thaiall logomy background ผลกระทบด้านจริยธรรมและสังคม
my town
ผลกระทบด้านจริยธรรมและสังคม

ผลกระทบด้านจริยธรรมและสังคม

จริย คือ ความประพฤติ ธรรม คือ คุณความดี จริยธรรม คือ กฎเกณฑ์ที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ
19. ผลกระทบด้านจริยธรรม และสังคม
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้เข้าใจความหมายของจริยธรรม
- เพื่อให้เข้าใจสิ่งที่ควรได้รับการป้องกัน
ประเด็นที่น่าสนใจ
คุณธรรม จริยธรรม
กฎหมาย
PDPA
playlist 49 clips : MIS 2555
playlist เฉลย office 150 ข้อ
term.csv
บทความ : บริหารธุรกิจ
Captain America: Civil War
Ethics
จริย คือ ความประพฤติ ธรรม คือ คุณความดี จริยธรรม คือ กฎเกณฑ์ที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
ทุกองค์การต้องมีการกำกับดูแลความประพฤติของบุคลากร มีกรรมการจัดทำจรรยาบรรณในวิชาชีพ เพื่อทำให้ บุคลากรทุกระดับ สามารถอยู่ร่วมกันในองค์การได้อย่างปกติสุข จำเป็นต้องมีกฎระเบียบ แนวปฏิบัติ จรรยาบรรณ จารีตประเพณี และวัฒนธรรม ที่ส่งเสริมการอยู่ร่วมกัน แล้วยังต้องแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคมภายนอก ถ้าผู้บริหารระดับสูงให้ความสำคัญ บุคลากรก็จะอยู่ในกรอบ และไม่ออกนอกลู่นอกทาง
ความหมาย จริยธรรม (Ethics) มาจาก จริย + ธรรม
จริยะ แปลว่า ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ
ธรรม แปลว่า คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักปฏิบัติในทางศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์
เมื่อเอาคำว่า จริยะ มาต่อกับคำว่า ธรรม เป็นจริยธรรม แปลเอาความหมายว่า กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรือหลักความจริงที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ
“ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
“ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
“ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า
(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
“ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
ประเด็นด้านจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี (PAPA) [1] - ความเป็นส่วนตัว (Privacy) .. เปิดเผยข้อมูลได้เท่าที่อนุญาต
- ความถูกต้อง (Accuracy) .. ผู้เผยแพร่ข้อมูลต้องมีความรับผิดชอบ
- ความเป็นเจ้าของ (Property) .. เป็นประเด็นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา / ลิขสิทธิ์
- การเข้าใช้ข้อมูล (Access) .. การกำหนดระดับความปลอดภัย
สิ่งที่ควรได้รับการป้องกัน [1] - ความลับทางการค้า (Trade Secrets)
- ลิขสิทธิ์ (Copyright) สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น
- สิทธิบัตร (Patents) หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์
# Software License คือ ซื้อลิขสิทธิ์มา และมีสิทธิใช้
# Shareware คือ ซอฟท์แวร์ให้ทดลองใช้ ก่อนตัดสินใจซื้อ
# Freeware คือ ซอฟท์แวร์ที่ใช้งานได้ฟรี
ความจำเป็นทางศีลธรรมทั่วไป (General moral imperative) [3] - ช่วยเหลือมนุษย์และสังคม
- หลีกเลี่ยงการทำอันตรายต่อผู้อื่น
- ซื่อสัตย์และประพฤติตนให้น่าไว้วางใจ
- ยุติธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ
- เคารพในสิทธิความเป็นเจ้าของร่วมทั้งลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรของผู้อื่น
- ให้เครดิตแก่เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา
- เคารพสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น
- รักษาความลับของผู้อื่น
- โดย สมาคมเครื่องจักรคำนวณ (ACM = Association of Computing Machinery)
จรรญาบรรณสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ - ไม่ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
- ไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
- ไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น
- ไม่โจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
- ไม่สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
- ไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
- ไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
- ไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
- ตระหนักในการกระทำของตนที่อาจกระทบต่อสังคม
- เคารพกฏ ระเบียบ กติกา และมีมารยาท
การป้องกันอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต [3] - การประเมินความเสี่ยง
- การบังคับใช้นโยบายความมั่นคงปลอดภัย
- การให้ความรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัย
- การป้องกัน
- การตรวจจับการบุกรุกและการโจมตี
- การตอบสนองการบุกรุกและการโจมตี
การป้องกันอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ - การว่าจ้างอย่างรอบคอบ และระมัดระวัง (Hire Carefully)
- ระวังพวกที่ไม่พอใจ (Beware of Malcontents)
- การแยกหน้าที่รับผิดชอบของพนักงาน (Separate Employee Functions)
- การจำกัดการใช้งานในระบบ (Restrict System Use)
