วัยโจ๋โชว์ระบาดฯ
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 22 กันยายน 2548 10:37 น.
http://tidtam.com/wb/show.php?Category=news&No=200
http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9480000129667
http://club.deedeejang.com/index.php?showtopic=640
http://tnews.teenee.com/tnews/1748.html
http://mag.jorjae.com/content/news/00003673.html
ซึ่งตีพิมพ์อยู่ในหนังสือพิมพ์บ้านกล้วยปีที่ 28 ฉบับที่ 1 เดือนกันยายน พุทธศักราช 2548 เรื่องราวจะเป็นอย่างไรเชิญติดตาม...
******
นักจิตวิทยาเผยวัยรุ่นเสี่ยงเป็นโรคชอบโชว์มากขึ้นยอมรับ สื่อมีอิทธิผลต่อการเลียนแบบ แนะครอบครัวดูแลใกล้ชิดสร้างความภูมิใจในตัววัยรุ่น
รศ.พญ. ศิริรัตน์ คุปติวุฒิ แพทย์เฉพาะทางด้านจิตเวช ร.พ. ศิริราช ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับกรณีผู้ทีเป็นโรคจิตชอบโชว์หรือเอ็กซ์ซิบิชั่นลิซึ่ม มักจะมีพฤติกรรมชอบโชว์อวัยวะเพศหรืออาจชอบเปลื้องผ้าในที่สาธารณะ ซึ่งเป็นการทำให้เกิดความสุขหรือการปลดปล่อยความรู้สึกทางเพศ โดยโรคจิตชนิดนี้ไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด เพียงแค่ชอบโชว์ชอบสัมผัสเท่านั้น
เพราะปกติแล้วมนุษย์ทุกคนก็จะมีความรู้สึกอยากโชว์ อยากอวดจุดเด่นของตัวเองให้คนอื่นรู้อยู่แล้ว แต่การที่วัยรุ่นรับสื่อมาผิด ๆ จะเข้าใจว่าการโชว์เนื้อหนังเป็นเรื่องที่ดีก็เลยปฏิบัติตามกัน
จากการสำรวจสถานที่ที่วัยรุ่นนิยมเดินเที่ยวชื่อดังย่านต่าง ๆ เช่น ย่านปทุมวัน ลาดพร้าว สยาม และมหาวิทยาลัยต่างๆ พบว่า มีวัยรุ่นจำนวนไม่น้อยที่มีพฤติกรรมตรงตามข้อมูลของ รศ.พญ. ศิริรัตน์ ซึ่งมีวัยรุ่นเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับข้อมูลของรศ.พญ. ศิริรัตน์
น.ส.จิราพร (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 27 ปี พนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งย่านปทุมวันให้สัมภาษณ์ว่าตนใส่เสื้อรัดรูปเน้นช่วงบนตั้งแต่สมัยเรียนหนังสือแล้ว คงไม่ถึงขนาดเป็นโรคจิต แต่ยอมรับว่าตามกระแสจากสื่อต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิตประจำวัน เพราะ หากจะให้ตนหันมาใส่เสื้อผ้าตัวใหญ่ ๆ คงทำให้ไม่มั่นใจที่สำคัญคือตนมีของดีทำไมจะโชว์ไม่ได้
นาย พงษ์พันธ์ (นามสมมติ) อายุ 22 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเอกชนชื่อดังย่านบางนา และมีอาชีพพาร์ทไทม์เป็นเทรนเนอร์ในสถานออกกำลังกายแห่งหนึ่งย่านประชาชื่น ให้สัมภาษณ์ว่าตนคิดว่าผู้ชายทุกคนก็มีอวัยวะส่วนไหนที่ดูดีก็ย่อมมีอาการอยากโชว์ให้เพศตรงข้ามดู เหมือนกับผู้หญิงที่ชอบโชว์ส่วนที่ตนเองคิดว่าสวยที่สุดให้ผู้ชายมอง
โดยถ้าพบเห็นคนที่รู้จักที่มีพฤติกรรมเข้าข่ายที่จะเป็นโรคชอบโชว์คนรอบข้าง ต้องแสดงออกว่าพฤติกรรมที่คนเหล่านั้นทำเป็นสิ่งไม่น่ามอง และให้ความคิดเห็นว่าจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรมได้ และดูแลให้ความรัก ความสนใจเสมอ เพื่อไม่ให้บุคคลกลุ่มดังกล่าวรู้สึกว่าโดดเดี่ยวและขาดที่พึ่ง
