ความร่วมมือในอาเซียน
 
# 310 ความร่วมมือในอาเซียน

    มีความตื่นตัวในการรวมกลุ่มประเทศ เรียกว่า อาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ก่อตั้งเมื่อ 8 สิงหาคม 2510 ในครั้งแรกมีเพียง 5 ประเทศคือ ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และสิงคโปร์ ต่อมามีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้น ปัจจุบันมีสมาชิก 10 ประเทศประกอบด้วย บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงค์โปร์ ไทย และเวียดนาม ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการ อาจสรุปได้ว่าเน้นการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ การสร้างความร่วมมือด้านต่าง ๆ ส่งเสริมให้ประชาชนมีความสุข เจริญรุ่งเรือง และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

    จากที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 เกาะบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย วันที่ 7 ตุลาคม 2546 ได้ให้การรับรองและลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน (Declaration of ASEAN Concord II หรือ Bali Concord II) ซึ่งรวมเรื่องการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC = ASEAN Economic Community) ที่เป็นหนึ่งในเสาหลัก 3 เสาของการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) โดยอีก 2 เสาหลัก คือเสาหลักด้านการเมืองและความมั่นคง (Political and Security Pillar) และเสาหลักด้านสังคมและวัฒนธรรม (Socio-Cultural Pillar)

    ผลการประชุมสรุปได้ว่าเราต้องเปิดประเทศสู่ ประชาคมอาเซียน ใน ค.ศ.2020 หรือ 2015 หน่วยงานที่มีความเข้าใจพยายามผลักดันให้เกิดการตื่นตัว เตรียมพร้อมสู่การปรับเปลี่ยน และเชื่อได้ว่าการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ย่อมนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่า แต่กว่าจะถึงเวลานั้นย่อมมีการวิพากษ์ถึงสิ่งที่ได้ว่าจะเป็นวิกฤตหรือโอกาส ซึ่งผลกระทบหนึ่งที่ถูกกล่าวถึงคือ แรงงานมีฝีมือมีจำกัดอาจไหลออกนอกประเทศได้ ซึ่งเป้าหมายสำคัญของ AEC คือ การกำหนดอัตราภาษีเป็น 0 เพื่อนชาวไทยสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงได้ทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีข่าวทาง เว็บไซต์ และคลิ๊ปแนะนำออกมาอย่างต่อเนื่อง แล้วพวกเรามาปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกันนะครับ
บทความเมื่อเร็ว ๆ นี้
311. สตีฟจอบส์เสียชีวิตแล้ว
310. ความร่วมมือในอาเซียน
309. ธรรมะออนไลน์ของเจ้าคุณพิพิธ
308. คนรักแม็ค
ค้นในบทความ
กลับหน้าแรก
Thaiall.com