- การป้องกันทรัพยากรข้อมูลด้วยรหัสผ่าน หรือการตรวจสอบการมีสิทธิใช้งานของผู้ใช้ (Protect Resources with Passwords or Other User Authonization Checks a Password)
- การเข้ารหัสข้อมูล และโปรแกรม (Encrypt Data and Programs)
- การเฝ้าดูการเคลื่อนไหวของระบบข้อมูล (Monitor System Transactions)
- การตรวจสอบระบบอย่างสม่ำเสมอ (Conduct Frequent Audits)
- การให้ความรู้ผู้ร่วมงานในเรื่องระบบความปลอดภัยของข้อมูล (Educate People in Security Measures)
ชนิดของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ - การโกงข้อมูล (Data Diddling) หรือ การฟิชชิ่ง (Phishing)
- เทคนิคแบบ Trojan hourse (Trojan Horse Technique)
- เทคนิคแบบ Salami (Salami Technique) เศษตังของผู้ใช้
- การดักข้อมูล (Trapdoor Routines)
- ระเบิดตรรกกะ (Logic Bombs)
- ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer Virus)
- เทคนิคแบบกวาดข้อมูล (Scavenging Techniques)
- การทำให้รั่ว (Leakage)
- การลอบดักฟัง (Eavesdropping)
- การขโมยต่อสาย (Wiretapping)
- โจรสลัดซอฟท์แวร์ (Software Piracy)
- การแอบเจาะเข้าไปใช้ข้อมูล (Hacking)
รูปแบบของปัญหาในการดูแลรักษาความปลอดภัย ความประมาทของผู้ใช้ (Human Carelessness)
- ป้อนข้อมูลผิดพลาด
- การทำงานผิดพลาด
- ใช้โปรแกรมผิดรุ่น
- โปรแกรมถูกทำลายเสียหายขณะใช้งาน
- จัดเก็บแฟ้มข้อมูลผิดที่
- ฮาร์ดแวร์ถูกทำลาย
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Crime)
- ระบบถูกวินาศกรรม
- เปลี่ยนข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต
- การจารกรรมระบบ
- การขโมยโปรแกรม
- การใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อขโมยเงินหรือสิ่งของ
หายนะทางธรรมชาติ และการเมือง (Natural or Political Disasters)
- การจลาจลหรือสงคราม
- แผ่นดินไหว ไฟไหม้ น้ำท่วม พายุ
การผิดพลาดของฮาร์ดแวร์/ซอฟท์แวร์ (Hardware/Software Failures)
- เครื่องมือทำงานผิดปกติ
- ข้อมูลถูกทำลายเนื่องจากความผิดปกติของฮาร์ดแวร์/ซอฟท์แวร์
- สายส่งข้อมูลไม่ดีเนื่องจากคุณภาพต่ำ
- ความเสียหายอันเกิดจากไม่ได้ป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์
- กำลังไฟเลี้ยงตก
ร่าง กฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ [1] - กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
- กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
- กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
- กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ
- กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
หลักการด้านจริยธรรม 1. Golden Rule
จงปรนนิบัติต่อผู้อื่น อย่างที่ท่านปรารถนาให้เขาปฏิบัติต่อท่าน
2. Immanuel Kant and Categorical Imperative
ถ้าการกระทำใดไม่เหมาะกับคนเพียงคนเดียว ก็ไม่ควรนำการกระทำนั้นไปใช้กับทุกคน
3. Descartes' Rule of Change
ถ้าการกระทำใดที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้อีกครั้ง การกระทำนั้นก็ไม่ควรจะเกิดขึ้นเลย การกระทำอย่างหนึ่งอาจนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยที่สามารถยอมรับได้ แต่ถ้าเกิดขึ้นบ่อยครั้งในระยะยาว การกระทำเช่นนั้นอาจยอมรับไม่ได้
4. Utilitarian Principle
บุคคลควรที่จะเลือกการกระทำที่เป็นค่านิยมที่มีระดับสูงกว่าก่อน โดยจะต้องมีการจัดลำดับความสำคัญของค่านิยม เพื่อที่จะเข้าใจผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้
5. Risk Aversion Principle
บุคคลควรที่จะแสดงการกระทำที่ทำให้เกิดอันตราย หรือเกิดการสูญเสียน้อยที่สุด
6. Ethical "No free lunch rule"
กฏจริยธรรมที่ไม่มีการเลี้ยงอาหารฟรี
สิ่งที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาจะต้องมีผู้คิดค้น ซึ่งบางครั้งผู้คิดค้นไม่ได้ประกาศอย่างเป็นเจ้าของ แต่ถ้ามีการแสดงความเป็นเจ้าของ ผู้ผลิตก็จะต้องการค่าชดเชยสำหรับการลงทุนที่ได้จากความคิด และแรงงาน
งานวิจัย เรื่องประสิทธิภาพกับหลักธรรมาภิบาล าก บทความวิจัย ของ จรัสศรี ต๊ะนนท์ , ฑัตษภร ศรีสุข และภูมิ ศรีสุข. (2563). การศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร สหกรณ์ออมทรัพย์ครูกรมสามัญศึกษา จังหวัดลำปาง จำกัด ภายใต้หลักธรรมาภิบาลสหกรณ์. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(2), 1-11. พบว่า มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 2 ข้อ คือ เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร และเพื่อศึกษาปัจจัยหลักธรรมาภิบาลที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
ลักธรรมาภิบาล ประกอบด้วย
1) หลักประสิทธิผล
2) หลักประสิทธิภาพ
3) หลักการตอบสนอง
4) หลักภาระรับผิดชอบ
5) หลักความโปร่งใส
6) หลักการมีส่วนร่วม
7) หลักการมอบอำนาจ
8) หลักนิติธรรม
9) หลักความเสมอภาค
ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ผลโดยรวมของปัจจัยหลักธรรมาภิบาลสหกรณ์ทั้ง 9 หลัก มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร โดยมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันใน "ระดับที่สูงมาก 8 ข้อ" และ หลักความเสมอภาคอยู่ในระดับ "ค่อนข้างสูง"
