำเสนอเลือกแชร์จอภาพ
ได้ทั้งเต็มจอ หรือหน้าต่าง หรือแท็บของ Chrome
. เลือกหน้าต่าง Window ที่ถูกเปิดไว้
นำเสนอเลือก Application windows
มี Window ที่ต้องการนำเสนอ ต้องเปิดมารอให้เลือกแล้ว
. ขณะนำเสนอ คลิ๊กหยุดได้
พบว่า ภาพหน้าต่างที่นำเสนอ จะไม่ปรากฎที่จอของเรา
แต่ไปปรากฎที่จอนักเรียน จอของเรามีปุ่ม "หยุดนำเสนอ"
. การใช้ Google meet grid view
มี Extension ของ Chrome
ติดตั้งแล้ว จะทำให้เปิดดูผู้ร่วมประชุมได้มากกว่าเดิม
. เข้า Extension ของ Chrome
ติดตั้งใหม่แล้ว จะพบรูปตารางที่มุมบนขวาของ Chrome
หรือนำออกได้ หรือหยุดชั่วคราว ใน Extension
. ใช้ Grid view
ใน Meet พบตัวเลือก Grid view
เลือกได้หลายแบบ เช่น แสดงเฉพาะผู้เปิด Video
. ก่อนใช้ Grid view
การใช้งาน Grid view
ต้องเปิดใช้งาน คลิ๊ก Grid view ที่มุมบนขวา
. บันทึกคลิ๊ป (Recording) ขณะประชุม
มุมล่างขวาของ Meet มี 3 ชุด
มีตัวเลือก "บันทึกการประชุม"
. เริ่มบันทึกวีดีโอ
การบันทึกก็จะถามการอนุญาต
หากได้รับอนุญาตก็จะบันทึกใน Google drive
. สัญลักษณ์ขณะบันทึก
ขณะบันทึก จะปรากฎสัญลักษณ์
วงกลมสีแดงที่มุมบนซ้าย ให้รู้ว่าบันทึกอยู่
. เลิกประชุม
หากต้องการเลิกประชุม ควรคลิ๊ก "หยุดบันทึก" ก่อน
ให้คลิ๊กวางสาย รูปโทรศัพท์สีแดงที่ตรงกลางด้านล่าง
. ออกห้องประชุม โดยไม่ตั้งใจ หรือตั้งใจ
แล้วพบว่า กดผิด .. แย่แล้ว .. ทำอย่างไรดี
แต่ไม่เป็นไร เลือกกลับเข้าร่วมห้องประชุมใหม่ได้
. จัดการบัญชี Google
หน้า meet ไม่มีรายการแอพมาให้เลือก
ชวนเข้า Manage your Google Account
. คลิ๊ก 9 จุด พบรายการแอพทั้งหมด
สัญลักษณ์ 9 จุด อยู่มุมบนขวา
สามารถเข้าถึงแอพทั้งหมดได้จากที่นั่น
พบ Google Drive
. คลิ๊ก Google Drive
พบ Folder : Meet Recording
คลิ๊ปที่เคยบันทึกไว้ เป็น MP4 ในห้องนี้
. พบรายการคลิ๊ปใน Drive
พบรายการคลิ๊ปที่เคยบันทึกไว้ สามารถเลือกแชร์ได้
หรือ รับลิงค์ที่แชร์ ไป Paste ที่อื่น
. รับลิงค์ที่แชร์ Get Link
ลิงค์ที่แชร์ จะนำไปใช้ต่อได้
หรือเปิดแล้วคลิ๊ก Download ได้
. แชร์แล้ว Share Link
ผู้รับลิงค์ และเปิด
สามารถ Download คลิ๊ปได้
หัวข้อ 2. ขั้นตอนครูสร้างชั้นเรียน #
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
1. ครูเข้าใจการแชร์สื่อให้นักเรียน และการสื่อสารกับนักเรียน
2. ครูเข้าใจการมอบหมายงาน
3. ครูเข้าใจการสร้างแบบทดสอบ
สิ่งที่คาดหวัง
1. ครูสามารถกำกับติดตามการแชร์สื่อให้นักเรียนได้
2. ครูสามารถมอบหมายงานให้นักเรียน
3. ครูสามารถสร้างแบบทดสอบเพื่อเป็นทั้งแบบฝึกหัดและแบบข้อสอบวัดผล
. เข้าระบบ Gmail.com
เริ่มต้นเปิด http://www.gmail.com
โดยใช้ User และ Password
ที่ได้รับจากสถาบัน เมื่อเข้าครั้งแรก คลิ๊ก "ยอมรับ"
. Welcome ใน Gmail.com