นอกจากนี้พฤติกรรมของกลุ่มคนที่เป็นโรคชอบโชว์ยังขยายวงกว้างไปอย่างรวดเร็วโดยผ่านสื่อออนไลน์ และมีการคิดค้น การคุยสดผ่านสื่อออนไลน์โดยการเห็นหน้าหรือเว็บแคม
นายนคร ศรีสุโข นักจิตวิทยาคลินิกสมาคมนักจิตวิทยาไทยกล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้โรคชอบโชว์แพร่ระบาดในสังคมมากขึ้น โดยเฉพาะทางสื่อออนไลน์วา ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้โรคจิตชนิดนี้แพร่ระบาดในสังคมมากขึ้น
เนื่องจากในอดีตการโชว์จำกัดอยู่เพียงในที่สาธารณะเท่านั้น โดยผู้ป่วยต้องใช้ความกล้าและความกลัวที่มีอยู่ในตัวเองเป็นตัวตัดสินใจก่อนกระทำ เหมือนการให้จิตใต้สำนึกสองฝ่ายสู้กัน ซึ่งต้องอาศัยความกล้ามากทีเดียว
ขณะที่ปัจจุบันไม่จำเป็นต้องอาศัยการไตร่ตรองของจิตใต้สำนึกเท่าใดนักเพราะผู้ป่วยสามารถแสดงพฤติกรรมดังกล่าวในที่ส่วนตัวแล้วส่งผ่านสื่อ
นายนคร กล่าวเพิ่มเติมว่า สามารถแบ่งกลุ่มคนใช้เว็บแคมและสื่อออนไลน์ได้ 3 กลุ่ม
กลุ่มแรกคือกลุ่มที่ต้องการทำให้ตัวเองเป็นที่สนใจของเพศตรงข้าม เป็นพวกหลงใหลในตัวเอง ต้องการเป็นดาราหน้ากล้อง ตามลื่อออนไลน์และอยากดัง
กลุ่มที่สองคือ กลุ่มแฝงโดยมักจะชอบแช็ท ด้วยภาพแล้วส่งภาพให้อีกฝ่ายดูแล้วเกิดอาการหลงใหลเคลิบเคลิ้ม มีวัตถุประสงค์คือ ต้องการมีเซ็กซ์ด้วย
กลุ่มสุดท้ายคือกลุ่มที่ต้องการขายบริการทางเพศโดยจะส่งภาพนิ่งและคำบรรยายตู๊ดดส่วนให้ฝ่ายตรงข้ามก่อน วิธีการก็เริ่มจากพูดคุย หรือแช็ท จากนั้นก็จะมีการส่งผ่านกระบวนการนำไปสู่การขายในที่สุด
กรณีนายเอ (นามสมมติ) ที่เคยผ่านประสบการณ์ทางเว็บแคมกล่าวว่า มีบางครั้งที่มีภาพการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายหญิง ซึ่งลักษณะเช่นนี้คนที่เล่นเว็บแคมจะต้องสนิทกันจริง ๆ จึงจะดูได้เป็นเพียงกลุ่มเล็ก ๆ เพราะส่วนใหญ่แล้วคนที่เล่นหากจะโชว์หน้าก็จะเห็นแต่หน้า ถ้าเป็นภาพเปลือยมักจะไม่เห็นหน้า แต่บางครั้งก็มีผู้หญิงใจกล้าให้เห็นและภาพเปลือยกาย
นายนคร นักจิตวิทยาคลินิกกล่าวเพิ่มเติมวา วิธีป้องกันไม่ให้เด็กวัยรุ่นเป็นโรคชอบโชว์มากขึ้น ต้องเริ่มตั้งแต่เด็กพ่อแม่ควรอบรม สั่งสอนให้เด็กเรียนรู้ว่า สิ่งใดควรสิ่งใดไม่ควร ให้เขามีอิสระในความคิดสร้างความภูมิใจในตัวเขาเอง เพราะช่วงเด็กเป็นช่วงที่สำคัญและเป็นช่วงที่เด็กอยู่ใกล้ชิดครอบครัวที่สุด
แต่ถ้าอยู่ในช่วงมหาวิทยาลัยแล้ว เด็กจะมีความคิดเป็นตัวของตัวเองมากขึ้นจึงยากที่จะสั่งสอน ส่วนวิธีการรักษานั้นต้องขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์และตัวของเขาเองว่าเขาต้องการเข้ามารับการบำบัดรักษาหรือไม่ แต่พวกนี้ไม่ได้มีพิษต่อใคร....
โดย : paparuzzy
โพสต์เมื่อ : 2005-09-23 02:56:56
|