อีกก้าวกับเทคโนโลยีจอภาพ
 
# 264 อีกก้าวกับเทคโนโลยีจอภาพ

    ตั้งแต่พ.ศ.2495 ประเทศไทยเริ่มแพร่ภาพออกอากาศผ่านสถานีโทรทัศน์ช่อง 4 และโทรทัศน์ซีอาร์ที (Cathode Ray Tube = CRT TV) ก็เป็นที่นิยมตั้งแต่ยุคแรก เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาเราได้รู้จักจอพลาสมา (DPD = Digital Plasma Display) ซึ่งเป็นจอทีวีที่บางกว่าจอแบบซีอาร์ที เหมาะกับการชมภาพเคลื่อนไหว แล้วจอภาพแบบแอลซีดี (LCD = Liquid Crystal Display) ก็เริ่มขยับเข้าครองตลาด จนจำนวนจอพลาสมาในร้านขายทีวีลดลงอย่างชัดเจน จอแอลซีดีมีจุดเด่น คือ ภาพนิ่งมีความคมชัดกว่าภาพเคลื่อนไหว ไม่สะท้อน สามารถใช้แทนจอภาพสำหรับจอคอมพิวเตอร์ หรือใช้ดูทีวีได้ในเครื่องเดียวกัน ด้วยความนิยมที่สูงขึ้นทำให้ราคาลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง

    ปีพ.ศ.2553 เริ่มเห็นจอภาพแบบแอลอีดี (LED = Light-Emitting Diode) เข้ามาแทนที่ทั้งจอแอลซีดี และจอพลาสมาเพิ่มขึ้น คาดว่าจะแทนที่จอทีวีทุกแบบในอนาคต ซึ่งจอแอลอีดีเป็นเทคโนโลยีที่นิยมใช้ใน Netbook เพื่อประหยัดพลังงาน และเกิดความร้อนน้อยกว่าจอแบบอื่น แต่ปัจจุบันยังมีราคาที่สูงกว่าจอแบบแอลซีดี ความแตกต่างภายนอกของจอแอลอีดีคือไม่มีช่องระบายความร้อน จึงบางกว่าจอแบบอื่น

    ลักษณะของจอแบบแอลอีดีที่คาดว่าจะเป็นที่นิยมในอนาคต คือ มองเห็นได้จากทุกมุมมอง กินไฟฟ้าน้อยกว่า ตอบสนองได้เร็วกว่าแบบแอลซีดี มีความละเอียดของภาพมากกว่า อายุการใช้งานนานกว่า สามารถเปิดปิดหลอดได้อย่างอิสระ จึงแสดงภาพสีดำทำได้ดีขึ้น แต่จำนวนรุ่นของสินค้ายังมีให้เลือกไม่หลากหลาย จากการเข้าชมงาน Big Screen Expo 2010 ของ IT City Superstore พบว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งในเอกสารยังเป็นจอแบบแอลซีดี และจอแบบพลาสมามีจำนวนน้อยที่สุด แต่ราคาต่ำกว่าจอประเภทอื่นเมื่อเปรียบเทียบในขนาดและคุณภาพที่ใกล้เคียงกัน นอกจากจอภาพทั้งสามแบบแล้ว ก็ยังมีอีกเทคโนโลยีหนึ่งคือ Projector ที่สามารถฉายภาพออกไปยังจอภาพ เสมือนเนรมิตบ้านให้เป็นโรงหนังก็สามารถทำได้
บทความเมื่อเร็ว ๆ นี้
265. โลภ โกรธ หลงใน fb
264. อีกก้าวกับเทคโนโลยีจอภาพ
263. ข้อดีของเฟซบุ๊ก
262. เปิดหนังสือสอบ
ค้นในบทความ
กลับหน้าแรก
Thaiall.com