หลังจากเข้าระบบครั้งแรก ควรพบ "ยินดีต้อนรับ"
คลิ๊ก ถัดไป หรือออกจากหน้าต่างนี้
เพื่อเข้า Inbox ใน Gmail.com
. คลิ๊ก 9 จุด พบรายการแอพทั้งหมด
มีแอพพลิเคชั่นมากมายใน G Suite ที่บริการระดับองค์กร
มีหลายแอพ ที่สมาชิกระดับบุคคล Gmail.com ใช้ไม่ได้
จำกัดไว้ให้สมาชิก G Suite เท่านั้น เช่น Google meet
. เข้า Google Classroom
ครั้งแรกที่เข้า Classroom ใน G Suite
ถามให้แน่ใจว่า ท่านเข้าระบบด้วย Email นี้ ใช่ไหม
ถ้ายืนยัน ก็คลิ๊ก ทำต่อ
. เป็นครู หรือ เป็นนักเรียน ต้องรู้บทบาทตน
สำคัญมาก เพราะถ้าเป็นครู แต่ไปคลิ๊กนักเรียน
หากจะสร้างชั้นเรียน ก็จะทำไม่ได้ ต้องขอ Admin
ช่วยเพิ่มเข้ากลุ่มครูอีก ต้องเลือกให้ตรงกับบทบาท
. หน้าแรก Classroom
มาแล้วไม่พบชั้นเรียน เลือกคลิ๊ก +
ถ้าเป็นครูก็เลือกได้ว่าจะ เข้าร่วมชั้นเรียน อื่น
หรือ สร้างชั้นเรียน ของตนเอง
. เริ่มสร้างชั้นเรียน
ชื่อ Class name ผมชอบใช้รหัสวิชา
ส่วนชื่อวิชาไปอยู่ Subject
ส่วน Section กับ Room ก็ถือว่าปกติ
. หน้าสตรีม
เป็นหน้าข้อมูลข่าวสาร ย้าย ข่าวสารได้
นักเรียนสามารถตั้งคำถาม แชร์ไอเดียได้
ครู/เพื่อนเข้าไปตอบได้ มีย่อยขยายหน้าปก (Cover) ได้
. ตั้งค่าชั้นเรียนใหม่
เมื่อสร้างชั้นเรียนเสร็จแล้ว คลิ๊ก Setting
พบหัวข้อ Description
เพิ่มคำอธิบายรายวิชาได้
. หัวข้อทั่วไปใน Setting
มีข้อมูลสำคัญคือ รหัสชั้นเรียน กับ Meet id
ซึ่งทั้ง 2 ส่วนนี้จะมีรหัส
นำไปบอกนักเรียนในกลุ่ม เพื่อที่จะสื่อสารกันได้
. คะแนนรวม
เลือกคะแนนรวม เพื่อใช้ประกอบการตัดเกรด
แสดงคะแนนรวมให้นักเรียนด้วย
เวลาสื่อสาร และติดตาม จะได้เข้าใจตรงกัน
. งานของชั้นเรียน
สร้างงานและคำถามได้
ควรสร้าง "หัวข้อ" ก่อน
เริ่มต้นจากคลิ๊ก สร้าง จะมีรายการให้เลือกสร้าง
. เลือกสร้างอะไร
มีให้เลือก 6 แบบ ได้แก่ 1) งาน 2) งานมอบหมาย
3) คำถาม 4) เนื้อหา 5) ใช้โพสต์ซ้ำ
6) หัวข้อ ซึ่งแนะนำว่า สร้างหัวข้อก่อนครับ
. สร้างหัวข้อตามแผน
ตัวอย่างมี 1) Teaching documents
2) Additional documents
3) Assignment 4) Quiz
. สร้างเนื้อหาในหัวข้อ หรือหน่วยการเรียนรู้
การสอนก็ต้องมีเนื้อหาที่จะสอบ
มีเอกสารให้อ่าน
ตำหรับตำรา ชีท คลิ๊ป เป็นต้น
. โพสต์เลย หรือสัปดาห์หน้า
ระบบ Classroom ตั้งเวลาโพสต์ได้
เขียน วันนี้ โพสต์สัปดาห์หน้า
ทำให้นึกถึงหนังเรื่อง "The letter" ที่แอนนำแสดง
. เพิ่ม ไฟล์
เอกสารประกอบการสอน ชีท ตำรา
เราเพิ่มไฟล์เข้าไป ให้นักเรียนคลิ๊กอ่านได้
เนื้อหา ไม่มีคะแนนเหมือน แบบทดสอบ
. อัพโหลดไฟล์
ไฟล์ใหญ่ก็ต้องใช้เวลาอัพโหลด
นักเรียนเองก็เช่นกัน ต้องเป็นผู้ดาวน์โหลด
ไฟล์ใหญ่ เล็ก โปรดพิจารณาว่านักเรียนจะเปิดได้
. เลือกหัวข้อ
ส่งไฟล์เข้าไปแล้ว
เลือกหัวข้อที่กำหนดไว้
หนึ่งเนื้อหา อยู่ได้หนึ่งหัวข้อ