จริยธรรมสื่อ โดย จักร์กฤษ เพิ่มพูล # ก่อนที่จะทำความเข้าใจในเรื่องจริยธรรมสื่อมวลชน จะต้องเข้าใจบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของสื่อมวลชนก่อน เพราะเมื่อพูดถึงสิทธิ เสรีภาพ แต่เพียงประการเดียว ก็อาจตีความได้ว่า สื่อมวลชนมีสิทธิ เสรีภาพ ซึ่งรัฐธรรมนูญบัญญัติรับรองไว้ในมาตรา ๔๕ อย่างไร้ขอบเขต และอาจมีมากกว่าผู้ประกอบอาชีพอื่นๆในสังคม แต่แท้จริงแล้ว สื่อมวลชนไม่สามารถใช้พื้นที่สาธารณะในการนำเสนอข่าวสาร ข้อมูล หรือวิพากษ์วิจารณ์ ตามความต้องการ โดยไม่มีความรับผิดชอบและคำนึงถึงผลกระทบต่อบุคคลอื่นได้เลย
ความรับผิดชอบของนักข่าว
ในการปฏิบัติงานข่าวทุกแขนงย่อมมีโอกาสเกิดความผิดพลาดได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการทำงาน ในการนี้ นักข่าวพึงต้องมีความรับผิดชอบควบคู่ไปกับสิทธิเสรีภาพในการเสนอข่าวสาร ต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบที่สำคัญอย่างน้อย ๒ ประการ คือ
1.ความรับผิดชอบทางกฎหมาย
ในฐานะที่นักข่าวเป็นนายประตูข่าวสาร หรือเป็นด่านแรกในการทำงานข่าว ควรจะต้องศึกษากฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เช่น พระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ ประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดฐานหมิ่นประมาท โดยเฉพาะความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ พระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พระราชบัญญัติว่าด้วยคดีเด็กและเยาวชน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยความผิดฐานละเมิดต่อชื่อเสียง เกียรติยศ และทางทำมาหาได้ ทั้งนี้เพราะความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นข้อจำกัด ในการใช้สิทธิ เสรีภาพประการหนึ่ง ภายใต้หลักประกันสิทธิ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ
สำหรับความผิดทางกฎหมายที่นักข่าว หรือบรรณาธิการจะต้องเผชิญอยู่เสมอ คือความผิดฐานหมิ่นประมาท ละเมิดต่อชื่อเสียง เกียรติยศ และทางทำมาหาได้ของบุคคลอื่น ละเมิดอำนาจศาล นักข่าวจึงต้องระมัดระวังในการใช้ถ้อยคำ การรายงานข่าวที่ต้องเคารพหลักการพูดความจริง
2.ความรับผิดชอบทางจริยธรรม
ความรับผิดชอบทางจริยธรรม (ethics) เป็นความรับผิดชอบที่ต้องใช้จิตสำนึก พิจารณาและใคร่ครวญถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้ที่เป็นข่าว ญาติพี่น้อง และครอบครัว ในแง่ของการกำกับ ดูแลและควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชน ให้อยู่ในกรอบของจริยธรรมนั้น สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ จะเป็นองค์กรหลักในการควบคุมการทำงานของผู้ประกอบวิชาชีพ โดยมีข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพกำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้สมาชิกใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการทำงาน นอกจากนั้น องค์กรสื่อบางแห่ง เช่น กลุ่มเนชั่น โพสต์ ก็ได้ตราข้อกำหนด แนวทางประพฤติปฏิบัติในเรื่องจริยธรรมเป็นลายลักษณ์อักษรแสดงรายละเอียดของการประพฤติที่พึงกระทำหรืองดเว้น เพื่อให้พนักงานใช้เป็นหลักในการทำงานด้วย

คำว่า จริยธรรม มาจากรากของคำว่า “จริยศาสตร์” เป็นคำที่ พลตรีศาสตราจารย์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงบัญญัติขึ้นใช้เป็นครั้งแรก สำหรับคำว่า ethics และถือเป็นศัพท์บัญญัติในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน แต่คนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยและใช้คำว่า จริยธรรรมมากกว่าจริยศาสตร์ อาจสรุปได้ว่า จริยธรรม หมายถึง ความเชื่อ ค่านิยม และหลักศีลธรรม ซึ่งแต่ละสังคมกำหนดขึ้น เพื่อใช้ในการตัดสินว่า สิ่งใดถูก สิ่งใดผิด สิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ ทั้งนี้ หมายถึง แนวทางปฎิบัติของบุคคลในสาขาอาชีพต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อมวลชนที่สังคมเรียกร้องความรับผิดชอบในเชิงจริยธรรมสูง

ประเด็นปัญหาทางจริยธรรมที่มีการพูดถึงกันอยู่เสมอ ได้แก่ การรายงานข่าวที่มีผลกระทบต่อบุคคลอื่น ถึงแม้บางเหตุการณ์จะมีคุณค่าข่าวที่ควรนำเสนอ แต่ข่าวก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อบุคคลอื่นทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ ด้วยสไตล์การเขียน การเขียนเนื้อข่าวและความนำ การให้หัวข่าวหรือการใช้ภาพประกอบที่อาจสร้างความเจ็บปวดซ้ำๆให้แก่ผู้เคราะห์ร้ายที่เป็นข่าวได้ หลายครั้งที่สื่อมวลชนถูกวิพากษ์วิจารณ์ และมีเสียงเรียกร้องให้ใช้จิตสำนึกชั่งน้ำหนักระหว่างสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับบุคคล นักข่าวจึงต้องใช้วิจารณญาณในการคัดเลือก และรายงานข่าวด้วย
