thaiall logomy background

การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (วันเวย์อโนวา one-way anova)

my town
SPSS | T-Test | Chi-Square | Anova |
การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (วันเวย์อโนวา one-way anova) ารวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) หรือการทดสอบเอฟ (F-Test) คือ การเปรียบเทียบค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = Standard Deviation) ความแปรปรวน หรือความผันแปร และมักใช้กับข้อมูลตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป เช่น อายุ อาชีพ เงินเดือน ตำแหน่ง ซึ่งเริ่มต้นจากทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย หากมีความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ขั้นต่อไป คือ การเปรียบเทียบรายคู่ (Multiple Comparison) ซึ่งตัวแปรอิสระเป็นแบบจัดกลุ่ม เช่น วิธีสอน หรืออายุ ส่วนตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงปริมาณ เช่น ผลการเรียน หรือความผูกพันต่อองค์กร
SPSS, Menu, Analyze, Compare Means, One-Way ANOVA [6].p361
ถ้ามีตัวแปรอิสระเพียงตัวแปรเดียว เรียกว่า One-Way ANOVA ถ้ามี 2 ตัวแปร เรียกว่า Two-Way ANOVA ถ้ามีหลายตัวแปร เรียกว่า Multi-Way ANOVA เช่น 1) ตัวแปรอิสระ คือ วิธีสอนต่างกัน และ ตัวแปรตาม คือ ผลการเรียน หรือ 2) ตัวแปรอิสระ คือ อายุนักเรียน และ ตัวแปรตาม คือ ผลการเรียน เช่น สมมติฐาน ว่า อายุ/ตำแหน่ง/การศึกษา ที่แตกต่างกันจะมีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน
H0 : อายุ/ตำแหน่ง/การศึกษา ที่แตกต่างกันจะมีความผูกพันต่อองค์การไม่แตกต่างกัน
H1 : อายุ/ตำแหน่ง/การศึกษา ที่แตกต่างกันจะมีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน
หรือ การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรมากกว่า 2 ตัว ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)
H0: กลุ่มอายุ มีความพึงพอใจในวิทยากรไม่แตกต่างกัน
H1: กลุ่มอายุ มีความพึงพอใจในวิทยากรแตกต่างกัน
Factor : age แล้ว Dependent List เป็นความพึงพอใจ
หรือ ตัวอย่างสมมติฐาน
H0: ความรู้ความเข้าใจในตัวผลิตภัณฑ์ กับ การตัดสินใจซื้อ ไม่มีผลต่อกัน
H1: ความรู้ความเข้าใจในตัวผลิตภัณฑ์ กับ การตัดสินใจซื้อ มีผลต่อกัน
หรือ ตัวอย่างสมมติฐาน
H0: ความชอบในตัวผลิตภัณฑ์ กับ การตัดสินใจซื้อ ไม่มีผลต่อกัน
H1: ความชอบในตัวผลิตภัณฑ์ กับ การตัดสินใจซื้อ มีผลต่อกัน
ารวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว [7]
คือ การทดสอบความแตกต่างระหว่าง ตัวแปรเชิงปริมาณ (ตัวแปรตาม) กับตัวแปรกลุ่ม (ตัวแปรอิสระ) เช่น คณะวิชา กับ คะแนน มีความแตกต่างกันหรือไม่ โดยตัวแปรเชิงปริมาณ (ตัวแปรตาม) คือ คะแนน และตัวแปรกลุ่ม (ตัวแปรอิสระ) คือ คณะวิชา ซึ่งอาจแบ่งเป็นคณะวิชาได้อีก
ตัวอย่างเรื่องคณะวิชากับคะแนน อาจสะท้อนได้ไม่ชัด ถ้าเป็นตัวอย่างของ ธันยพัฒน์ [7] จับคู่ อาชีพ กับรายได้ หรือบางบทเรียนจับคู่ บริษัท กับ เงินปันผลแต่ละปี เพื่อเปรียบเทียบว่าแปรปรวนหรือไม่
คณะวิชาคะแนน
คณะวิทยาศาสตร์60, 65, 80, 70, 65
คณะแพทยศาสตร์90, 85, 90, 95, 92
คณะสังคมศาสตร์50, 55, 50, 60, 55

ารวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Anova) คือ การวิเคราะห์ที่สนใจปัจจัยเดียวเท่านั้น ส่วนย่อยของปัจจัยเรียกว่า ทรีตเมนต์ (treatment) ซึ่งเป็นการทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างเท่ากันหรือไม่ โดยการเปรียบเทียบความแปรปรวนของตัวอย่างที่ประมาณมาจากค่าเฉลี่ยของกลุ่มกับความแปรปรวนภายในกลุ่มตัวอย่าง [2]p.53
การทดสอบมีข้อตกลงเบื้องต้น #
1. กลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่มต้องมาจากการสุ่ม และเป็นอิสระจากกัน
2. ข้อมูลอยู่ในมาตรอันตรภาค (Interval Scale) เป็นอย่างต่ำ
3. ข้อมูลแต่ละกลุ่มมีการแจกแจงแบบปกติ(Normal Distribution)
4. ข้อมูลมีความแปรปรวนใกล้เคียงกันทุกกลุ่ม หรือมีความเป็นเอกพันธ์ของความแปรปรวน (Homogeneity of Variance)
ก่อนทดสอบด้วย ANOVA
อาจทดสอบว่าผ่านเงื่อนไขการแจกแจงแบบปกติ
การทดสอบ [การแจกแจง] ว่ามีการแจกแจงแบบปกติหรือไม่
สามารถใช้ค่าการทดสอบไคสแควร์
H0: ข้อมูลมีการแจกแจงแบบปกติ
H1: ข้อมูลมีการแจกแจงแบบไม่ปกติ
ถ้าผลที่ได้ใน Asym. Sig. (Asymptotic Significance)
>= 0.05 แสดงว่ายอมรับ H0
< 0.05 แสดงว่ายอมรับ H1
เพ็ญแข ศิริวรรณ (2546:12-2) ได้กล่าวว่า ถ้าข้อมูลแต่ละทรีตเมนต์มีมากกว่า 30 หน่วย ก็ไม่จำเป็นต้องทดสอบการแจกแจงแบบปกติของกลุ่มตัวอย่าง
อ่านเพิ่มเติม
กรณีศึกษา : เทียบ ปัจจัยส่วนบุคคล กับ พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ

ยุวดี วิทยพันธ์, สมศักดิ์ วสุวิทิตกุล, และ ศิริพร สมบูรณ์. (2555). ปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากร ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 26(3), 16-30.

