thaiall logomy background

กระดานแสดงความคิดเห็น

my town
สรุปผลการสัมมนา มหกรรม KM โดย ฉะเชิงเทรา
จาก http://www.chachoengsao.go.th/ccsdb/index.php?option=com_content&task=view&id=990&Itemid=34
โดย กลุ่มบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานจังหวัดฉะเชิงเทรา โทร. 038 - 512520

การสัมมนาในช่วงเช้า เป็นการกล่าวถึงการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาระบบราชการไทย โดยวิทยากร จำนวน 3 คน คือ เลขาธิการสำนักงาน ก.พ.ร. ผู้อำนวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ และ นายวิจารณ์ พานิช จากสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) โดยมี ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการสื่อสารพัฒนาการเรียนรู้ สคส. เป็นผู้ดำเนินรายการ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
(1) พ.ร.ฎ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ม. 11 กำหนดให้ส่วนราชการต้องมีหน้าที่ในการพัฒนาความรู้เพื่อให้ลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการส่งเสริม และผลักดันส่วนราชการให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยมีแนวทางปฏิบัติได้แก่ การสร้างระบบให้สามารถรับรู้ข่าวสารให้กว้างขวาง ประมวลผลความรู้เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ส่งเสริม และพัฒนาความรู้ ความสามารถให้ข้าราชการเป็นผู้มีความรู้ในวิชาการสมัยใหม่ สามารถปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีคุณธรรม ตลอดจนสร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมในหมู่ข้าราชการให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อนำมาพัฒนาการปฏิบัติราชการร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
(2) ความสำคัญของการจัดการความรู้ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัฒน์ รวมถึงการก้าวเข้าไปสู่ระบบเศรษฐกิจใหม่และสังคมฐานความรู้ (Knowledge-based Society) เป็นผลทำให้ผู้บริหารของแต่ละหน่วยงานต้องเร่งปรับปรุงและพัฒนาการทำงานของตนเองให้มีขีดสมรรถนะและศักยภาพสูงขึ้น โดยเฉพาะการให้ความสำคัญต่อการจัดการสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนหรือสินทรัพย์ที่ไม่สามารถจับต้องได้ (Intangible Assets) อย่างเป็นระบบ เช่น ข้อมูลสารสนเทศ ความรู้ ความจงรักภักดีต่อตราผลิตภัณฑ์ ฯลฯ เพื่อนำมาใช้ในกระบวนการสร้างคุณค่า (Value Creation) และเสริมสร้างขีดความสามารถในเชิงการแข่งขันขององค์กร
(3) ประเภทของความรู้
ความรู้มี 2 ประเภท คือ
1) ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่อยู่ในแต่ละบุคคล อันเกิดจากประสบการณ์ การสอนงาน การเรียนรู้ หรือพรสวรรค์ ซึ่งมักจะไม่ค่อยมีการถูกถ่ายทอดมาเป็นลายลักษณ์อักษร แต่เป็นประเภทความรู้ที่สามารถแบ่งปันกันได้และเป็นความรู้ที่เป็นประโยชน์โดยตรงต่อการปฏิบัติงาน
2) ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ทางวิชาการ มีความเป็นวิทยาศาสตร์หรือเป็นเหตุผล มีการตีพิมพ์เผยแพร่อย่างเป็นทางการในรูปแบบต่าง ๆ เช่น หนังสือ ตำรา บทความ เอกสาร คู่มือและรายงานต่าง ๆ
ความรู้ทั้งสองประเภทนี้สามารถเปลี่ยนแปลงถ่ายเทไปมาระหว่างกันได้ตลอดเวลา โดยผ่านกระบวนการปฏิสัมพันธ์ 4 รูปแบบ คือ กระบวนการทางสังคม (Socialization) กระบวนการภายนอก (Externalization) กระบวนการผสมผสาน (Combination) และกระบวนการภายใน (Internalization)
(4) ความหมายของการจัดการความรู้
(5) กระบวนการจัดการความรู้
การจัดการความรู้ในองค์กร เป็นกระบวนการในการนำความรู้ที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร โดยผ่านกระบวนการอย่างเป็นระบบ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
1) สำรวจความรู้ คือ การร่วมกันกำหนดบ่งชี้ความรู้ที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ขององค์กร
2) รวบรวมและพัฒนา คือ การสร้างและแสวงหาความรู้ที่ต้องการ โดยเฉพาะการระบุแหล่งความรู้ภายในองค์กร เช่น การคัดเลือกบุคคลผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ มาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร
3) จัดเก็บ สังเคราะห์ คือ การนำความรู้ที่รวบรวมได้มาจัดเก็บอย่างเป็นระบบ รวมถึงการประมวลและกลั่นกรองความรู้ให้อยู่ในรูปแบบที่ง่ายและสะดวกต่อการนำไปใช้ประโยชน์
4) ถ่ายทอด คือ การทำให้คนในองค์กรสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ได้ สร้างจิตสำนึกให้เกิดการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ และเกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ต่อไป
(6) การจัดการความรู้เพื่อก้าวสู่ความเป็นเลิศ
สำหรับการสัมมนาในภาคบ่าย เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ใน 3 หัวข้อ คือ
(1) KM กับการพัฒนาวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) โดยการส่งเสริมการเกษตรและจังหวัดชุมพร
(2) KM กับกระบวนการเรียนรู้ (Learning Process) โดยกรมชลประทาน กรมอนามัย และ สป.แรงงาน
(3) KM กับการพัฒนาบุคลากร (HRD) โดยจังหวัดนครศรีธรรมราช กรมราชทัณฑ์ และกรมศุลากร (เอกสาร 3)
(1) LO ตาม Model ของ Peter Senge มีลักษณะ
- Shared Vision มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน
- Term Learing เรียนรู้จากกันและกัน
- Personal Mastery ใฝ่รู้ มุ่งมั่น พัฒนาตน
- Mental Model ฝึกฝนสร้างแผนที่ความคิด
- Systems Thinking ไม่ยึดติด เห็นความเชื่อมโยง (KM ทำให้ LO เป็นจริง)
(2) KM ที่ประกอบผลสำเร็จ ต้องไม่ใช้ KM ที่ลอย ๆ แต่มีลักษณะ
- เชื่อมข้างบนกับข้างล่าง โดยเชื่อม Strategy กับ HRD (มุ่งเน้นการเสริมสร้างสมรรถนะของบุคลากร)
- เชื่อมข้างซ้ายกับข้างขวา โดยเชื่อม Explicit กับ Tacit (เชื่อมหลักวิชาการ ทฤษฎี เข้ากับ ภูมิปัญญา เคล็ดวิชา ประสบการณ์ ปฏิภาณ และเทคนิค ลูกเล่นเฉพาะตัว)
- เชื่อมข้างหน้ากับข้างหลัง โดยเชื่อม ระบบ กับ คน (นำระบบเทคโนโลยีไปปรับใช้กับการเรียนรู้ร่วมกันของคน)
(3) สาเหตุที่ KM ไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากองค์กรมักจะจัดการเฉพาะความรู้ที่เป็น Explicit มากกว่า Tacit
(4) ลักษณะของหน่วยงานที่ก้าวสู่ LO
- เปลี่ยนยุทธศาสตร์การทำงาน จากการสั่งการเป็นการเข้าไปสอนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ถ่ายทอดเทคโนโลยี เคารพ เห็นคุณค่าในตัวชาวบ้าน และการหาสะเก็ดของความสำเร็จ
- ให้ถือว่าทุกกิจกรรมเป็นการเรียนรู้ พัฒนาคน สร้างนวัตกรรม และการพัฒนาองค์กร
- การทำ KM โดยไม่ต้องพูด KM (KM Inside)
สรุป
กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของจังหวัดใน ปี 2550 ตัวชี้วัดด้านระดับความสำเร็จของการจัดการความรู้ เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ ยังคงต้องมีการดำเนินการในน้ำหนักร้อยละ 5 ขณะนี้อยู่ในระหว่างการกำหนดรายละเอียดการประเมินผลจากสำนักงาน ก.พ.ร. ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา จึงเห็นชอบให้เผยแพร่แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับ KM ให้ข้าราชการทุกหน่วยงานได้ทราบโดยทั่วถึง หากท่านใดต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม

โดย กลุ่มบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานจังหวัดฉะเชิงเทรา โทร. 038 - 512520


จากคุณ : บุรินทร์ .
07:51pm (5/01/07)
ทความเกี่ยวกับไอทีในชีวิตประจำวัน (Information Technology in Life) ถูกเขียนลงในหนังสือพิมพ์ฅนเมืองเหนือ เป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ เริ่มเขียนปลายปีพ.ศ. 2549 จนถึงมิถุนายน พ.ศ.2560 รวมได้ 611 บทความมีโฮมเพจอยู่ที่ http://www.thaiall.com/itinlife และ http://www.thaiall.com/opinion เพื่อเป็นแหล่งแบ่งปันเรื่องราวที่ได้พบ ได้อ่าน ได้ปฏิบัติ แล้วนำมาเรียบเรียงแบ่งปันแก่เพื่อนชาวไทย และส่งให้กองบรรณาธิการนำไปตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของจังหวัดลำปาง
Opinion แปลว่า ความคิดเห็น วาทะ ความเชื่อ ที่สามารถสะท้อนออกมาให้อยู่ในรูปของวรรณกรรม หรืองานเขียน ที่เรื่องราวจะถูกร้อยเรียงเป็นตัวอักษร ไล่เรียงตามลำดับให้ได้รู้และเข้าใจความคิดความเห็น ที่ไม่เลือนหายไปตามเวลาเหมือนความทรงจำ
version 1.3 (15 ตุลาคม 2566)
Thaiall.com
Thaiall.com