ในหนังสือคู่มือจริยธรรม สำหรับทุกสื่อในเครือเนชั่นฯ Nation Way ผิดจากนี้ไม่ใช่เรา หมวด ๒ ว่าด้วยจริยธรรมของสื่อในเครือเนชั่นฯ ข้อ ๒.๑๐ เขียนไว้ว่า ในการเสนอข่าวหรือภาพใด ๆ ต้องหลีกเลี่ยงการล่วงละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลที่ตกเป็นข่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องให้ความคุ้มครองอย่างเคร่งครัดต่อสิทธิมนุษยชนของเด็ก สตรี และผู้ด้อยโอกาส
ตัวอย่างเช่น นายตำรวจคนหนึ่ง นำผู้ต้องหาคดียาเสพติดมาแถลงข่าว โดยมีการเขียนข้อความตั้งวางไว้หน้าผู้ต้องหาว่า “อมนุษย์” ซึ่งแปลว่า ผู้ที่ไม่ใช่คน หมายถึงภูตผีปีศาจ การกระทำของตำรวจนายนั้นถือว่าเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ต้องหา เช่นเดียวกับ หัวข่าวของหนังสือพิมพ์ เมื่อมีการจับกุมตัวผู้กระทำความผิดอาญา หนังสือพิมพ์ ก็ใช้หัวข่าวตัดสินความผิดของเขาทันที เช่น พาดหัว หรือบรรยายภาพว่า ไอ้โหด เดนนรก ทั้งที่ในทางกฎหมาย ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า เขาเป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าจะมีคำพิพากษาของศาลว่า เขาเป็นผู้กระทำผิดจริง ฉะนั้น นักข่าวหรือบรรณาธิการ พึงหลีกเลี่ยงที่จะตกเป็นเครื่องมือในการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เช่นนั้น
ในหนังสือคู่มือจริยธรรม หมวดเดียวกัน ข้อ ๒.๑๑ ต้องไม่เสนอภาพที่อุจาด ลามกอนาจาร น่าหวาดเสียว หรือที่อาจละเมิดศีลธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคม ในช่วงเริ่มต้นของ คม ชัด ลึก มีข้อตกลงร่วมกันประการหนึ่งว่า หนังสือพิมพ์หัวสีฉบับนี้ จะไม่มีภาพที่สยอง และสยิว
คำว่าไม่สยอง หมายถึง หนังสือพิมพ์จะไม่ตีพิมพ์ภาพคนตาย ซึ่งเคยเป็นขนบของหนังสือพิมพ์หัวสียุคก่อนนั้น ที่นิยมนำภาพศพที่แสดงถึงสภาพน่าอเน็จ อนาจ มาตีพิมพ์ไว้ที่หน้า ๑ เพื่อจูงใจให้คนอ่านตัดสินใจซื้อหนังสือพิมพ์ ส่วนคำว่า ไม่สยิว หมายถึงหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ จะไม่มีภาพโป๊ อนาจาร หรือภาพที่ส่อไปในทางเพศ นี่ก็เป็นหลักสำคัญอีกข้อหนึ่งในเรื่องจริยธรรม ในการนำเสนอข่าว

วิธีการหาข่าว
ในการทำข่าว นักข่าวควรต้องคำนึงถึงวิธีการได้มาซึ่งข้อมูล ข่าวสารนั้น เช่น การบุกรุกเข้าไปในบ้านของแหล่งข่าว การดักฟังหรือแอบบันทึกเสียงการติดต่อ สนทนาของผู้อื่น การสะกดรอยติดตาม และแอบถ่ายด้วยอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสูง การลอบถ่ายเอกสารข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล เป็นวิธีการที่ไม่เป็นธรรม ที่เข้าไปละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของบุคคลอื่น รวมทั้งการไม่แสดงตัวว่า เป็นนักข่าวขณะปฏิบัติหน้าที่
คู่มือจริยธรรมของสื่อในเครือเนชั่น หมวด ๑ ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ ข้อ ๑.๖ เขียนว่า “ต้องใช้วิธีที่สุภาพและสุจริตในการหาข้อมูล ข่าวสาร และภาพต่างๆ” ข้อ ๑.๘ เขียนว่า “ละเว้นการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เว้นแต่กรณีที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นการกระทำไปเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ”

อคติส่วนตัวของนักข่าว
นักข่าวก็เป็นเช่นเดียวกับคนทั่วไป คือ อาจมีความเชื่อ หรือทัศนคตืในเรื่องต่างๆ เช่น แนวคิดทางการเมือง ศาสนา หรือมีความรู้สึกไม่พึงพอใจแหล่งข่าว ไม่ถูกชะตา หรืออารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ นอกเหนือเหตุผล ซึ่งในการทำข่าว นักข่าวจะต้องแยกแยะอคติส่วนตัวออกจากการรายงานข่าว

สิทธิส่วนบุคคล
สิทธิส่วนบุคคล (Right to Privacy) เป็นเรื่องที่คาบเกี่ยวระหว่างกฎหมายและจริยธรรม บ่อยครั้งที่นักข่าวจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า นำเสนอข่าวที่เป็นเรื่องส่วนตัวของบุคคลต่างๆในสังคม โดยเฉพาะคนที่มีชื่อเสียง หรือบุคคลสาธารณะ (Public Figure) เช่น นักการเมือง ดารานักแสดง นักร้อง นักข่าวมักจะเฝ้าติดตามเสนอข่าว ทั้งที่เรื่องราวส่วนตัวของเขาไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะเลย
เรื่องของสิทธิส่วนบุคคล นับว่าเป็นปัญหาใหญ่มากขึ้น เนื่องจากปัญหาการตีความว่า แค่ไหน เพียงใดที่นักข่าวจะนำเสนอได้ในฐานะบุคคลสาธารณะ เพราะความเป็นบุคคลสาธารณะจะทำให้ความเป็นส่วนตัว (Privacy) น้อยลง แต่โดยหลักจริยธรรม บุคคลเหล่านี้ก็ยังได้รับความคุ้มครองในการใช้ชีวิตส่วนตัวอยู่ดี ดังนั้นนักข่าวต้องแยกให้ออกระหว่างขอบเขตสิทธิส่วนบุคคลกับสิทธิในการรับรู้ของประชาชน โดยนักข่าวต้องยึดถือหลักการรายงานข่าวด้วยความรับผิดชอบทางจริยธรรม คือ มีความยุติธรรมต่อบุคคลที่ตกเป็นข่าว ข้อมูลและข้อเท็จจริงที่นำเสนอในข่าวต้องมีความถูกถ้วน
ตัวอย่างที่เห็นชัดเจน คือการเสนอข่าวบันเทิง ผู้บริโภคข่าวสารมักเข้าใจว่า ข่าวบันเทิง คือข่าว เรื่องราวชีวิตครอบครัวของดารา ข่าวรักๆใคร่ๆ ซึ่งในความเป็นจริง นั่นเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลทั้งสิ้น นิยามของความเป็นข่าวบันเทิง ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องบทบาทการแสดง หรือการที่ดาราบางคน เป็นตัวอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิต มีความใส่ใจในการศึกษา หรือมีจิตสาธารณะในการช่วยสังคม กลับปรากฎในพื้นที่ข่าวบันเทิงน้อยมาก