บว่า มีการใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) แสดงผลการทดสอบในตารางที่ 2 ที่ใช้ค่าสถิติ F-Test สำหรับปัจจัยส่วนบุคคลที่ตัวแปรมีมากกว่า 2 ค่า คือ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน สถานภาพสมรส เปรียบเทียบกับ พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ส่วนการใช้ค่าสถิติ T-Test สำหรับปัจจัยส่วนบุคคลที่ตัวแปรมี 2 ค่า คือ เพศ (ชาย/หญิง) โรคประจำตัว (ไม่มี/มีโรค) เปรียบเทียบกับ พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่ง พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ (Health promoting behaviors) เป็น rating scale มีคำตอบให้เลือก 4 ระดับ มีลักษณะข้อคำถามที่มีเนื้อความเชิงบวก จำนวน 35 ข้อ แบ่งเป็น 6 ด้าน คือ 1) ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ 2) กิจกรรมทางด้านร่างกาย 3) โภชนาการ 4) สัมพันธภาพระหว่างบุคคล 5) การพัฒนาทางจิตวิญญาณ และ 6) การจัดการกับความเครียด
กรณีศึกษา : นำ IS ของนักศึกษามาชวนทบทวน ถามนักเรียน เรื่อง ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix : 7Ps) มีผลต่อการตัดสินใจเลือกlสถานศึกษา [paper]
ตามที่ได้อ่านงานของ คุณณัฐธยาน์ น้อยเปียง ทำวิจัยเรื่อง ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อของนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการ กฟผ.แม่เมาะ
พบว่า มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ ดังนี้
1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อ ของนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพของวิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการ กฟผ.แม่เมาะ
2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อ ของนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพของวิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการ กฟผ.แม่เมาะ
มีสมมติฐานของการวิจัย 9 ข้อ ดังนี้
1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อของนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ไม่แตกต่างกันตามเพศ
2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ... ไม่แตกต่างกันตามสาขาวิชา
3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ... ไม่แตกต่างกันตามอายุ
4) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ... ไม่แตกต่างกันตามเกรดเฉลียสะสม
5) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ... ไม่แตกต่างกันตามจํานวนพี่น้องรวมบิดามารดา
6) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ... ไม่แตกต่างกันตามภูมิลําเนา
7) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ... ไม่แตกต่างกันตามที่พักอาศัย
8) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ... ไม่แตกต่างกันตามการทํางานหรือมีรายได้พิเศษ
9) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ... ไม่แตกต่างกันตามแหล่งที่มาของรายได้
ทบทวนงานของนักศึกษา : คุณณัฐธยาน์ น้อยเปียง และ คุณกาญจนา ศรีชัยตัน
ตัวแปรอิสระ
1. ปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย
- เพศ
- สาขาวิชา
- อายุ
- เกรดเฉลี่ยสะสม
- จํานวนพี่-น้อง ร่วมบิดา มารดา
- ภูมิลําเนา
- ที่พักอาศัย
- การทํางานหรือมีรายได้พิเศษ
- แหล่งที่มาของรายได้
2. ปัจจัยส่วนประสมการตลาด ประกอบด้วย
- 1) ด้านผลิตภัณฑ์ (Product)
- 2) ด้านราคา (Price)
- 3) ด้านช่องทางการจัดจําหน่าย (Place)
- 4) ด้านส่งเสริมการตลาด (Promotion)
- 5) ด้านบุคคล (People)
- 6) ด้านการสร้างและนําเสนอลักษณะทางกายภาพ (Physical evidence)
- 7) ด้านกระบวนการให้บริการ (Process)
ตัวแปรตาม คือ การตัดสินใจเลือกศึกษาต่อของนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ของวิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการ กฟผ. แม่เมาะ

การวิเคราะห์ข้อมูล
ข้อมูลที่ได้รวบรวมมาจากแบบสอบถาม จะนํามาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ประกอบด้วย ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ที-เทส (t-test) และ One-way ANOVA

บทที่ 4 ผลการวิจัย
- มีผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม
นำเสนอด้วย จำนวน และร้อยละ
- สรุปผลตามระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสทางการตลาด
นำเสนอด้วย จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แปลความ และอันดับ
ซึ่งส่วนประสบทางการตลาดมี 7 ด้าน
- การเปรียบเทียบเพศกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อ
ใช้ T-Test
- ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง
ของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อกับสาขาวิชา
ใช้ F-Test ให้ได้ค่า Sig. ว่าแต่ละกลุ่มต่างกันหรือไม่
ก่อนนำเสนอค่า Sig. เทียบระหว่างกลุ่ม กับภายในกลุ่ม
จะนำเสนอตารางข้อมูลแต่ละกลุ่มที่มีค่าเฉลี่ย กับ S.D. ก่อน
- กรณีในงานชิ้นนี้ F-Test ไม่มีต่ำกว่า 0.05 คือไม่ต่างกลุ่ม
จึงไม่ต้องทดสอบรายคู่ ด้วย One-way Anova
- ก่อนจบบทที่ 4 จะสรุปว่า มีสมมติฐานใดยอมรับ หรือปฏิเสธบ้าง

บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย
จะนำ ปัจจัยส่วนบุคคลที่น่าสนใจมาสรุป
จะนำ ส่วนประสมทางการตลาดมาสรุปแยกว่า ส่วนประสมใดมีข้อใดเป็นอันดับแรก อันดับสอง
จะนำ ผลการทดสอบสมมติฐานมาเขียนสรุปผลการเปรียบเทียบเป็นรายข้ออีกครั้ง
ในส่วนของการอภิปรายผล
จะเชื่อมโยงและอ้างอิงกับทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
แยกตามส่วนประสมทางการตลาดอีกครั้ง เช่นคนนั้นศึกษาอย่างนั้น
และเราได้ผลสอดรับหรือต่างกันอย่างไร