. งานของชั้นเรียน
เมื่อเพิ่มเนื้อหา รายการที่เพิ่มใหม่
ก็จะไปอยู่ใต้หัวข้อที่กำหนด
. เพิ่ม youtube.com
การสอนต้องใช้คลิ๊ป จึงมีตัวเลือกเด่นชัด
เข้าไปก็พบว่ามีการสนับสนุน ช่วยตรวจช่วยค้น
. ค้นได้ วิวได้ ใช้ URL ได้
เมื่อเข้าไป จะไปค้นวิดีโอที่ต้องการ
หรือมีลิงค์แล้ว ก็วางลิงค์ได้เลย
. มี view ตัวอย่างคลิ๊ปตาม url
ผลการเพิ่ม youtube
มี view ตาม Uniform Resource Locator
จะได้ไม่พลาด ไปเปิดคลิ๊ปอื่น อุ้ย ๆ เอา
. งานของชั้นเรียน
พบรายการเนื้อหา ตามหัวข้อ
พร้อมเวลา ให้รู้ว่าเพิ่มเมื่อใด
. สร้างงานมอบหมาย
มีงานมอบหมายให้นักเรียนทำ
สั่งงาน Assignment กันได้เลย
. ตัวเลือกเกณฑ์ เพื่อแจ้งให้ทราบ
ประกาศให้นักเรียนทราบถึง เกณฑ์พิจารณา
ถ้าใช้ก็เข้าระบุว่าแต่ละเกณฑ์ให้คะแนนเท่าใด
ระบบไม่ได้เชื่อกับเกณฑ์อัตโนมัติ เป็นเพียงประกาศ
. เพิ่มเอกสารช่วยอธิบาย หรือเอกสารต้นแบบ
มีการมอบหมายงานให้นักเรียน
แต่มีเอกสารช่วยอธิบายประกอบ
ส่งเข้าไปในระบบให้เค้าเปิดอ่านได้
. มอบหมาย
สร้างงานแล้วก็ต้องมอบหมายงาน
ตั้งเวลา หรือบันทึกฉบับร่างก่อนได้
. งานแบบทดสอบ
ใช้วัดประเมินผลนักเรียนว่าเรียนไป
เข้าใจมากน้อยเพียงใด
แล้วใช้เป็นข้อมูลประเมินมาเป็นเกรด
. พบ Blank Quiz
ตั้งชื่อ และเลือก การนำเข้าคะแนน
และกำหนดคะแนน พร้อมกับหัวข้อ
ก่อนเข้าไปสร้างแบบทดสอบโดยละเอียด
. ข้อสอบหลายตัวเลือก
ตัวอย่างข้อสอบผลบวก
เพิ่มไป 4 ตัวเลือก ซึ่งมีได้หลายตัวเลือก
หากมีมากกว่า 10 เลือก แบบ เลื่อนลง ดีกว่า
. คลิ๊กเฉลยคำตอบ
กำหนดคะแนน
และเลือกตัวเลือกที่ถูกได้
. เปิดแสดงเฉลยคำตอบได้
กรณีทำเป็นแบบฝึกหัด
ระบบเปิดให้ทำเสร็จแล้ว และดูคะแนนได้ทันที
ทำให้รู้ว่าที่ตอบไป ข้อใดถูก ข้อใดผิด รวมได้เท่าไร
. คลิ๊กปุ่ม + เพิ่มคำถามใหม่
เพิ่มข้อที่ 2
หรือเลือก Copy ข้อแรกมาแก้ไขเป็นข้อที่ 2
เลือกได้ว่าจำเป็น หรือลบได้
. เพิ่มข้อที่ 2
หน้าตาข้อที่ 2 ก็เหมือนข้อที่ 1
แบ่งเป็น Block ทำให้จัดการง่าย
. ชวนคลิ๊กปุ่ม ทำสำเนา
จะได้ข้อใหม่ ที่เหมือนข้อที่ 2
แล้วแก้ไขเป็นข้อที่ 3
. การตั้งค่าแบบทดสอบ
รวบรวมอีเมลได้
ให้เฉพาะนักเรียนเท่านั้น ทำได้
จำกัดให้ทำได้คนละครั้งก็พอ
. รวมฟอร์มแสดงเป็นรายการ
ก่อนหน้านี้ เคยสร้างไว้มีฟอร์มเดียว
และเชื่อมเข้ากับ Classroom
ที่เหลือเป็นแบบฟอร์มสวย ๆ ให้เลือก
. ตัวอย่างแบบทดสอบ
แบบหลายตัวเลือก
. กลับไปหน้าแบบทดสอบ
เลือกมอบหมายให้นักเรียนในชั้น
ทุกคนจะได้รับมอบหมาย
. รายการแบบสอบถาม
เลือกเพิ่มชุดใหม่
หรือแแก้ไขชุดเดิมได้
ยังไม่มีนักเรียนในชั้นเรียน
. หน้าสตรีม
นำรหัสของชั้นเรียน
ส่งไปให้นักเรียนได้
. หน้าผู้คน
ยังไม่พบใคร ต้องไปเชิญมาร่วมชั้นเรียนกัน
. เพิ่มรูปโปรไฟล์
มีหน้ามีตา ทำให้รูปว่าครูคือใคร