จริยธรรมในการสื่อข่าวและการเขียนข่าว
ในการสื่อข่าวและการเขียนข่าว ภาระหน้าที่ของนักข่าวในฐานะผู้แจ้งข่าวสาร คือการนำข้อเท็จจริงสู่สาธารณชน (The duty of journalists is to serve the truth) ดังนั้น นักข่าวควรต้องมีจริยธรรมในการสื่อข่าว และเขียนข่าว ดังนี้
1. ความเที่ยงธรรมและความเป็นภววิสัยในการรายงานข่าว
ตามหลักการสื่อข่าวได้มีข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติข่าวที่ดีไว้ว่า จะต้องมีความเป็นภววิสัย ปราศจากอคติและความรู้สึกส่วนตัวของนักข่าว ข่าวที่นำเสนอจะต้องเสนอเฉพาะข้อเท็จจริง มีความเที่ยงธรรม สมดุล ในกรณีที่เกิดการขัดแย้งเกิดขึ้น ต้องให้โอกาสในการชี้แจง และแสดงข้อเท็จจริงทั้งสองฝ่าย ไม่ว่านักข่าวจะเห็นพ้องกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้เพื่อความเป็นกระจกเงาสะท้อนภาพสังคมที่ชัดเจน เที่ยงตรง ไม่บิดเบี้ยว
2. ความเป็นส่วนบุคคลกับสิทธิในการรับรู้ของผู้บริโภคข่าวสาร
ปัญหาความเป็นส่วนตัวกับสิทธิในการรับรู้ของผู้รับสาร นักข่าวมักถูกท้วงติงจากสังคมว่า ปฏิบัติหน้าที่ล่วงล้ำความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น หรืออาจจะเป็นความรู้สึกที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในลักษณะมองต่างมุมระหว่างสังคม กับนักข่าว ซึ่งนักข่าวควรมีวิจารณญาณในการไตร่ตรอง ชั่งน้ำหนักในความเหมาะควรขณะปฏิบัติงานอยู่เสมอว่า การเสนอข่าวและภาพผู้ถูกคุกคามทางเพศ หรือการระบุชื่อบุคคลที่มีความสัมพันธ์เป็นญาติมิตรทำให้สามารถเข้าใจได้ว่า ผู้ถูกคุกคามทางเพศเป็นใคร การนำเสนอภาพเปลือยของผู้ตาย หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ ๒ ฉบับ ฉบับหนึ่งเสนอภาพเปลือยหญิงสาวที่ถูกข่มขืนในที่เกิดเหตุ ภาพเปลือยเดวิด คาราดีน ดาราฮอลลีวู๊ดที่ฆ่าตัวตายในตู้เก็บเสื้อผ้าโรงแรมปาร์คนายเลิศ อีกฉบับหนึ่งเสนอภาพเปลือยหญิงชาวต่างชาติถูกคลื่นสึนามิ พัดพาขึ้นไปค้างอยู่บนกิ่งต้นโกงกางในลักษณะที่อุจาดตา นี่ก็เป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ถึงแม้ว่าเธอทั้งสอง และเขาจะเสียชีวิตแล้ว
3. การใช้แหล่งข่าวปิด (Unidentified Sources)
บางครั้งนักข่าวอาจต้องใช้แหล่งข่าวปิด กรณีที่เป็นข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน ซึ่งไม่สามารถเปิดเผยคุณลักษณะ (Identification) ของแหล่งข่าวได้ เนื่องเพราะอาจส่งผลต่อความปลอดภัยของแหล่งข่าวและครอบครัว ซึ่งหากนักข่าวละเมิดสิทธิของเขาในการป้องกันตัวเองเท่ากับทำผิดหน้าที่ แต่ในขณะเดียวกัน การใช้แหล่งข่าวปิดมากจนเกินไปอาจถูกตั้งข้อสังเกตหรือวิพากษ์วิจารณ์จากคนอ่านได้ ว่าอาจนำไปสู่การบิดเบือน หรือทำให้การนำเสนอข่าวคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้ เพราะคนอ่านไม่แน่ใจว่า แหล่งข่าวนั้นมีตัวตนอยู่จริงหรือไม่
ในอีกแง่มุมหนึ่ง แหล่งข่าวอาจมีเจตนาให้ข้อมูลหรือความเห็นที่บิดเบือนเพื่อประโยชน์ส่วนตัว หรือให้ร้ายแก่ผู้อื่น ในกรณีเช่นนี้ อาจมีผลถึงความน่าเชื่อถือได้ เพื่อไม่ให้สูญเสียความเชื่อถือ นักข่าวจึงไม่ควรเสนอข่าวที่เลื่อนลอย ปราศจากที่มา ข่าวลือหรือแผ่นปลิว ควรระบุชื่อบุคคลที่ให้สัมภาษณ์หรือให้ข้อมูลอย่างชัดเจน เว้นแต่จะมีเหตุอันควรปกปิดเพื่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยของแหล่งข่าว โดยข่าวสารนั้นเป็นประโยชน์ และสิทธิในการรับรู้ข่าวสารของสาธารณชนด้วย หรืออาจใช้วิธีอธิบายภูมิหลังของแหล่งข่าว เพื่อให้ผู้อ่าน ผู้ชมและผู้ฟังทราบความสัมพันธ์ หรือบทบาท ทัศนคติ แนวความคิดของแหล่งข่าว ต่อเหตุการณ์หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
คู่มือจริยธรรมของสื่อในเครือเนชั่น หมวด ๒ ข้อ ๒.๘ เขียนว่า “ต้องไม่เสนอข่าวอย่างเลื่อนลอยปราศจากแหล่งที่มาที่ชัดเจน ข่าวลือหรือข่าวจากแผ่นปลิว พึงระบุชื่อบุคคลที่ให้สัมภาษณ์ หรือบุคคลที่ให้ข้อมูลอย่างเปิดเผย เว้นแต่จะมีเหตุอันควรปกปิด เพื่อสวัสดิภาพ และความปลอดภัยของแหล่งข่าว และต้องเป็นประโยชน์ต่อสิทธิในการรับรู้ข่าวสารของสาธารณชน” ส่วนข้อ ๒.๙ เขียนว่า “ต้องปกปิดชื่อและฐานะของบุคคลที่ให้ข่าวไว้เป็นความลับ หากได้ให้คำมั่นแก่แหล่งข่าวนั้นไว้ เช่นเดียวกับต้องปกปิดชื่อจริงของ ผู้ใช้ “นามปากกา” หรือ “นามแฝง” ในการเขียนหรือรายงานด้วย”
การเปิดเผยชื่อและฐานะของบุคคลที่ให้ข่าว ในบางกรณี อาจมีผลถึงสวัสดิภาพและความปลอดภัยของเขาได้ เช่น เขาเป็นพยานสำคัญในคดี การเปิดเผยชื่อ อาจทำให้จำเลยหรือฝ่ายตรงข้ามถูกปองร้ายได้ หรือในบางกรณี การปกปิดชื่อจะทำให้เขาไม่ต้องเดือดร้อน กรณีที่ข้อมูล คำให้สัมภาษณ์จะเป็นผลต่ออาชีพการงานของเขา
4. การรับของขวัญจากแหล่งข่าว
แม้ว่าการรับของขวัญจากแหล่งข่าว จะเป็นสิ่งที่นักข่าวส่วนใหญ่เห็นว่า เป็นการกระทำที่ผิดหลักจริยธรรม แต่ก็มีข้อถกเถียงกันว่า ของขวัญมีมูลค่าเท่าใดควรปฏิเสธ องค์กรข่าวบางแห่ง เช่น กลุ่มเนชั่น เขียนชัดเจนในประมวลจริยธรรมว่า ปฏิทิน ดินสอ พวงกุญแจ เป็นของขวัญที่มีค่าทางเงินเล็กน้อย สามารถรับได้ เพราะการปฏิเสธอาจทำให้ผู้ให้รู้สึกกระอักกระอ่วนใจ แต่ถ้าเป็นของขวัญที่มีราคาสูง ควรส่งคืนทันที พร้อมอธิบายถึงหลักปฏิบัติและนโยบายของบริษัทอย่างสุภาพ อย่างไรก็ตาม นักข่าวต้องใช้วิจารณญาณ และสามัญสำนึกของการเป็นสื่อมวลชนที่ต้องทำหน้าที่เพื่อสังคมมากกว่าหวังประโยชน์ส่วนตัว