บทคัดย่อ
ารค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อและเพื่อเปรียบ เทียบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อของนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพของ วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการ กฟผ.แม่เมาะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 จำนวน 174 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ประกอบด้วย ความถี่ (Frequency) ร้อย ละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการเปรียบเทียบข้อมูลประชากรศาสตร์และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อของนัก เรียน หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพของวิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการ กฟผ.แม่เมาะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล t-test และ One-way ANOVA
ลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ศึกษาอยู่ในสาขางานไฟฟ้ากำลังอายุ 18 ปี เกรดเฉลี่ย 2.01-2.50 มีพี่น้องร่วมบิดา มารดาจำนวน 2 คน มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดลำปางนอกตัวอำเภอเมือง อาศัยอยู่กับบิดา มารดา ไม่ได้ทำงานหรือมีรายได้พิเศษระหว่างศึกษาและรายได้ปัจจุบันมาจากบิดา มารดา ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อของนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพของวิทยาลัย เทคโนโลยีและการจัดการ กฟผ.แม่เมาะ พบว่า ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญต่อปัจจัยย่อย ด้านผลิตภัณฑ์โดยปัจจัยย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ หลักสูตรสามารถนำไปใช้ปฏิบัติงานได้จริง ปัจจัยด้านราคา ผู้ ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญต่อปัจจัยย่อยด้านราคาโดยปัจจัยย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ มีกองทุนกู้ยืมเพื่อการ ศึกษา ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญต่อปัจจัยย่อย ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย โดยปัจจัยย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ สถานที่ตั้งของสถานศึกษาอยู่ใกล้แหล่งชุมชนร้านค้า ปัจจัยด้านการส่งเสริมการ ตลาด ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญต่อปัจจัยยด้านการส่งเสริมการตลาดโดยปัจจัยย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ มี การโฆษณาทางวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แผ่นป้ายขนาดใหญ่เข้าใจง่าย ปัจจัยด้านบุคคล ผู้ตอบแบบสอบถามให้ ความสำคัญต่อปัจจัยย่อยด้านบุคคลโดยปัจจัยย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ คณาจารย์มีความรู้ความสามารถตรงกับหลัก สูตรที่เปิดการสอน ปัจจัยด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญต่อปัจจัย ย่อยด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ โดยปัจจัยย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ป้ายสถานศึกษาสวยงามและ มองเห็นได้ชัดเจน ปัจจัยด้านกระบวนการให้บริการ ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญต่อปัจจัยย่อยด้านกระบวนการ ให้บริการ โดยปัจจัยย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ มีกระบวนการสอน และเทคนิคการสอนที่ทันสมัย
ข้อเสนอแนะ ได้แก่ กฎระเบียบที่ใช้ในสถานศึกษาควรมีความเหมาะสม และสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง
ตัวอย่าง One-way ANOVA ต.ย. การตั้งสมมติฐานที่ใช้อโนวา (ANOVA)
ตัวแปรตาม เป็นตัวแปรเชิงปริมาณ เช่น รายได้ : 25000, 31000 , 16000
ตัวแปรอิสระ เป็นตัวแปรเชิงกลุ่ม เช่น อาชีพ : ข้าราชการ เอกชน รัฐวิสาหกิจ รับจ้าง ว่างงาน
สมมติฐาน ที่ใช้การทดสอบเอฟ (F-Test)
- รายได้เฉลี่ยของนักคอมพิวเตอร์ในแต่ละภาคแตกต่างกัน
- ยอดขายเฉลี่ยน้ำผลไม้ใน 3 ร้านแตกต่างกัน
สมมติฐานที่ใช้ LSD (Least Square Difference)
- อาชีพของชาวลำปางที่ต่างกันส่งผลต่อการมีรายได้แตกต่างกัน
- ภูมิภาคที่นักคอมพิวเตอร์ทำงานมีผลต่อการมีรายได้แตกต่างกัน
- ร้านค้าที่ต่างกันมีผลต่อยอดขายแตกต่างกัน
- เส้นทางท่องเที่ยวในลำปางมีผลต่อจำนวนวันท่องเที่ยวแตกต่างกัน
Output ของ Test of Homogeneity of Variances
การทดสอบค่านี้ เป็น option ตอนทดสอบ ANOVA #
ถ้า Significance มีค่า >= 0.05 แสดงว่ายอมรับ H0
H0: ความแปรปรวนของข้อมูลแต่ละกลุ่มเท่ากัน
H1: ความแปรปรวนของข้อมูลอย่างน้อย 1 กลุ่มไม่เท่ากับกลุ่มอื่น

