กระดานแสดงความคิดเห็น
Home
Contents
Articles
Quiz
Members
Sponsor
Print-friendly
MENU
ปรับปรุง : 2566-10-15 (กระดานแสดงความคิดเห็น)
เว็บเพจหน้านี้สำหรับผู้ดูแลเท่านั้น
รหัส secure
=>
นำตัวอักษร สีขาวบนพื้นแดง มาป้อนในช่องนี้
edit_topic_password =>
ในการประชุมปฏิบัติการเพื่อพัฒนาหารูปแบบระบบการบริหาร การจัดการ การเชื่อมโยงการให้บริการ และวางระบบการประเมินผลการจัดการศึกษารูปแบบ ตามกรอบหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง ณ สถาบันการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคเหนือ ที่กำกับการประชุมโดย อ.สุวัฒน์ ธรรมสุนทร ในช่วงหนึ่งของการประชุมได้มีโอกาสฟังบรรยายเรื่องอีเทรนนิ่ง (e-Training) โดย อ.ศรีเชาวน์ วิหคโต จากสถาบัน กศน.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้นำเสนอความสำเร็จของการอบรมครูอาสา หรือครูศรช.หลายพันคนในภาคของท่าน เมื่อครูมีความเข้าใจในระบบและกลไกการเรียนรู้ผ่านอีเทนนิ่งที่เน้นไปที่การพัฒนาครู ก็จะนำสู่ก้าวต่อไปคือสอนนักเรียน กศน. ผ่านระบบอีเลินนิ่ง (e-Learning) ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาการศึกษาในชุมชนที่ใช้ประโยชน์จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างเป็นรูปธรรม
ตัวแทนครูคอมพิวเตอร์จากโรงเรียนระดับจังหวัดลำปางหลายท่าน ได้ให้ข้อแลกเปลี่ยนเป็นไปในทางเดียวกันว่า การสอนด้วยอีเลินนิ่งมีปัญหาที่ครู นักเรียน และผู้บริหาร ถ้าครูยังไม่เข้าใจการใช้ประโยชน์จากอีเลินนิ่ง ผู้บริหารไม่สนับสนุนอย่างจริงจัง แล้วหวังจะให้ครูเหล่านั้นใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอนก็คงเป็นได้เพียงความฝัน เหมือนมอบหมายให้แม่ปูไปสอนลูกปูให้เดินตรงตรง การนำเสนอด้วย best practice ของสถาบัน กศน.ระดับภาค เพื่อชวนแลกเปลี่ยน และคาดหวังการนำไปสู่การติดตั้งโปรแกรม Learnsquare รุ่น 3 ในระดับจังหวัดและอำเภอต่อไป ย่อมมีความเป็นไปได้ของความสำเร็จที่สูงในเมื่อมีความสำเร็จที่เกิดขึ้นในระดับภาคเป็นที่ประจักษ์เช่นนี้
ประเด็นที่นำไปสู่ความสำเร็จของจำนวนครูที่เข้าเรียนในหลักสูตรอีเทรนนิ่งน่าจะมาจากเงื่อนไขการเป็นครู ว่าครูที่มีคุณภาพต้องเข้าหลักสูตรอีเทรนนิ่งอย่างน้อยปีละ 1 วิชา ถ้าเงื่อนไขนี้สามารถทำให้เกิดการพัฒนาครู และส่งผลถึงการพัฒนาการศึกษาของประเทศในระดับชุมชน ก็น่าจะประยุกต์ใช้กับการศึกษาในระดับอื่นได้ถ้าทำให้สิ่งนี้เป็นเงื่อนไขที่จำเป็นต่ออาชีพครู ผลที่ได้ต่อครูคือการได้เรียนรู้ในเนื้อหาวิชา และความชำนาญในการใช้งานระบบ ผลที่มีต่อนักเรียนคือครูที่ผ่านหลักสูตรจะนำประสบการณ์ที่ได้ไปพัฒนาวิชาออนไลน์ให้นักเรียนได้เข้าไปเรียนรู้ผ่านระบบอีเลินนิ่งที่ครูเหล่านั้นเป็นผู้สร้างขึ้นมา การศึกษาของไทยก็พัฒนาก้าวลึกเข้าไปในชุมชนเข้าไปพร้อมการพัฒนาโครงข่ายพื้นฐานด้านการสื่อสารของประเทศ
จากคุณ :
บุรินทร์
.
08:01am (22/06/09)