ไอทีในชีวิตประจำวัน # 267 ฟอนต์แห่งชาติเป็นมาตรฐานราชการไทย ()
รูปแบบตัวอักษรที่นิยมใช้ในหนังสือราชการไทย แต่เดิมใช้ Angsana New หรือ AngsanaUPC แต่รูปแบบทั้งสองใช้งานได้ในระบบปฏิบัติการ Windows ถ้าใช้ในระบบปฏิบัติการ Linux หรือ Macintosh ก็จะไม่มีให้ใช้ รวมถึงการใช้งานกับซอฟท์แวร์ด้านกราฟฟิกก็มักมีปัญหาเกี่ยวกับฟอนต์ภาษาไทยที่ยังไม่มีมาตรฐานที่ยอมรับกันโดยทั่วไป มีนักพัฒนาจำนวนไม่น้อยออกแบบตัวอักษรภาษาไทยเพื่อจำหน่าย หรือแจกฟรี แต่เกิดความชัดเจนขึ้นในประเทศไทยเกี่ยวกับฟอนต์แห่งชาติ หรือฟอนต์มาตรฐานราชการไทยเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2553 โดยคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐติดตั้งฟอนต์สารบรรณและฟอนต์อื่นทั้งหมดจำนวน 13 ฟอนต์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา และสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สอซช.) (SIPA)
ต่อจากนี้ไปคนไทยก็จะมีฟอนต์สำหรับจัดทำเอกสารราชการ เอกสารทางธุรกิจ เอกสารวิชาการที่ถูกยอมรับว่าเป็นฟอนต์แห่งชาติ คือฟอนต์ TH Salabun PSK ที่ใช้งานทั้งในระบบปฏิบัติการ Windows, Linux และ Macintosh ซึ่งเผยแพร่ให้ใช้ได้ฟรี ไม่ต้องพะวงว่าใครจะอ้างสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ เพราะผ่านกรมทรัพย์สินทางปัญญามาเรียบร้อยแล้ว และเชื่อได้ว่าผู้พัฒนาซอฟท์แวร์ในไทยจะมีการติดตั้งให้ฟอนต์เหล่านี้ให้เป็นมาตรฐานต่อไป ซึ่งผู้ใช้ที่ชอบฟอนต์ที่มีหัวมีหางยาวกว่าปกติก็มีฟอนต์ให้เลือก 3 รูปแบบ คือ TH Charmonman, TH Charm of AU และ TH Srisakdi ซึ่งชื่อฟอนต์ดังกล่าวแสดงถึงการให้เกียรติ ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ผู้เป็น บิดาแห่งอีเลิร์นนิ่งไทย
|