. เชิญคนนอกไม่ได้
Classroom ไม่อนุญาตให้เชิญคนนอกโดเมน
ใช้ Gmail ระดับบุคคล ก็เชิญคนใน G Suite ไม่ได้
หัวข้อ 3. ขั้นตอนนักเรียนเข้าในชั้นเรียน #
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนเข้าใจการเข้าถึงสื่อที่อยู่ในชั้นเรียน
2. นักเรียนเข้าใจการเปิดงานที่มอบหมายและการส่งงาน
3. นักเรียนเข้าใจการเปิดแบบทดสอบและการส่งแบบทดสอบ
4. นักเรียนเข้าใจการสื่อสารกับครูในชั้นเรียน
สิ่งที่คาดหวัง
1. นักเรียนดาวน์โหลดเอกสารไปอ่านได้ครบถ้วน
2. นักเรียนทำงานที่มอบหมาย แบบทดสอบ และส่งงานครบ
3. นักเรียนส่งข้อความ หรือโต้ตอบกับครูในชั้นเรียนได้
. เข้าระบบครั้งแรก
เข้า Gmail ครั้งแรก
ถามให้ใส่เบอร์โทร และอีเมลสำรอง
กรณีลืมรหัสผ่าน ทำ Recovery ได้
. มองหาแอพที่ต้องการ
คลิ๊ก 9 จุด พบรายการแอพทั้งหมด
เลื่อนลงมาจะพบ Classroom
คลิ๊ก เพื่อเรียกใช้แอพชั้นเรียน
. ถามยืนยันตัวตน
ขณะนี้ ท่านใช้อีเมลนี้หรือไม่
บางท่านอาจ ใช้อีเมลหลายอีเมล อยู่ก็ได้
ถามย้ำว่าจะใช้อีเมลนี้ เข้าชั้นเรียนหรือไม่
. เลือกบทบาท
เป็นนักเรียน ก็ให้เลือก "ฉันเป็นนักเรียน"
คลิ๊กภาพนักเรียนทางด้านซ้าย
ถ้าเลือกครู จะมีสิทธิ์สร้างชั้นเรียนได้
. หน้าแรกของ Classroom
ยังไม่พบชั้นเรียนที่เคยเข้าไป
คลิ๊ก + ที่มุมบนขวา แล้วเลือก "เข้าร่วมชั้นเรียน"
. รหัสเข้าห้องเรียน
รหัสนี้ใช้ได้กับบัญชีที่มี Domain name เท่านั้น
ใช้ gmail.com เข้าไปไม่ได้
เพราะชั้นเรียนถูกสร้างใน G Suite
. หน้าแรกชั้นเรียน
หน้าแรกจะพบหน้าสตรีม (Stream) ตรวจสอบว่าเข้าไม่ผิดห้อง
อ่านก่อนว่ามีอะไรที่หน้าแรก มีกิจกรรมด่วนหรือไม่
เพื่อน และครู โพสต์อะไรไว้หรือไม่
. มีประเด็นสื่อสาร โพสต์หน้าสตรีมได้
ต้องการนัดเพื่อนในวิชานี้ประชุมวางแผนทำงาน
โพสต์นัดเลย ครูเค้าไม่ว่า เพราะไม่ได้ขายของ
แต่ถามครูหน่อยก็ดี ครูอาจว่าก็ได้
. งานของชั้นเรียน
เข้าส่วนนี้ครั้งแรก ให้มองรายการทางซ้าย
ทางซ้ายมี "หัวข้อ หรือ หน่วยการเรียน" ให้คลิ๊ก
เพราะหน้ากลางอาจมีรายละเอียดมากไป
. คลิ๊ก Assignment
หลังโหลดเอกสารหมดแล้ว
ไปดู "งานมอบหมาย" ว่าครูสั่งงานอะไรไว้
. ส่งงาน อัพโหลดไฟล์
ทำงานตามที่ครูมอบหมายเสร็จ
ก็เตรียมไฟล์ผลงาน มา Upload ส่งคุณครู
. ส่งผลงานจำนวน 2 ไฟล์
มีทั้ง word และ photo
เตรียมไฟล์ไว้พร้อมแล้ว คลิ๊ก "อัพโหลด"
. ตรวจสอบก่อนส่ง
อัพโหลดเสร็จแล้ว
ตรวจสอบจนแน่ใจ แล้วคลิ๊กปุ่ม "ส่ง"
. ถามยืนยันส่งไฟล์
เมื่อคลิ๊ก "ส่ง" แล้ว
ระบบของชั้นเรียน ถามยืนยันอีกครั้ง
คลิ๊ก "ส่ง" เพื่อยืนยันว่า 2 ไฟล์นี้
. สถานะเปลี่ยน
เมื่อส่งแล้ว สถานะของงานนี้จะขึ้นว่า "ส่งแล้ว"
คลิ๊ก "ข้อสอบ คอมพิวเตอร์เบื้องต้น" ทำ Quiz
. ทำแบบทดสอบครบทุกข้อ
แล้วกดปุ่ม "ส่ง" (Submit)
บางชุดแบบทดสอบ เลือกส่งคำตอบที่ตอบไปให้ผู้ตอบทางอีเมลได้
