thaiall logomy background

กระดานแสดงความคิดเห็น

my town
จะรู้ได้อย่างไรว่าโดนแฮ็คไปแล้ว ในระบบปฏิบัติการลีนุกซ์
เรียบเรียงโดย : ร.อ. วิวัต เรืองมี
เรียบเรียงเมื่อ : 20 สิงหาคม 2544
http://www.thaijaidee.com/forum/index.php?topic=3516.msg67353
http://thaicert.nectec.or.th/paper/unix_linux/hacked.php
http://www.msit.mut.ac.th/newweb/phpfile/show.php?Qid=741

จะรู้ได้อย่างไรว่าโดนแฮ็คไปแล้ว

Have I been Hacked

หลังจาก hacker ได้ทำการ compromise ระบบแล้วนั้น ส่วนใหญ่ hacker จะไม่ทำการลบข้อมูลหรือทำอะไรที่จะเป็นผลเสียต่อระบบของท่าน แต่ hackers จะทำการติดตั้ง back door ในระบบซึ่งทำให้ hacker สามารถเข้าถ้าระบบในฐานะ root หรือบางที hacker อาจใช้ระบบของท่านในการโจมตีระบบอื่นๆต่อไป

เพราะฉะนั้นหากท่านประสบปัญหาอย่างเช่น ระบบของท่านเกิดช้าขึ้นมาอย่างผิดปกติแต่เมื่อท่านได้ทำการตรวจสอบ disk space และ process แล้วก็ไม่มีสิ่งใดผิดปกติ checklist ต่อไปนี้คือสิ่งที่ท่านควรตรวจสอบเพื่อบอกว่าระบบของท่านถูก hacked หรือไม่

1. เหตุการณ์หรือสัญญาณที่ผิดปกติ

* ถ้าท่านไม่สามารถทำการ ssh, telnet หรือ login เข้าสู่เครื่องได้เป็นสิ่งบอกเหตุว่าท่านอาจจะถูก hacked ได้
* ท่านควรจะทำการตรวจสอบเหตุต่างๆ ที่ไม่สามารถอธิบาย เช่น network ซึ่งผิดปกติ resource ถูกใช้ไปเยอะมากทั้งที่มี users เข้าใช้อยู่เพียงไม่กี่คน
* ควรตรวจสอบ /etc/password file ว่ามี account ใดบ้างที่เพิ่งถูกเพิ่มเข้ามาโดยที่คุณไม่ได้ทำการเพิ่มเอง รวมทั้งตรวจสอบ accounts ที่ไม่มี password หรือ UID ถูก set ให้เท่ากับ "0"

2. ตรวจหา sniffer

เนื่องจาก sniffer จะทำให้ network interface รับ packet ทุกชนิดที่เข้ามาและทำการบันทึก packet ซึ่งประกอบด้วย username และ password ของ ftp และ telnet แม้ว่าท่านจะแก้ปัญหานี้โดยการใช้ switching แทน hub แต่ถ้าเครื่องดังกล่าวเป็น Internet gateway แล้วปัญหาก็ไม่ได้หมดไป ท่านสามารถทำการ check promiscoous mode ได้โดย # ifconfig - a/grep PROMISC

แต่มี rootkit บางตัวที่ทำการเปลี่ยนแปลง ifconfig เพื่อหลบซ่อนจากการใช้ parameters นี้ เพื่อความแน่ใจให้ท่าน run antisniff ( http://www.securitysoftwaretech.om/antisniff/) จาก remote machine

3. ตรวจสอบ logs

* ทำการตรวจสอบ log files โดยการใช้คำสั่ง last เพื่อที่จะ list logins ท้ายๆออกมาแล้วตรวจสอบว่ามี unknown users หรือ usernames ที่แปลกๆหรือไม่ รวมทั้ง access time ของแต่ละ user ด้วยว่ามีความผิดปกติหรือไม่

# last | head

* ตรวจสอบ message file ใน /var/log/ (สำหรับ Linux) หรือ /var/adm/ (สำหรับ Solaris)
* รวมทั้งตรวจสอบ log files อื่นๆ ซึ่งใช้โดย syslog (โดยดูจาก /etc/syslog.conf) โดยการ grep su failures ทั้งหลายและเหตุการณ์ที่ vid = 0

# grap "vid = 0" /var/log/
และ
# grep "su" /var/log/

* log files ซึ่งมีขนาดเท่ากับ "0" ก็อาจเป็นสัญญาณของการถูกบุกรุกเช่นเดียวกัน
* เนื่องจาก rootkit ใหม่ๆ จะทำการลบ usermane จาก wtmp, utmp และ lastlog files เพราะฉะนั้นหากท่านไม่ได้ใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า write once read many เช่น CD-R ในการบันทึก log files ท่านไม่ควรไว้ใจ log files เท่าใดนัก

