เวทีแสดงผลงานของเยาวชน
เวทีแสดงผลงานของเยาวชน : บทความไอที id:822 :
 
#610 เวทีแสดงผลงานของเยาวชน

    เวลาดูภาพยนตร์จะเห็นว่าเด็กหลายคนใช้สื่ออินเทอร์เน็ต ใช้โซเชียลมีเดียเพื่อการติดต่อสื่อสาร หรือส่งข่าวสารกับเพื่อน คนในครอบครัว หรือคนในสังคมได้ ปัจจุบันโรงเรียนจะสนับสนุนนักเรียนให้ไปแข่งขันในเวทีระดับภูมิภาค ประเทศ หรือระดับโลกกันอย่างต่อเนื่องจนมีแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การมีผลงาน เก็บผลงาน จัดหมวดหมู่ และนำเสนอเป็นไปอย่างมีเป้าหมาย ถ้าเป็นนักเรียนก็เตรียมแฟ้มฯ เพื่อยื่นผลงานขอสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา หรือการขอรับทุนการศึกษา ถ้าเป็นนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยเตรียมเพื่อสมัครงานในตำแหน่งที่ชอบกับบริษัทใหญ่โต ถ้าเป็นพ่อค้าแม่ค้าก็จะมีแฟ้มสะสมผลงานของทางร้านเพื่อนำเสนอสินค้าและบริการ ถ้าเป็นหนุ่มสาวก็ต้องการเวทีเพื่อนำเสนอภาพลักษณ์ที่ดีของตนเอง เผื่อจะมีใครเข้ามาสนใจเห็นตัวตนของฉันบ้าง แล้วกดไลท์กดเลิฟสานต่อความสัมพันธ์กันต่อไป

    ปัจจุบันนักเรียน นิสิต นักศึกษา โรงเรียน บริษัท หรือพ่อค้าแม่ค้ามีโอกาสมากมายในการมีเวทีของตนผ่านสื่อ แต่ทุกอย่างเริ่มต้นที่เป้าหมาย หากมีเป้าหมายที่ชัดก็จะตามมาด้วยการใช้เวลาทุ่มเทที่จะนำผลงานของตนเผยแพร่ในเวที แล้วเวทีนั้นก็จะมีชีวิตชีวากับผู้พบเห็น การมีเวทีเผยแพร่ผลงานต้องลงทุนด้วยแรงกาย แรงใจ เวลา และค่าใช้จ่าย ส่วนเวทีแบบที่ไม่มีค่าใช้จ่ายก็มีเช่นกัน อาทิ blogger.com, gotoknow.org, wordpress.com, classstart.org, wix.com, github.com, facebook.com, twitter.com หรือ line.me ถ้าต้องการแบบทางการก็จะมีโดเมนเนมของตนเอง มีเครื่องบริการ และระบบฐานข้อมูล ที่มีความสมบูรณ์พร้อมที่จะเสนอสินค้า และรับการชำระเงินในตัว

    คำสำคัญ คือ เยาวชน ปัจจุบันเป้าหมายของเยาวชนส่วนใหญ่ของประเทศทั้งสายสามัญเน้นวิชาการ และสายอาชีพเน้นวิชาชีพ ก่อนจะเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา คือ การตั้งใจเรียนหนังสือเพื่อนำความรู้ไปใช้สอบเรียนต่อหรือสอบเข้าทำงาน การมีเวทีอาจไม่ใช่เป้าหมายสำคัญของการเรียนหนังสือ การใช้สื่อสังคมของเยาวชนก็พบว่าการนำเสนอผลงานอย่างจริงจังมีน้อย การจะนำเสนอผลงานนั้นต้องมีทักษะการเขียนในระดับหนึ่งที่ผ่านการฝึกฝนจนมีทักษะ ซึ่งต้องมีทักษะการอ่านเป็นพื้นฐาน เชื่อมโยงกับคำว่า สุ จิ ปุ ลิ แต่ประเทศไทยเราพบว่าเยาวชนมีทักษะการอ่านไม่สูงมากนัก ร้านหนังสือหรือนิตยสารต่างทยอยกันปิดตัวลง เพราะผู้อ่านในไทยลงทุนซื้อหนังสือมาอ่านกันน้อยลง หันไปใช้สื่อสังคม และให้เหตุผลว่าอ่านจากสื่อสังคมสะดวกกว่าและมีจำนวนมากขึ้น ต่อไปก็หวังว่าสื่อสังคมจะมีอะไรที่ดีให้อ่านอย่างเป็นเรื่องเป็นราวและน่าเชื่อถือได้ หวังว่าประเทศไทย 4.0 จะเป็นทางออกและสนับสนุนให้เยาวชนไทยมีเวทีนำเสนอผลงานของตนเอง

    คำสำคัญ คือ เยาวชน ปัจจุบันเป้าหมายของเยาวชนส่วนใหญ่ของประเทศทั้งสายสามัญเน้นวิชาการ และสายอาชีพเน้นวิชาชีพ ก่อนจะเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา คือ การตั้งใจเรียนหนังสือเพื่อนำความรู้ไปใช้สอบเรียนต่อหรือสอบเข้าทำงาน การมีเวทีอาจไม่ใช่เป้าหมายสำคัญของการเรียนหนังสือ การใช้สื่อสังคมของเยาวชนก็พบว่าการนำเสนอผลงานอย่างจริงจังมีน้อย การจะนำเสนอผลงานนั้นต้องมีทักษะการเขียนในระดับหนึ่งที่ผ่านการฝึกฝนจนมีทักษะ ซึ่งต้องมีทักษะการอ่านเป็นพื้นฐาน เชื่อมโยงกับคำว่า สุ จิ ปุ ลิ แต่ประเทศไทยเราพบว่าเยาวชนมีทักษะการอ่านไม่สูงมากนัก ร้านหนังสือหรือนิตยสารต่างทยอยกันปิดตัวลง เพราะผู้อ่านในไทยลงทุนซื้อหนังสือมาอ่านกันน้อยลง หันไปใช้สื่อสังคม และให้เหตุผลว่าอ่านจากสื่อสังคมสะดวกกว่าและมีจำนวนมากขึ้น ต่อไปก็หวังว่าสื่อสังคมจะมีอะไรที่ดีให้อ่านอย่างเป็นเรื่องเป็นราวและน่าเชื่อถือได้ หวังว่าประเทศไทย 4.0 จะเป็นทางออกและสนับสนุนให้เยาวชนไทยมีเวทีนำเสนอผลงานของตนเอง

https://github.com/
https://www.classstart.org/
https://www.blogger.com/
https://www.wordpress.com/
https://www.wix.com/
https://www.gotoknow.org/
บทความเมื่อเร็ว ๆ นี้
611. เมื่อเพื่อนขอใช้โทรศัพท์เข้าสื่อสังคม
610. เวทีแสดงผลงานของเยาวชน
609. เทคโนโลยีที่ทำให้พัฒนาแอพบนมือถือง่ายขึ้น
608. เก็บเรื่องราวในความทรงจำได้สั้น
ค้นในบทความ
กลับหน้าแรก
Thaiall.com