. ดูคะแนน
บางชุดแบบทดสอบ
เปิดให้ดูคะแนน และเฉลยหลังทำเสร็จ
คลิ๊ก "ดูคะแนน" กันได้ครับ
. ผิดถูกรู้กัน หลังสอบเสร็จทันที
ในหน้าดูคะแนน
จะพบเฉลยว่า ข้อไหนตอบถูก ข้อไหนตอบผิด
รวมได้กี่คะแนน
. ส่งคำตอบแล้ว ระบบเชื่อมกัน
ถ้าเป็นแบบทดสอบ เมื่อกดปุ่มส่ง
ไม่ต้องมากดปุ่มส่งในโพสต์ เพื่อส่งงานอีก
แต่แสดงความเห็นได้ว่า ยากไป ง่ายไป หรืออย่างไร
. รายการไฟล์ที่ส่งไป
ส่งงานคุณครู
ระบบเก็บไว้ใน Google Drive ตรวจสอบได้
ว่าส่งอะไรไปให้คุณครู
. ดูงานของคุณ
ที่หน้างานของชั้นเรียน คลิ๊ก "ดูงานของคุณ"
พบสรุปรายการงานทั้งหมดว่า งานใดส่งแล้ว หรือไม่ได้ส่ง
. กลับหน้า Stream
ดูปฏิทินได้
ใช้ Chrome เข้า incognito window
ช่วยให้เข้าระบบเดียวกัน พร้อมกันได้หลายบัญชี
4. ขั้นตอนครูตรวจงานและแบบทดสอบในชั้นเรียน #
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
1. ครูเข้าใจขั้นตอนการตรวจงานมอบหมายของนักเรียนแต่ละคนส่งมา และส่งคืนไป
2. ครูเข้าใจขั้นตอนการให้คะแนนตามแบบทดสอบ และส่งคืน
3. ครูเข้าใจการใช้งาน Google Sheet
สิ่งที่คาดหวัง
1. ครูตรวจงานและแบบทดสอบได้ครบ
2. ครูประเมินผลการเรียนของนักเรียนได้ครบ
. ครูเข้าระบบ
เข้าผ่าน Gmail.com
เป็นด่านแรกที่ใช้ยืนยันตัวตน
. พบข้อความจากนักเรียน
มีนักเรียนส่ง Private message
เป็นความเห็นส่วนตัวจากนักเรียนถึงครู
เปิดอ่าน แล้วตอบกลับ หรือเข้า Classroom
. พาจากอีเมลเข้าไปตอบในระบบ Classroom
คลิ๊ก "ตอบ" ระบบจะพาเข้า Classroom
ไปตอบข้อความของนักเรียนได้ในระบบ
. ตอบข้อความนักเรียน
เขียนตอบข้อความส่วนตัวของนักเรียน เช่น Ok
แล้วมีสัญลักษณ์ สามเหลี่ยม คลิ๊กส่งข้อความที่มุมขวา
. ให้คะแนนงาน
10/10
แล้วคลิ๊ก "ส่งคืน"
. กดส่งคืน
ให้ข้อมูลแก่นักเรียน ว่าผลงาน ดีหรือไม่
พร้อมส่งคะแนนกลับไป
. สรุปตรวจงานครบ
สถานะ และจำนวนจะเปลี่ยนไป
จาก 1)มอบหมาย 2)ส่งแล้ว 3)ให้คะแนน 4) ส่งคืน
เมื่อส่งคืน คือ จบกระบวนการในงานชิ้นนั้น
. งานของชั้นเรียน
ถ้าสถานะของแบบทดสอบเป็น "ส่งแล้ว"
แสดงว่าครูยังไม่ได้ "ส่งคืน"
. เข้าไปตรวจข้อสอบ
ยังไม่ได้ให้คะแนนแบบสอบของนักเรียน
คลิ๊ก นำเข้าคะแนน
เลือกนำคะแนนจาก Google Forms เข้ามาได้
. คลิ๊ก นำเข้า
เพื่อยืนยันที่จะนำคะแนนเข้ามาในระบบชั้นเรียน
คะแนนจะเข้าไปในช่องของนักเรียนแต่ละคน
. ส่งคืน
ครูตรวจคะแนน
คลิ๊ก "ส่งคืน" เพื่อยืนยันคะแนนที่นักเรียนสอบได้
. สถิติเปลี่ยน
เมื่อส่งคืน
สถิติจะนับว่า ให้คะแนนแล้ว จำนวนเท่าใด
ค้างตรวจหรือไม่ หรือใครยังไม่ได้ทำ
. คะแนนรวมเป็น %
ครูดูคะแนนสรุป
แสดง % ของนักเรียนแต่ละคน แต่ละงาน
. ส่งอีเมลถึงแต่ละบุคคลได้
เมื่อพบว่านักเรียนแต่ละคน สถานะเป็นอย่างไร
หากต้องการติดตามเป็นรายคน