4. ไม่ควรเชื่อ ps command

* ตรวจสอบชื่อและจำนวนของ running processes และพยายามหา processes ที่ไม่ค่อยคุ้น ข้อแปลกๆ หรือ startup time ที่ไม่ค่อยปกติ รวมทั้ง process ที่ใช้ CPU time มากๆอย่างไรก็ตามโดยปกติแล้วผู้บุกรุกจะ run sniffers อยู่ภายใต้ daemon ปกติ เช่น sendmail หรือ named และ rootkits โดยส่วนใหญ่ก็จะทำการเปลี่ยนแปลง ps และ pidof เพื่อที่จะหลบซ่อน process ของพวกเขา ดังนั้นท่านควรจะเปรียบเทียบระหว่างผลลัพธ์ของ ps กับผลลัพธ์ใน /proc เช่น

#ps --no-headers -ef | wc

* เมื่อท่าน run คำสั่งต่อไปนี้ใน RedHat 7.0 # ps - -no- headers- ef | wc แล้วผลต่างกันกับที่ run # ls - d /proc/ [0-9]* นั่นคืออาจมี process ที่แอบซ่อนอยู่
* ในระบบ Solaris อาจใช้คำสั่ง crash เพื่อที่จะแสดง list ของ processes แล้วเปรียบเทียบกับ ps output
violin $ crash dumpfile = /dev/mem, namelist = /dev/ksyms, outfile = stdout > proc
หรือท่านอาจจะติดตั้งและ run Isof [ftp://vic.cc.purdue.edu/pub/tools/] ซึ่งโปรแกรมนั้นจะบอกท่านว่า process ไหนกำลังใช้ files อะไร

5. ตรวจสอบ ports

ทำการ scan ports ของเครื่องโดยใช้ port scanner เช่น nmap [ http://www.insecure.org/nmap/] ซึ่งค่า defaults ของ nmap นั้นคือ port1-1024 แต่ trojan horses ส่วนใหญ่จะใช้ ports ที่สูงกว่านั้น หากท่านต้องการเฉพาะเจาะจง ports ที่ต้องการจะ scan ให้ใช้ option-p เช่น

# nmap - p 1 - 65535 your_machin_address
หลังจากนั้น ให้ทำการใช้คำสั่ง netstat -a เพื่อตรวจสอบ port ที่เปิดอยู่บนเครื่องนั้นๆ
# netstat -a

หากพบว่ามี ports ที่ปรากฎใน output ของการใช้ nmap แต่ไม่ปรากฎใน output เมื่อใช้คำสั่ง netstat นั้นอาจหมายถึง netstat ได้ถูกเปลี่ยนแปลงเพื่อหลบซ่อน service บางอย่าง

6. ตรวจสอบ binaries

rootkits ส่วนใหญ่จะทำการเปลี่ยนแปลง system binaries เพื่อทำการหลบซ่อน file, sniffer หรือ port ที่ถูกเปิดอยู่ บน RedHat ท่านสามารถตรวจสอบ binaries ได้โดยใช้คำสั่ง

altis $ rpm - va | grep '1...5'
ซึ่งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอาจเป็นลักษณะนี้คือ
s.5.....T c/etc/services
s.5....T c/etc/info-dir
s.5....T c/etc/inetd.conf
นั้นหมายถึงขนาดของ file เปลี่ยน (5)
MD5 checksum เปลี่ยน (5)
และเวลาที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงถูกเปลี่ยน (T)

บนระบบซึ่งเป็น UNIX ท่านสามารถใช้คำสั่ง find ค้นหา files ที่ถูกเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาหนึ่งๆ ส่วน option ที่ใช้น่าจะใช้ -ctime option ดังนี้

# find/ bin -ctime -7

แต่วิธีที่ดีที่สุดคือใช้คำสั่ง cmp แล้วเปรียบเทียบ วันที่ ขนาดของไฟล์ และ time-stamp ของ system files กับ machine ที่เป็น clean machine และใช้ OS ประเภทเดียวกันซึ่งโดยปกติ binaries files ที่ถูกเปลี่ยนคือ

chsh, crontab, du, df, find, ifconfig, inedd, killall, login, ls, netstat, passwd, ps, sshd, syslogd และ top

ท่านสามารถใช้โปรแกรม tripwire หรือ samhain เพื่อให้แจ้งเตือนเมื่อ system files ถูกเปลี่ยนแปลง

