ดึงสารสนเทศออกมาจากบทความของ ภัทรา มาน้อย
ผู้ประสานงานศูนย์ส่งเสริมการวิจัยภาคเหนือ จังหวัดลำปาง
เรื่อง สังเคราะห์วิธีคิดแบบวิจัยท้องถิ่นเพื่อปรับใช้กับการทำงานชุมชน น.19 - 23
ในวารสารโยนก ปีที่ 2 ฉบับเดือนมกราคม 2550
ผมสรุป หรือคัดลอกบางส่วน ออกมาได้ดังนี้
1. อดีตมีเรื่องเล่าเตือนใจ เรื่องผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม รัฐบาลก็สั่งให้ชาวนาเลี้ยงเป็ด และสุกร อย่างไม่เข้าใจ
เป็นตัวอย่างความล้มเหลวทางความคิด ของภาครัฐ ที่ทำให้ภาคประชาชนล้มเหลวอย่างเป็นระบบ
2. ปัจจุบันเรายึดตำราฝรั่ง เด็กได้ความรู้เรื่องเพศศึกษาอย่างทะลุทะลวง แต่ไม่รู้วิธีป้องกัน
เพราะครูเองก็ยังไม่รู้วิธีป้องกัน และมีปัญหาให้เห็นในหนังสือพิมพ์หน้าหนึ่งบ่อยครั้ง
3. หมอจรัส สุวรรณเวลา เล่าเรื่อง เต่ากับกระต่าย ในปัจจุบัน
ที่กระต่ายรู้จักขุดหลุมพลางเต่า ส่วนเต่าก็จะไม่เดินตามกระต่าย แต่หาวิธีใช้จุดเด่นของตนเอง ในการเอาชนะ
4. ประสบการณ์ด้วยวิธีชวนคุย คล้ายการทำแกงโฮ๊ะ ทำให้เกิดการสังเคราะห์โดยธรรมชาติ
5. เห็นแนวคิดการศึกษาของ กศน. กับของมหาวิทยาลัย พบคำว่า มาตรฐานเทวดา
6. งานวิจัยเป็นเพียง เครื่องมือในการสร้างระบบคิด ระบบคน ระบบความรู้ และระบบงาน
โดยผลที่เกิดขึ้นคือ ความรู้ใหม่จากการสังเคราะห์ความรู้ทั้งหมด ได้คนรู้มากขึ้น ทำมากขึ้น
และที่สำคัญคือ ปัญญา เพื่อแสดงหาคำตอบบางประการอย่างมีทิศทางเดียวกัน โดยตัวชี้วัดจากผู้เรียน ไม่ใช่มาตรฐานเทวดา
7. คำว่า การคิดอย่างวิจัย ใช้คลำแต่ละส่วน เช่น ความรู้ที่มีอยู่ในตัวคน หรือความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
การคิดอย่างวิจัย อาจได้มาซึ่ง การทำแผนที่คนรู้ (Human Mapping : HM)
การทำ HM จึงเป็นการเคารพความรู้ในตัวคน และภูมิปัญญาท้องถิ่น
8. พันธกิจหลักของ ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
- ติดต่อ แสวงหาผู้สนใจร่วมงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
- ติดตามสนับสนุนโครงการที่ดำเนินอยู่
- เชื่อมโยงงานวิจัยในพื้นที่กับงานอื่น
- ยกระดับความรู้ และขยายผล
9. โจทย์วิจัยถูกกำหนดโดยคนในชุมชน และร่วมกันหาแนวทางแก้ปัญหา ผ่านกระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น
ความรู้จากภายในท้องถิ่น + ความรู้จากภายนอกท้องถิ่น
เผยแพร่ใน
http://www.thaiall.com/opinion/
http://www.gotoknow.org/thaiall
http://www.yonok.ac.th/board
http://www.thaiall.com/research
|