คลิ๊กเข้า "บุคคล" แล้วส่งอีเมลถึงนักเรียนได้
. งานของนักเรียน
ที่หน้าตรวจงานนักเรียน
เลือก คัดลอกคะแนนทั้งหมดไปที่ Google Sheet ได้
. เปิด Sheet เขียน Function
พิมพ์ฟังก์ชัน Excel
เพื่อตัดเกรดว่า ผ่าน หรือ ไม่ผ่าน
=if(d6>=0.8,"pass","fail")
. นักเรียนกลับเข้าระบบ
พบรายวิชาของตนเอง
คลิ๊ก TEC101
. งานของชั้นเรียน
เลือกดูที่ละงาน ทีละแบบทดสอบได้
หรือคลิ๊ก "ดูงานของคุณ"
. คะแนนรวมมาแล้ว
คะแนนจากแต่ละงานของนักเรียน มารวมกัน
หารด้วยคะแนนรวม เทียบ 100%
ถ้าทุกงานได้คะแแนนครึ่งเดียว คะแนนรวมจะเป็น 50%
5. ครูนัดหมายผ่านปฏิทิน Calendar #
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
1. ครูเข้าใจขั้นตอนการใช้งานปฏิทิน
2. ครูเข้าใจขั้นตอนการนัดหมายสอนสดออนไลน์
สิ่งที่คาดหวัง
1. ครูวางแผนผ่านตารางปฏิทิน และนักเรียนทุกคนเข้าถึงได้
2. ครูเชิญนักเรียนทุกคนเข้าร่วมห้องสอนสดออนไลน์ได้
. เปิดปฏิทิน Calendar
เปิด http://calendar.google.com
หรือเข้าผ่าน 9 จุด มีรายการแอพ อยู่บรรทัดแรก ๆ
เข้าครั้งแรก มีคำแนะนำว่า บริการแอพบน ios และ android
. สำรวจปฏิทินของเรา
ด้วยการคลิ๊กไปตามตัวเลือกต่าง ๆ
เช่น แสดงปฏิทิน แบบเรียงสัปดาห์
. สร้างกิจกรรมใหม่
คลิ๊ก + ที่มุมบนขวา
กรอกกิจกรรม กรอกเวลา และผู้ร่วมประชุม
แนะนำ ดูเวลาว่างของผู้เข้าร่วม ได้
. เทียบเวลาของผู้ร่วมประชุม
วันที่ 3 ที่นัดหมาย
จะแสดงปฏิทินของผู้ร่วมประชุมมาเทียบ แล้วคลิ๊ก ">"
ถ้าไม่ว่างก็เลือกเวลานัดใหม่ หรือผู้ร่วมเลื่อนที่เคยนัดไว้
. พบ Meet ใน Calendar
ในปฏิทิน มี Google Meet
สามารถเลือกที่จะพบกันจริง ในสถานที่ที่กำหนด
หรือพบกันผ่าน Meet แบบออนไลน์
. อนุญาตให้เชิญคนนอกเข้าร่วมประชุมได้
บริการ Google Meet เชิญคนนอกได้
หรือให้โทรผ่าน Ytel 1234 ในประเทศไทยก็ได้
. ตรวจสอบนัดหมาย
เมื่อนัดหมายแล้ว กลับไปแก้ไข ตรวจสอบได้
คลิ๊กบน Calendar ตรวจได้ว่าที่เชิญไปนั้น
1)เข้าร่วม 2)ไม่เข้าร่วม หรือ 3)ไม่แน่ใจ มีสถิติในปฏิทิน
6. ครูสร้างแบบทดสอบผ่าน Form #
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
1. ครูเข้าใจการสร้างแบบทดสอบ
2. ครูเข้าใจการจัดทำแบบฟอร์ม เป็นแบบฝึกหัด และแบบสอบวัดผล
สิ่งที่คาดหวัง
1. ครูสามารถออกข้อสอบ pre-test และ post-test ได้
2. ครูสามารถออกข้อสอบย่อย กลางภาค และปลายภาคได้
. หน้า Gmail คลิ๊ก Form
คลิ๊ก 9 จุด พบรายการแอพทั้งหมด
คลิ๊ก Google Forms
. รายการฟอร์ม หรือ แบบทดสอบ
พบรายการฟอร์มที่เราร่วมจัดการ
หรือเลือกเฉพาะฟอร์มของเราได้
. สร้างฟอร์ม
คลิ๊ก + เพื่อสร้างฟอร์ม หรือแบบทดสอบ
ระบบฟอร์มเปิดให้คัดลอก คำถามจากฟอร์มอื่นได้
หรือ สร้างคำถามใหม่ ในแต่ละบล็อก
. คำถามแรก รหัส ชื่อ สกุล ของท่านคืออะไร
