กระดานแสดงความคิดเห็น
Home
Contents
Articles
Quiz
Members
Sponsor
Print-friendly
MENU
ปรับปรุง : 2566-10-15 (กระดานแสดงความคิดเห็น)
เว็บเพจหน้านี้สำหรับผู้ดูแลเท่านั้น
รหัส secure
=>
นำตัวอักษร สีขาวบนพื้นแดง มาป้อนในช่องนี้
edit_topic_password =>
ภาพยนต์ในต่างประเทศหลายเรื่องมีเนื้อหาเกี่ยวกับแฮกเกอร์ หรือแฮ็กเกอร์ (Hacker) บางเรื่องก็ยกให้แฮกเกอร์เป็นพระเอกที่มีคุณธรรม และเหยื่อกลายเป็นผู้ร้าย บางเรื่องแฮกเกอร์ก็เป็นผู้ร้ายมีความโลภ โกรธ หลงรวมอยู่ในตัวตนของเขา อย่างเช่นภาพยนต์เรื่องตายยากสี่ (Die Hard 4) ที่แฮกเกอร์เคยเป็นยอดคนเก่งของรัฐบาลแล้วผิดหวังกับหน้าที่การงาน จึงหันมาเป็นผู้ร้ายหวังเงินก้อนมหาศาลด้วยการแฮกเข้าระบบฐานข้อมูลทุกระบบของประเทศอเมริกา โดยหลอกให้แฮกเกอร์มากมายช่วยกันแฮกระบบแล้วนำอัลกอริทึมเหล่านั้นมาใช้เพื่อตนเอง แต่ท้ายที่สุดก็พ่ายแพ้ให้กับพระเอกของเราที่มีแฮกเกอร์เป็นพระรองคอยให้ความช่วยเหลือ แต่ในชีวิตจริงพระเอกอาจไม่โชคดีเช่นนั้นเสมอไป ส่วนเรื่องแมททริกซ์ (Matrix) ซึ่งมีเรื่องราวเกี่ยวกับแฮกเกอร์ และจิตนาการเกี่ยวกับอนาคตของโลกที่แสดงให้เห็นว่าแฮกเกอร์อาจเป็นคนดี เป็นพระเอก ย่อมมีโอกาสชนะผู้ดูแลระบบได้เช่นกัน
โลกของเรามีคนหลายประเภท มีคนดีที่ดี คนชั่วที่ดี คนดีที่ชั่ว และคนชั่วที่ชั่ว มีศัพท์เรียกแฮกเกอร์ที่ดีว่าไวท์แฮกเกอร์ (White Hacker) และแฮกเกอร์ที่ไม่ดีว่าแบล็คแฮกเกอร์ (Black Hacker) แต่ในทางกฎหมายแฮกเกอร์คือคนที่พยายามละเมิดสิทธิของผู้อื่น และมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ในสถาบันการศึกษาที่สอนเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มักตระหนักถึงคมสองด้านของการให้ความรู้เรื่องการรักษาความปลอดภัย เหมือนที่เนื้อหาในภาพยนต์เรื่องแฮรี่ พอตเตอร์ (Harry Plotter) ภาคภาคีนกฟีนิกซ์ ที่พยายามนำเสนอคติที่ว่าความรู้เสมือนดาบสองคม ดังนั้นตัวร้ายซึ่งรับบทเป็นครูจึงปฏิเสธการสอนให้นักเรียนใช้เวทย์มนต์ ทำให้นักเรียนต้องไปแอบรวมกลุ่มเรียนรู้ด้วยตนเอง เพราะเชื่อว่าความรู้คืออาวุธที่จะปกป้องพวกตนได้ แต่ครูในภาพยนต์เรื่องนี้คิดว่าเด็กไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องเวทย์มนต์ เพราะเชื่อว่าไม่มีผู้ร้าย และเชื่อว่าทุกคนเป็นคนดี ซึ่งภาพยนต์เรื่องนี้สื่อออกมาว่าครูคิดผิด
การเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีของแฮกเกอร์สำหรับผู้ดูแลระบบเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะการรู้เขารู้เราในสมรภูมิรบบนโลกไอทีเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ในชีวิตจริงจะไว้ใจใครไม่ได้ ดังคำว่ารู้หน้าไม่รู้ใจ และผลสำรวจหลายครั้งชี้ว่าแฮกเกอร์ที่แฮกระบบขององค์กรส่วนใหญ่เป็นคนในองค์กร มีข่าวที่แฮกเกอร์แฮกระบบสำเร็จออกมาอยู่เสมอ เช่น แฮกข้อมูลบัตรเครดิตของธนาคาร แฮกข้อมูลของผู้ให้บริการโทรศัพท์ เปลี่ยนเว็บเพจของกระทรวงไอซีที ปัจจุบันมีหนังสือสอนเรื่องความปลอดภัย การป้องกัน และวิธีการที่แฮกเกอร์จะเข้าโจมตีวางอยู่ในร้านหนังสือทั่วไป ถ้าคนที่อ่านคือผู้ดูแลระบบก็จะทำให้ระบบของพวกเขาแข็งแรงปลอดภัย แต่ถ้าเป็นนักเรียนที่มีความอยากรู้อยากลอง ๅอาจทำให้พวกเขาเปลี่ยนเป็นแบล็คแฮกเกอร์ในชั่วข้ามคืนด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ถึงบทลงโทษที่มีในกฎหมาย ความรู้เรื่องการป้องกันระบบรวมอยู่กับความรู้เรื่องการแฮกซึ่งหาได้ไม่ยากจากเว็บไซต์มากมายในโลกไอที
จากคุณ :
บุรินทร์
.
08:23am (21/07/07)