thaiall logomy background

กระดานแสดงความคิดเห็น

my town
431 ภาพตัดต่อเป็นอาวุธการเมือง
431 ภาพตัดต่อเป็นอาวุธการเมือง

คนไทยวัยทำงานและวัยเรียนกว่าร้อยละ 80 ในไทยใช้เฟสบุ๊ค การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากคนสู่คนแบบเครือข่ายก็สามารถกระจายได้อย่างรวดเร็วเหนือสื่อใดที่เคยมีมา ปัญหาการเมืองสองขั้วทำให้แต่ละขั้วต้องใช้เครื่องมือที่ทันสมัยในการช่วงชิงมวลชน ข้อมูลด้านลบของแต่ละฝ่ายจะถูกเผยแพร่ทั้งในระดับบุคคล และแฟนเพจ โดยเฉพาะภาพที่แสดงถึงความคิดเห็นเชิงลบ หรือการกระทำผิดของอีกฝ่ายหนึ่งจะถูกแชร์ (Share) ไปอย่างรวดเร็ว แต่ภาพเดียวกันอาจสื่อได้ทั้งบวกและลบผ่านการอธิบายที่เอนเอียงได้

คำว่าการตัดต่อภาพถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือเล่าถึงที่มาและที่ไป ถูกให้ความหมายที่แตกต่างกันได้อย่างสิ้นเชิงในแต่ละภาพ เช่น ภาพคนบนตึกก็มีคนบอกว่าได้กระทำการอย่างหนึ่งที่ผิด แต่ภาพเดียวกันกลับถูกเล่าว่าเป็นภาพในอดีตพร้อมภาพเปรียบเทียบว่าถูกตัดต่อ หรืออาจบอกว่าเป็นภาพจริงแต่เป็นพฤติกรรมปกติไม่ได้กระทำผิดเหมือนถูกกล่าวอ้างในครั้งแรก หรือถูกนำไปตัดต่อใหม่เพื่อล้อเลียนวิจารณ์บุคคล แล้วทำให้เกิดอินเทอร์เน็ตมีม (Internet Meme) ที่มีแนวโน้มการแพร่กระจายอย่างหนัก จากการสังเกตพบว่าการแพร่กระจายจะอยู่ในแต่ละฝ่ายที่มีความคิดเห็นไปในทางเดียวกัน เพราะคนที่เห็นด้วยและแบ่งปันก็คือคนกลุ่มเดียวกัน ส่งคนต่างกลุ่มก็จะไม่สนใจที่จะมีปฏิสัมพันธ์ และเชื่อว่าข้อมูลของอีกฝ่ายเป็นเท็จ และข้อมูลของฝ่ายตนเป็นจริง

ในทางเทคนิคแล้วการตัดต่อภาพ หรือแต่งรูป (Photo Editing) สามารถใช้โปรแกรมใดก็ได้ แต่ที่นิยมที่สุดคือ Adobe Photoshop รองลงไปคือ Corel PaintShop Pro และ Serif PhotoPlus การใช้โปรแกรมเหล่านี้ไม่ง่ายเหมือนกับโปรแกรม Microsoft Word เพราะนอกจากต้องมีภาพที่เหมาะสมที่จะตัดต่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์แล้ว ยังต้องมีรายละเอียดที่จะต้องเพิ่มเข้าไป มีจินตนาการ และต้องเข้าใจตัวเลือกของโปรแกรมที่จะตอบสนองต่อภาพที่ต้องการสื่อสารออกไป อุปกรณ์เคลื่อนที่ได้รับความนิยมสูงขึ้น ซอฟท์แวร์ที่สนับสนุนการแต่งภาพก็หาดาวน์โหลดได้ง่ายและใช้ง่าย การรับสารจากสื่อจึงควรใช้วิจารณญาณมากกว่าที่ผ่านมา เพราะเราไม่อาจเชื่ออย่างสนิทใจในความถูกต้องของสารที่รับมาอีกต่อไป

http://www.techfz.com/archives/194.html
http://www.techradar.com/news/software/applications/best-photoshop-alternatives-six-we-recommend-1128681/2


จากคุณ : บุรินทร์ .
10:44am (4/01/14)
ทความเกี่ยวกับไอทีในชีวิตประจำวัน (Information Technology in Life) ถูกเขียนลงในหนังสือพิมพ์ฅนเมืองเหนือ เป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ เริ่มเขียนปลายปีพ.ศ. 2549 จนถึงมิถุนายน พ.ศ.2560 รวมได้ 611 บทความมีโฮมเพจอยู่ที่ http://www.thaiall.com/itinlife และ http://www.thaiall.com/opinion เพื่อเป็นแหล่งแบ่งปันเรื่องราวที่ได้พบ ได้อ่าน ได้ปฏิบัติ แล้วนำมาเรียบเรียงแบ่งปันแก่เพื่อนชาวไทย และส่งให้กองบรรณาธิการนำไปตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของจังหวัดลำปาง
Opinion แปลว่า ความคิดเห็น วาทะ ความเชื่อ ที่สามารถสะท้อนออกมาให้อยู่ในรูปของวรรณกรรม หรืองานเขียน ที่เรื่องราวจะถูกร้อยเรียงเป็นตัวอักษร ไล่เรียงตามลำดับให้ได้รู้และเข้าใจความคิดความเห็น ที่ไม่เลือนหายไปตามเวลาเหมือนความทรงจำ
version 1.3 (15 ตุลาคม 2566)
Thaiall.com
Thaiall.com