ปกติคำถามแรก คือ รหัส ชื่อ สกุล สำหรับแบบทดสอบ
คำตอบ ก็มักเป็น "คำตอบสั้น ๆ"
. ฝึกสร้างคำถามง่าย ๆ กันก่อน
เลือกสร้างคำถามที่มีคำตอบสั้น ๆ และที่ต้องส่งไฟล์
กำหนดคำตอบเป็นแบบอัพโหลดไฟล์ได้
. ระบบจะให้ส่งไฟล์เข้า Google Drive ของผู้สร้างฟอร์ม
กรณีให้นักเรียนอัพโหลดไฟล์
หมายถึง นักเรียนอัพโหลดไฟล์มาในไดร์ฟของเรา
ทำให้ต้องบริการจัดการพื้นที่ในไดร์ฟ
. รับเฉพาะประเภทไฟล์ที่ระบุ หรือทุกประเภท
ลักษณะไฟล์ที่ให้ส่งเข้าแบบทดสอบ
กำหนดให้เป็นเฉพาะภาพ หรือ pdf หรืออะไรก็ได้
จำกัดจำนวน และขนาดไฟล์ได้
. แบ่ง Section
การแบ่งตอน ทำให้แบ่งหน้าของข้อสอบ
ในกรณีสั่งสลับข้อสอบ ก็จะสลับเฉพาะในหน้านั้น
คำถาม รหัส ชื่อ สกุล ก็จะอยู่ Section แรก
. หน้าถัดไป
หน้าถัดไป
ก็จะมีปุ่มถัดไป ไปจนหน้าสุดท้ายได้
. ตัวเลือกตั้งค่า
รวบรวมที่อยู่อีเมล จะมีกล่องถามให้กรอกเข้าไป
จำกัดเฉพาะ นักเรียนในสถาบัน หรือทั่วไปได้
จำกัดให้ตอบครั้งเดียว หรือหลายครั้งได้ หรือแก้ไขได้
. หน้านี้ไม่ถามอีเมล ในแบบทดสอบ
หน้านี้ไม่ถามอีเมล
เนื่องจากบังคับเฉพาะนักเรียนในสถาบัน
จะนำอีเมลนักเรียนที่อยู่ในระบบไปบันทึก
. หน้านี้ถามอีเมล ในแบบทดสอบ
ถามอีเมล เพราะเปิดให้คนทั่วไปกรอกแบบทดสอบ
อาจใช้อีเมลเดียว Sign in
แต่ผู้ตอบแบบทดสอบอาจมีหลายคน
. หน้างานนำเสนอ
แสดงแถบความก้าวหน้า
สับเปลี่ยนลำดับของคำถาม
แสดงลิงค์เพื่อส่งการตอบกลับอื่น คือ คนต่อไป
. แบบทดสอบที่มีคะแนน
เปลี่ยนแบบสอบถาม เป็นแบบทดสอบที่มีคะแนน
ที่ทุกคำถามมีคะแนน และแสดงคะแนนหลังทำเสร็จ
. ส่งฟอร์มได้หลายวิธี
เลือกส่งไปให้นักเรียนได้หลายแบบ
ผ่าน อีเมล ลิงค์ หรือฝัง
. ย่อ URL ให้สั้นลง
ปกติ URL จะยาว
มีบริการทำให้สั้นลง จะได้นำไปใช้แบบสะดวก
. เมนูย่อย คลิ๊กสามจุดของฟอร์ม
คลิ๊ก 3 จุด จะมีตัวเลือกเพิ่มขึ้นมา
เลือกผู้ทำงานร่วมกัน
เช่น ผู้สอนร่วม หรือ ผู้ช่วยสอน
. เพิ่มผู้ช่วยสอน
ผู้ช่วยสอนสามารถ ร่วมแก้ไขได้
แต่เจ้าของ คือ เราที่เป็นผู้สร้าง
ถ้าถูกคัดลอกฟอร์ม เจ้าของก็เปลี่ยน
7. ครูตรวจงาน เก็บคะแนนไว้ตัดเกรด #
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
1. ครูเข้าใจขั้นตอนการตรวจผลการส่งแบบทดสอบของนักเรียน
2. ครูเข้าใจขั้นตอนการเปิดแฟ้มผลการทดสอบ
3. ครูเข้าใจการใช้งาน Google Sheet
สิ่งที่คาดหวัง
1. ครูตรวจแบบทดสอบของนักเรียนได้ครบ
2. ครูสามารถประยุกต์ใน Google Sheet ในรูปแบบอื่น
. เข้าหน้าฟอร์ม
พบว่า บางฟอร์มมีการใช้งานร่วมกัน
ในอนาคตจะมีฟอร์มที่ถูกสร้างมากมาย
. คลิ๊กเข้าไปพบคำถาม
พบรายการคำถาม
ก่อนตรวจงานนักเรียน ควรทบทวนคำถามก่อน
. การตอบกลับ ดูผลการตอบของนักเรียน
เข้าไปดูผลงานการทำแบบทดสอบ
พบคำตอบของนักเรียนแต่ละคน และภาพรวมการตอบ
เลือกปิดรับคำตอบได้ หรือ เปิดรับคำตอบไว้