Tripwire [ http://www.tripwire.org]
samhain [ http://samhain.sourceforge.net]

7. ตรวจสอบ Config Files

ท่านควรตรวจสอบ files ซึ่งถูกเปลี่ยนแปลงบ่อยๆได้แก่

/etc/inetd.conf file
หรือ
/etc/xinetd.conf file
หรือ
/etc/xinetd.d directory

พยายามตรวจดู service ที่เพิ่มเข้ามา ถูกเปลี่ยนแปลงหรือเป็น service ที่ท่านไม่คุ้นเคย

/etc/hosts.eguiv, ~/.rhosts

พยายามตรวจดู creationdate และ "+" รวมทั้ง host names ที่ท่านไม่คุ้นเคย

/dev/* เนื่องจากมี rootkits บางประเภทที่จะติดตั้ง configuration files ใน /dev/ ท่านสามารถตรวจสอบ text files ใน /dev directory ได้ดัวนี้

# file /dev/* | grep text
/ dev/ ptyp : ASCIItext
/ dev/ ptyq : ASCIItext
/ dev/ ptyr : ASCIItext

จากตัวอย่างนี้ท่านจะเห็นว่า rootkit ได้ใช้ text file ptyr เพื่อจะหลบซ่อนจาก command lsใช้ ptyq เพื่อจะลบ sockets/ addresses ออกจาก netstat และใช้ ptyq เพื่อจะลบ processes ออกจาก ps

ในฐานะ root ให้ท่าน run crontab - l and atq เพื่อตรวจดูว่ามีโปรแกรมใดที่กำลังรอการทำงานอยู่หรือไม่

8. ตรวจสอบ setuid, setgid และไฟล์อื่นๆที่หลบซ่อนอยู่

ทำ setuid และ setgid files จะ run อยู่ในฐานะ root แม้ว่าจะถูก executed โดย user ธรรมดาก็ตาม
หากท่านต้องการค้นหา setuid files ให้ใช้คำสั่ง

# find / - perm -4000 -print

และในการค้นหา setgid ให้ใช้คำสั่ง

# find / -perm -2000 -print

โดยปกติแล้วผู้บุกรุกจะแอบซ่อน setuid files และ tools ท่านไว้ใน hidden directories ท่านสามารถตรวจสอบหา files ที่แอบซ่อนอยู่ได้โดยใช้คำสั่ง find

# find / -name " . * "

หรือบางทีผู้บุกรุกจะเลือก directory ไปในการแอบซ่อน files เช่น ~/ gnome, ~/.xauth เหล่านี้เป็นต้น

สรุป

หากท่านคิดว่าท่านถูก hacked แน่นอนแล้ว ให้ทำการ disconnect จาก network ทันทีและทำการ back up data แล้ว reinstall OS หรือว่าหากท่านไม่สามารถปิดระบบได้ทันทีก็ควรจะเปลี่ยน root password, ลบ user account ที่คิดว่าเป็นอันตรายและทำการ set เวลาที่จะปิดระบบหลังทำการ reinstall OS



เรียบเรียงโดย : ร.อ. วิวัต เรืองมี
เรียบเรียงเมื่อ : 20 สิงหาคม 2544

จากคุณ : ร.อ. วิวัต เรืองมี .
11:45am (5/05/08)
ทความเกี่ยวกับไอทีในชีวิตประจำวัน (Information Technology in Life) ถูกเขียนลงในหนังสือพิมพ์ฅนเมืองเหนือ เป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ เริ่มเขียนปลายปีพ.ศ. 2549 จนถึงมิถุนายน พ.ศ.2560 รวมได้ 611 บทความมีโฮมเพจอยู่ที่ http://www.thaiall.com/itinlife และ http://www.thaiall.com/opinion เพื่อเป็นแหล่งแบ่งปันเรื่องราวที่ได้พบ ได้อ่าน ได้ปฏิบัติ แล้วนำมาเรียบเรียงแบ่งปันแก่เพื่อนชาวไทย และส่งให้กองบรรณาธิการนำไปตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของจังหวัดลำปาง
Opinion แปลว่า ความคิดเห็น วาทะ ความเชื่อ ที่สามารถสะท้อนออกมาให้อยู่ในรูปของวรรณกรรม หรืองานเขียน ที่เรื่องราวจะถูกร้อยเรียงเป็นตัวอักษร ไล่เรียงตามลำดับให้ได้รู้และเข้าใจความคิดความเห็น ที่ไม่เลือนหายไปตามเวลาเหมือนความทรงจำ
version 1.3 (15 ตุลาคม 2566)
Thaiall.com
Thaiall.com