คู่มือจริยธรรม ของสื่อในเครือเนชั่น หมวดที่ ๖ ว่าด้วยสิทธิพิเศษและผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest) ข้อ ๖.๓ การรับของขวัญที่มีมูลค่า เขียนไว้ว่า ผู้สื่อข่าวไม่ควรรับของขวัญที่มีมูลค่าสูง หรือเรียกร้องการยกเว้นค่าที่พัก หรือขอราคาพิเศษในการซื้อสินค้า หรือการใช้บริการ หรือร้องขอสิทธิพิเศษอื่นใดที่ประชาชนทั่วไปไม่ได้รับ
อย่างไรก็ดีหากเป็นของชำร่วยที่แจกตามงานแถลงข่าวที่มูลค่าไม่สูง เช่น พวงกุญแจ ที่ใส่ดินสอ ปฏิทิน และอื่นๆ อาจจะรับไว้ได้ แต่ต้องใช้วิจารณญาณและสามัญสำนึกของการเป็นสื่อมวลชน ที่ต้องทำหน้าที่เพื่อสังคมมากกว่าหวังประโยชน์ส่วนตน
5. การไม่แสดงตัวว่าเป็นนักข่าวขณะปฏิบัติหน้าที่ หรือแสดงตัวเป็นนักข่าวเพื่อใช้อภิสิทธิ์ หลีกเลี่ยงความผิด
แม้ว่าการไม่แสดงตัวว่าเป็นนักข่าว ขณะกำลังทำข่าวจะเป็นข้อยกเว้น ในกรณีที่จะต้องมีการรวบรวมข้อมูล ข่าวสารในการทำข่าวเชิงสืบสอบ สอบสวน เนื่องจากการเปิดเผยตัวต่อแหล่งข่าวอาจทำให้ไม่ได้รับความร่วมมือ หรืออาจเกิดอันตรายได้ แต่ตามหลักจริยธรรมในการทำข่าวแล้วไม่ว่านักข่าวจะกำลังทำข่าวลักษณะใดก็ตาม นักข่าวต้องแนะนำตัวเองและแจ้งถึงวัตถุประสงค์ ของการสัมภาษณ์ให้แหล่งข่าวทราบ ไม่ควรทำให้แหล่งข่าวประหลาดใจว่า ทำไมคำพูดของเขาจึงไปปรากฏเป็นข่าวได้
ในอีกกรณีหนึ่ง การแสดงตัวเป็นนักข่าว เพื่อใช้อภิสิทธิ์ในการได้รับบริการสาธารณะก่อนบุคคลอื่นๆ หรือการใช้ความเป็นนักข่าวอวดอ้างหรืออาศัยตำแหน่งหน้าที่ เพื่อเรียกร้องสิทธิหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ไม่ชอบธรรม ก็ถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดกับหลักจริยธรรมด้วย
6. การขัดกันในด้านผลประโยชน์ สิทธิพิเศษและผลประโยชน์ทับซ้อน
ปัญหาการทำข่าวโดยมีการแอบแฝงในเรื่องผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม หรือเรียกว่า ผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest) มักจะถูกท้วงติงจากสังคมเรื่องความเป็นกลางในการนำเสนอข่าวของนักข่าวอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการรับเชิญไปทำข่าวต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ ตามคำเชิญของแหล่งข่าว การได้ข้อเสนอเป็นหุ้นราคาพาร์หรือหุ้นราคาถูกเป็นค่าตอบแทน การเขียนคำชมสินค้าหรือบริการ หรือกรณีที่นักข่าวมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบุคคลในแวดวงต่างๆ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ โดยการเป็นสมาชิก กรรมการ หรือผู้ถือหุ้น
แนวทางในการปฏิบัติของนักข่าวในเรื่องนี้ คือ ในการรายงานข่าวหรือบทความอันสืบเนื่องจากการที่ได้รับเชิญจากแหล่งข่าว ในการรายงานข่าวควรมีการระบุให้ชัดเจนไว้ท้ายบทความ หรือรายงานชิ้นนั้นว่า ข้อมูลมาจากที่ใด และใครเป็นผู้จัดการในการเดินทางครั้งนั้น หรือกรณีที่ได้รับมอบหมายให้ไปทำข่าวที่นักข่าวมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องด้วย บรรณาธิการอาจเปลี่ยนให้นักข่าวคนอื่นไปทำข่าวแทน
7. ความสงสาร หรือเห็นใจในการนำเสนอข่าว
ปัญหาอีกประการหนึ่งที่กระทบต่อจริยธรรมในการสื่อข่าวและเขียนข่าว คือ ความอึดอัดใจของนักข่าวกับแหล่งข่าวที่สนิทสนมหรือใกล้ชิด และนักข่าวถูกขอร้องให้ปกปิดหรือไม่ให้ระบุชื่อแหล่งข่าว ญาติมิตร หรือเพื่อนพ้องที่ตกเป็นข่าวเนื่องจากตายโดยผิดธรรมชาติ หรือมีการกระทำที่น่าละอายในการเสนอข่าว หรือขอให้ปิดข่าว เพราะกลัวว่าจะทำให้ตนเองเสื่อมเสียชื่อเสียงหรืออับอาย โดยนักข่าวเองก็รู้สึกอึดอัด และเกิดความขัดแย้งต่อภาระหน้าที่ของตน ขณะเดียวกันก็กลัวว่าหากไม่กระทำตามที่แหล่งข่าวขอร้อง ต่อไปอาจจะไม่ได้รับความร่วมมือในครั้งต่อไปอีก แนวทางแก้ไขคือ นักข่าวควรปรึกษากับบรรณาธิการ เพื่อให้นักข่าวคนอื่นทำข่าวนั้นแทน
8. การนำเสนอข้อมูลที่กระทบกระเทือนความมั่นคงของชาติ เศรษฐกิจ
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ.๒๕๔๐ เปิดโอกาสให้สาธารณชนเข้าตรวจสอบเอกสารราชการได้ แต่ข้อมูลความลับของราชการ หากเปิดเผยอาจมีผลต่อความมั่นคงของชาติได้ หรือการรู้ข้อมูลการลดค่าเงินบาท และนำไปเผยแพร่ก่อนประกาศกระทรวงการคลัง ทำให้มีการใช้ข้อมูลภายในไปเป็นประโยชน์ในการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยน
9. การเสนอข่าวที่พาดพิงถึงสถาบันกษัตริย์
สถาบันกษัตริย์สำหรับประเทศไทยเป็นสถาบันสูงสุดที่ผู้คนให้การเคารพเทิดทูน การเสนอข่าวสารเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงเป็นเรื่องที่อ่อนไหวอย่างยิ่ง และส่งผลกระทบต่อจิตใจของคนในวงกว้าง การเสนอข่าวเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ไม่ระมัดระวัง ไม่เพียงมีผลให้ต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายเท่านั้น หากยังนำมาซึ่งความแตกแยกของคนในชาติด้วย