. หน้าคำถาม ตรวจทีละคำถาม
ดูทีละคำถาม
พบว่าในแต่ละคำถาม มีนักเรียนตอบอะไรบ้าง
ใช้เพื่อตรวจข้อสอบรายข้อได้ดี
. แยกรายการ ตรวจคำตอบทีละคน
ถ้าตรวจทีละคน ใช้ตัวเลือกแยกรายการ
ใช้ตรวจความสมบูรณ์ ก่อนทำสรุปรวม
รายการใด ไม่จริง ก็ลบทิ้งได้
. เปิดใน Sheet ตั้งชื่อให้เข้าใจ
เปิดดูการตอบใน Sheet เริ่มจากกำหนดชื่อไฟล์
ปกติก็จะไม่แก้ไข ใช้ชื่อที่ระบบเสนอมา
. เห็น Sheet พบรายการคำตอบ
ทำให้เห็นผลการตอบ ของนักเรียนทั้งหมด
คำตอบอัพโหลดไฟล์ ก็จะมาเป็นลิงค์ให้เปิด
. ดาวน์โหลด Sheet ไปเปิดใน Excel
เลือกได้ว่าจะ Download ออกไป
เป็นไฟล์ประเภทใด ซึ่งมีให้เลือกหลายแบบ
. ดูรายละเอียดของไฟล์
พบข้อมูล ส่งเข้าเมื่อใด ใครเป็นเจ้าของ
คลิ๊กเปิดหน้าต่างรายละเอียดได้
. เปิด Google Drive พบรายการไฟล์
มี Folder ที่ระบบสร้างมาให้
เข้าไปดูรายการไฟล์ที่นักเรียนส่งได้
. แสดงรายการไฟล์
พบว่าชื่อไฟล์ จะมีชื่อเจ้าของกำกับไว้
ถ้าใช้ชื่อสกุลในอีเมล ก็จะเป็นชื่อสกุลต่อท้ายชื่อไฟล์
ช่องรายละเอียดก็จะมีชื่อสกุลของคนส่ง
. พบประเภทไฟล์ csv ที่หน้าการตอบกลับ
กลับไปที่หน้าการตอบกลับ
คลิ๊ก 3 จุด มีตัวเลือกดาวน์โหลดแบบ CSV
. ได้ไฟล์มาเป็น .zip ในห้อง Download
ไฟล์ที่ได้เป็น .zip ต้อง unzip
จะพบไฟล์ .csv แล้วเปิดด้วย excel
. เปิดด้วย notepad++
CSV เป็นข้อมูลแบบ Comma Separated Values
เปิดด้วย Notepad++ หรือ Excel จะอ่านง่ายกว่า
8. นักเรียนทำแบบทดสอบ #
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนเข้าใจการทำแบบทดสอบ
2. นักเรียนเข้าใจการส่งไฟล์ในแบบทดสอบ
สิ่งที่คาดหวัง
1. นักเรียนสามารถส่งแบบทดสอบ และแนบไฟล์ไปกับแบบทดสอบได้ครบ
. นักเรียนเปิดแบบทดสอบ
เมื่อเปิดลิงค์ก็จะพบแบบทดสอบ มีตัวอย่างให้ฝึกปฏิบัติ
เช่น TEC101temp https://forms.gle/sSMHQ2VrtsRqGm1P6
ซึ่งปิดรับคำตอบ/ข้อคิดเห็นแล้ว คนเดิมทำซ้ำไม่ได้
หรือ TEC103 (4 ข้อเฉลย) https://forms.gle/UZoqbbVVBP4Y96cG8
. คำตอบ คือ อัพโหลด
กรณีแบบทดสอบต้องการให้ส่งไฟล์
เลือก อัพโหลดไฟล์ได้
คลิ๊ก เพิ่มไฟล์ และเพิ่มไฟล์อีกได้
คลิ๊ก อัพโหลด
. ทำครบทุก section
กรณีข้อสอบแบ่งเป็น Section
หน้าสุดท้ายมีปุ่มให้คลิ๊ก "ส่ง"
. บันทึกแล้ว
พบว่าข้อสอบไม่ให้ทำอีกครั้ง
และดูคะแนนไม่ได้ ต้อง "ปิดหน้าต่างนี้"
. กรณีรับ Link ทางอีเมล
ครูเชิญนักเรียนผ่านทางอีเมล
นักเรียนเปิดอีเมล แล้วคลิ๊ก "กรอกข้อมูลฟอร์ม"
. ต้องการอีเมล
ต้องลงชื่อเข้าใช้
กรอกอีเมล แม้ใช้ชื่อเดียวกับที่เข้าระบบ แต่ก็ต้องกรอก
หรือ กรอกให้ต่างจากอีเมลกับที่ลงชื่อไว้ได้
. ทำครบทุก Section แล้วกดส่งแบบทดสอบ
กรณีข้อสอบแบ่งเป็น Section
หน้าสุดท้ายมีปุ่มให้คลิ๊ก "ส่ง"
ถือว่าเสร็จสิ้นภารกิจทำแบบทดสอบ
กลับสู่ สารบัญ
Thaiall.com #630520