Output ของ One-way ANOVA
ถ้า Significance มีค่า >= 0.05 แสดงว่ายอมรับ H0
H0: ค่าเฉลี่ยของคะแนนทุกกลุ่มเท่ากัน
H1: ค่าเฉลี่ยของคะแนนอย่างน้อย 1 กลุ่มไม่เท่ากับกลุ่มอื่น
Output ของ One-way ANOVA
ถ้า Significance มีค่า >= 0.05 แสดงว่ายอมรับ H0
H0: ทัศนคติของลูกค้าในด้านคุณภาพบริการ ไม่แตกต่างกันตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ ..
H1: ทัศนคติของลูกค้าในด้านคุณภาพบริการ แตกต่างกันตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ ..
เรื่อง ทัศนคติของลูกค้าที่มีต่อรูปแบบของผลิตภัณฑ์เงินฝากสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว แบบทรัพย์มั่นคง ของธนาคารออมสิน สาขาเถิน จังหวัดลำปาง โดย อุบล  จินดาธรรม เรื่อง ทัศนคติของลูกค้าที่มีต่อรูปแบบของผลิตภัณฑ์เงินฝากสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว
แบบทรัพย์มั่นคง ของธนาคารออมสิน สาขาเถิน จังหวัดลำปาง
โดย อุบล จินดาธรรม
ต.ย. sam400 ทดสอบ oneway anova
ปรียบเทียบ 2 กรณี ดังนี้ 1) ระดับการศึกษา (Factor) กับ ความพอใจเงินเดือน (Dependent List 1 of 2) พบว่าตาราง Test of Homogeneity of Variances ช่อง V34 ค่า sig ได้ 0.000 ซึ่ง < 0.05 ยอมรับ H1 หมายความว่า ระดับการศึกษา แตกต่างกันไปตาม ความพอใจเงินเดือน หรือกล่าวได้ว่าระดับการศึกษามีผลต่อความพึงพอใจ 2) ระดับการศึกษา (Factor) กับ ความพอใจการศึกษาของตน (Dependent List 2 of 2) พบว่าตาราง Test of Homogeneity of Variances ช่อง V35 ค่า sig ได้ 0.787 ซึ่ง >= 0.05 ยอมรับ H0 หมายความว่า ระดับการศึกษา ไม่แตกต่างกันไปตาม ความพอใจการศึกษาของตน หรือกล่าวได้ว่าระดับการศึกษาไม่ส่งผลต่อความพึงพอใจ
GET
   FILE='D:\thaiall.com\spss\sam400.sav'.
 DATASET NAME DataSet0 WINDOW=FRONT.
 ONEWAY VAR00034 VAR00035 BY VAR00033
   /STATISTICS DESCRIPTIVES HOMOGENEITY
   /MISSING ANALYSIS
   /POSTHOC=LSD ALPHA(0.05).
sam400.sav
- Menu bar
- Analyze
- Compare Mean
- One-Way ANOVA
- Select Variables
  Dependent List=V34, V35
  Factor=V33
- Options
  Descriptive=checked
  Homogeneity of ariance test=checked
  Exclude cases analysis by analysis=checked
- Post Hoc..
  LSD=checked
- Ok
onewayanova
onewayanova
เอกสารอ้างอิง (Reference)

[2] ยุทธ ไกยวรรณ์. (2555). "หลักสถิติวิจัย และการใช้โปรแกรม SPSS". กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[7] ธันยพัฒน์ วงศ์รัตน์. (2555). "การประยุกต์ใช้โปรแกรม SPSS 17.0 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ". กรุงเทพฯ: บริษัท สวัสดี ไอที จำกัด.

Thaiall.com