# 87 ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ตกทอง
21 พฤษภาคม 2550 - 27 พฤษภาคม 2550
การตกทองโดยทั่วไปคือการฉ้อโกง มักทำเป็นแก็ง เพื่อทำให้เหยื่อหลงเชื่อ มิจฉาชีพจะสร้างสถานการณ์ว่ามีผู้โชคร้ายทำทองปลอมเส้นใหญ่ตกบนพื้น เมื่อเหยื่อและมิจฉาชีพพบทองเส้นนั้นร่วมกันก็ต้องวางแผนแบ่งปันอย่างยุติธรรม การแบ่งทองมักจบด้วยเหยื่อควักทองเส้นเล็กกว่าของตน หรือเงินสดแลกกับทองปลอมเส้นใหญ่ ส่วนใหญ่เหยื่อจะรู้ตัวเมื่อนำทองปลอมเส้นใหญ่ไปขายที่ร้านทอง การตกทองแบบนี้เหยื่อที่ถูกหลอกมักสูญเงินประมาณ 5,000 ถึง 20,000 บาท ต่างกับการตกทองแบบใหม่ที่อาจสูญเงินทั้งหมดที่เคยสะสมมาทั้งชีวิต
การตกทองแบบใหม่ที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นเครื่องมือถูกนำเสนอเป็นสารคดีในรายการถอดรหัส ตอน SMS นำโชคร้าย เมื่อตุลาคม 2549 เหตุการณ์เริ่มจากเหยื่อได้รับข้อความว่าท่านได้รับรางวัลใหญ่จากบริษัทที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง ให้โทรกลับตามเบอร์ที่แจ้งไว้เพื่อขอรับรางวัลในเวลาที่กำหนด และเข้าสู่กระบวนการรับรางวัล แต่กลับกลายเป็นการหลอกล่อให้เหยื่อกดปุ่มโอนเงินจากตู้ ATM ไปเข้าบัญชีของมิจฉาชีพอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ที่เหยื่อส่วนใหญ่ถูกหลอกเพราะมีกระบวนการที่ทำให้เชื่อใจ ให้ความหวัง ให้เวลาสั้นในการทำรายการหน้าตู้เอทีเอ็ม กำชับให้ทำตามทุกขั้นตอน และให้เลือกเมนูเป็นภาษาอังกฤษที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่คุ้นเคย
เมื่อต้นเดือนเมษายน 2550 บริษัทที่ถูกอ้างชื่อจากมิจฉาชีพว่าให้รางวัลเป็นทองคำได้ออกมาให้ข่าวว่าไม่ได้ทำเช่นนั้น คาดว่ามีผู้เสียหายร้องเรียนไปยังบริษัทดังกล่าว ก่อนมีข่าวนี้เพื่อนใกล้ตัวของผู้เขียนได้รับการติดต่อจากมิจฉาชีพ แม้จะไม่เชื่อแต่ก็คล้อยตามไปจนจบกระบวนการก่อนโอนเงินให้มิจฉาชีพ เหตุการณ์เริ่มจากได้รับโทรศัพท์แจ้งให้ไปรับรางวัลเป็นทองคำหนัก 20 บาทที่สำนักงานใหญ่ ถ้าไม่สะดวกในการเดินทางมิจฉาชีพเสนอที่จะโอนเงินเข้าบัญชีของเหยื่อ จากนั้นก็หลอกถามยอดเงินในบัญชีทั้งหมด และให้กดปุ่มส่งข้อมูลจากตู้เอทีเอ็ม โดยหลอกว่าให้ยืนยันการรับเงินรางวัลเข้าบัญชีเหยื่อผ่านตู้เอทีเอ็ม เพราะระบบโอนเงินปกติขัดข้องโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่ถ้าพิจารณาปุ่มที่มิจฉาชีพให้กด ก็จะรู้ว่าเป็นการโอนเงินจากบัญชีเหยื่อไปยังบัญชีของมิจฉาชีพ เหตุการณ์แบบนี้ไม่น่ามีเหยื่อคนใดหลงเชื่อ ยกเว้นว่าจะไม่รู้ภาษาอังกฤษ และความโลภบังตาเท่านั้น อาจารย์คนึงสุข นันทชมภู ให้ข้อมูลว่าโทษนี้เป็นความผิดตามกฎหมายทั้งคดีแพ่ง และคดีอาญาในฐานฉ้อโกงมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ส่วนใหญ่จะติดตามมิจฉาชีพลักษณะนี้มาดำเนินคดีได้ยาก เพราะมีการเตรียมอุปกรณ์ เตรียมคน และใช้ประโยชน์ในด้านมืดของไอทีจนยากแก่การติดตาม
เมื่อต้นเดือนเมษายน 2550 บริษัทที่ถูกอ้างชื่อจากมิจฉาชีพว่าให้รางวัลเป็นทองคำได้ออกมาให้ข่าวว่าไม่ได้ทำเช่นนั้น คาดว่ามีผู้เสียหายร้องเรียนไปยังบริษัทดังกล่าว ก่อนมีข่าวนี้เพื่อนใกล้ตัวของผู้เขียนได้รับการติดต่อจากมิจฉาชีพ แม้จะไม่เชื่อแต่ก็คล้อยตามไปจนจบกระบวนการก่อนโอนเงินให้มิจฉาชีพ เหตุการณ์เริ่มจากได้รับโทรศัพท์แจ้งให้ไปรับรางวัลเป็นทองคำหนัก 20 บาทที่สำนักงานใหญ่ ถ้าไม่สะดวกในการเดินทางมิจฉาชีพเสนอที่จะโอนเงินเข้าบัญชีของเหยื่อ จากนั้นก็หลอกถามยอดเงินในบัญชีทั้งหมด และให้กดปุ่มส่งข้อมูลจากตู้เอทีเอ็ม โดยหลอกว่าให้ยืนยันการรับเงินรางวัลเข้าบัญชีเหยื่อผ่านตู้เอทีเอ็ม เพราะระบบโอนเงินปกติขัดข้องโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่ถ้าพิจารณาปุ่มที่มิจฉาชีพให้กด ก็จะรู้ว่าเป็นการโอนเงินจากบัญชีเหยื่อไปยังบัญชีของมิจฉาชีพ เหตุการณ์แบบนี้ไม่น่ามีเหยื่อคนใดหลงเชื่อ ยกเว้นว่าจะไม่รู้ภาษาอังกฤษ และความโลภบังตาเท่านั้น อาจารย์คนึงสุข นันทชมภู ให้ข้อมูลว่าโทษนี้เป็นความผิดตามกฎหมายทั้งคดีแพ่ง และคดีอาญาในฐานฉ้อโกงมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ส่วนใหญ่จะติดตามมิจฉาชีพลักษณะนี้มาดำเนินคดีได้ยาก เพราะมีการเตรียมอุปกรณ์ เตรียมคน และใช้ประโยชน์ในด้านมืดของไอทีจนยากแก่การติดตาม