ในสถานการณ์ความขัดแย้งของคนในสังคมปัจจุบัน มักมีการนำเรื่องสถาบัน มาเป็นเครื่องมือโจมตีกันเสมอ สื่อจึงพึงไม่ประมาท และใคร่ครวญก่อนเขียนว่าจะกลายเป็นสื่อในการขยายความขัดแย้ง หรือต้องรับผิดในข้อหาหมิ่นสถาบันหรือไม่
จริยธรรมในการสื่อข่าวและเขียนข่าวเป็นเรื่องที่นักข่าวต้องใช้วิจารณญาณและสำนึกของตนเอง ชั่งน้ำหนักระหว่างความเหมาะควร กับสิทธิเสรีภาพที่ได้รับ ด้วยเหตุว่า การกระทำผิดทางจริยธรรมจะไม่มีการกำหนดบทลงโทษไว้อย่างชัดเจน แต่นักข่าวที่ไม่มีจริยธรรมมักจะถูกตำหนิจากสาธารณชน และผู้ร่วมวิชาชีพ
+ กรณีตัวอย่าง ราชประสงค์ ข่าวยกทัพข่าวเช้า ทางช่อง PPTV HD36 ดำเนินรายการโดย บรรจง ชีวมงคลกานต์//รวิฌา ทังสุบุตร//กาลเวลา เสาเรือน
จรรยาบรรณสื่อสารมวลชนสากล # 1. ต้องกระทำตนให้อยู่ในขอบเขตของความเหมาะสมมีกริยาดี (The bounds of decency)
2. ไม่สร้างข่าวขึ้นเอง (Do not attempt to make news)
3. ต้องเสนอข้อเท็จจริงทั้งหมดแก่ผู้รับสาร (The truth and the whole truth)
4. ไม่ก้าวก่ายสิทธิส่วนตัวของบุคคลอื่น (Do not to invade the private rights)
5. ไม่บังคับบุคคลให้พูด (Do not to force individuals to speak)
6. ซื่อสัตย์ต่อบุคคลที่ต่อสู้เพื่อสังคม (Play fair with a person against whom derogatory charges)
7. ซื่อสัตย์ต่อบุคคลที่นำมากล่าวถึงในคอลัมน์ (Play fair with persons quoted in its columns)
8. รักษาไว้ซึ่งความลับของแหล่งข่าว (Keep the confidence of its news sources)
9. ไม่ปิดบังอำพรางข่าวที่นำเสนอ (Do not suppress news)
10.ไม่ควรขายข่าว ขายคอลัมน์เพื่อเงิน หรือความพอใจส่วนตัว (Do not "sell" its news colums for money or courtesies)
11. ละเว้นจากการเข้าร่วมพรรคการเมือง (Refrain from allowing party politics)
12. ต้องบริการคนส่วนรวม มิใช่บริการคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง (Serve the whole society, not just one "class")
13. ช่วยต่อสู้และปราบปรามอาชญากร (Fight and discourage crime)
14. ต้องเคารพ และช่วยผดุงกฏหมายบ้านเมือง (Must respect and aid the law and the courts)
15. สร้างความสัมพันธ์อันดีแก่ชุมชน (Seek to build its community)
16. ไม่ทำลายความสัมพันธ์ระหว่างญาติและเพื่อนของผู้อื่น (Not injure the relatives and friends)
17. คำนึงว่าการหย่าร้าง การฆ่าตัวตายนั้น เป็นปัญหาสังคมสิ่งหนึ่งไม่ควรเสนอข่าวไปในเชิงไม่สุภาพ (To recognize divorce, suicide as an unfortunate social problem)
18. อย่ากล่าวโจมตีคู่แข่ง (Do not attack on competitive)
19. อย่าหัวเราะเยาะความวิกลจริต จิตทราม หรือพลาดโอกาสของบุคคล (Do not ridicule the insane or the feebleminded or misfortunes)
20. เคารพนับถือวัด โบสถ์ เชื้อชาติ และเผ่าพันธุ์ของบุคคล (Respect churches, nationalities and races)
21. หน้ากีฬาควรเขียนถึงทุกๆ คน (Sports page is written for everybody)
22. แก้ไขข้อผิดพลาดที่พบในทันที (Be prompt in correcting errors)
23. จำไว้ว่าข่าวที่นำเสนอนั้น มีเยาวชนชายหญิงอ่านด้วย (Remember that the new is read by young boys and girls)
จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพการสาธารณสุข ข้อบังคับสภาการสาธารณสุขชุมชน ว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. 2561
หมวด 2 การประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน
ส่วนที่ 1 การปฏิบัติตนต่อผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการ
ข้อ 7 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องรักษามาตรฐานของวิชาชีพที่สภาการสาธารณสุขชุมชน
ประกาศกำหนดโดยไม่เรียกร้องสินจ้างรางวัลพิเศษนอกเหนือจากค่าบริการที่ควรได้รับตามปกติ
ข้อ 8 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่จูงใจหรือชักชวนให้ผู้ป่วยมารับบริการทางวิชาชีพเพื่อผลประโยชน์ของตน
ข้อ 9 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่เรียกร้องขอรับผลประโยชน์เป็นค่าตอบแทนเนื่องจากการรับหรือส่งผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการสาธารณสุขชุมชน
ข้อ 10 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องปฏิบัติต่อผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการโดยสุภาพและปราศจากการบังคับขู่เข็ญ
ข้อ 11 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่หลอกลวงผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการให้หลงเข้าใจเพื่อผลประโยชน์ของตน
ข้อ 12 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่ใช้อุบายด้วยประการใด ๆ โดยปราศจากเหตุผลอันสมควรเพื่อจะให้ตนได้รับผลประโยชน์นอกเหนือจากที่ผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการได้ตกลงตามสัญญา
ข้อ 13 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่ประกอบวิชาชีพโดยไม่ค านึงถึงความปลอดภัยและความสิ้นเปลืองของผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการ
ข้อ 14 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่สั่งหรือสนับสนุนรวมทั้งใช้อุปกรณ์ในการให้บริการโดยไม่เปิดเผยส่วนประกอบ
ข้อ 15 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่ออกใบรับรองอันเป็นเท็จโดยเจตนา หรือให้ความเห็นโดยไม่สุจริตในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวกับวิชาชีพของตน
ข้อ 16 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่เปิดเผยความลับของผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการซึ่งตนทราบมาเนื่องจากการประกอบวิชาชีพ เว้นแต่ด้วยความยินยอมของผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการ หรือเมื่อต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือตามหน้าที่
ข้อ 17 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่ปฏิเสธการช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในระยะอันตรายจากการเจ็บป่วยเมื่อได้รับคำขอร้องและตนอยู่ในฐานะที่จะช่วยได้
ข้อ 18 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่จงใจละเว้นหน้าที่ที่ควรกระท าอันเกี่ยวหรือปิดบังข้อความที่ควรแจ้งให้ผู้รับบริการทราบ
ข้อ 19 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่ประกอบการในทางสาธารณะหรือสถานที่สาธารณะ เว้นแต่ในเหตุฉุกเฉินในการปฐมพยาบาลหรือในการปฏิบัติหน้าที่การงานของกระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ ตามรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือสภากาชาดไทย
ข้อ 20 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่ใช้หรือสนับสนุนให้มีการประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน การประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์หรือการประกอบโรคศิลปะโดยผิดกฎหมาย
ส่วนที่ 2 การปฏิบัติต่อผู้ร่วมวิชาชีพ
ข้อ 21 ผู้ประกอบวิชาชีพพึงยกย่องให้เกียรติและเคารพในศักดิ์ศรีซึ่งกันและกัน รวมทั้งสร้างความสามัคคีในหมู่ผู้ร่วมวิชาชีพ
ข้อ 22 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่เอาผลงานของผู้ประกอบวิชาชีพอื่นมาเป็นของตน
ข้อ 23 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่ให้ร้าย หรือกลั่นแกล้งผู้ร่วมวิชาชีพด้วยกัน
ข้อ 24 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่ชักจูงผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการของผู้อื่นมาเป็นของตน
ส่วนที่ 3 การปฏิบัติต่อผู้ร่วมงาน
ข้อ 25 ผู้ประกอบวิชาชีพพึงยกย่องให้เกียรติและเคารพในศักดิ์ศรีของผู้ร่วมงาน
ข้อ 26 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่ให้ร้าย หรือกลั่นแกล้งผู้ร่วมงาน
ข้อ 27 ผู้ประกอบวิชาชีพพึงส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ร่วมงานมีโอกาสเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง
ส่วนที่ 4 จรรยาบรรณต่อสาธารณะ
ข้อ 28 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องประกอบวิชาชีพโดยให้ความส าคัญต่อความปลอดภัยสุขอนามัยและสวัสดิภาพของสาธารณชน ตลอดจนทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อมอันเป็นสาธารณะ
https://dla.wu.ac.th/elaw/2339/
จรรยาบรรณพยาบาล ฉบับพ.ศ. ๒๕๔๖ Blood pressure measurement มาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ โดยมติคณะกรรมการอํานวยการในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๔๖ วันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๖ ให้การรับรอง จรรยาบรรณพยาบาล ฉบับพ.ศ. ๒๕๔๖ ที่ได้ปรับปรุงแก้ไขจากจรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลที่ได้ประกาศใช้เป็นฉบับแรกในพ.ศ. ๒๕๒๘ จึงขอประกาศใช้จรรยาบรรณพยาบาลฉบับพ.ศ. ๒๕๔๖ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อที่ 1 พยาบาลรับผิดชอบต่อประชาชนผู้ต้องการการพยาบาลและบริการสุขภาพ

พยาบาลรับผิดชอบต่อประชาชนผู้ต้องการการพยาบาลและบริการสุขภาพ ทั้งต่อปัจเจกบุคคล ครอบครัว ชุมชนและระดับประเทศ ในการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันความเจ็บป่วย การฟื้นฟูสุขภาพและการบรรเทาความทุกข์ทรมาน

ข้อที่ 2 พยาบาลประกอบวิชาชีพด้วยความเมตตากรุณาเคารพในคุณค่าของชีวิตความมีสุขภาพดีและความผาสุกของเพื่อนมนุษย์

พยาบาลประกอบวิชาชีพด้วยความเมตตากรุณา เคารพในคุณค่าของชีวิต ความมีสุขภาพดีและความผาสุกของเพื่อนมนุษย์ ช่วยให้ประชาชนดํารงสุขภาพไว้ในระดับดีที่สุด ตลอดวงจรของชีวิตนับแต่ปฏิสนธิทั้งในภาวะสุขภาพปกติ ภาวะเจ็บป่วย ชราภาพจนถึงระยะสุดท้ายของชีวิต

ข้อที่ 3 พยาบาลมีปฏิสัมพันธ์ทางวิชาชีพกับผู้ใช้บริการ ผู้ร่วมงาน และประชาชนด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีและสิทธิมนุษยชนของบุคคล

พยาบาลมีปฏิสัมพันธ์ทางวิชาชีพกับผู้ใช้บริการ ผู้ร่วมงาน และประชาชนด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีและสิทธิมนุษยชนของบุคคล ทั้งในความเป็นมนุษย์ สิทธิในชีวิตและสิทธิในเสรีภาพเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว การพูด การแสดงความคิดเห็น การมีความรู้ การตัดสินใจ ค่านิยม ความแตกต่างทางวัฒนธรรมและความเชื่อทางศาสนา ตลอดจนสิทธิในความเป็นเจ้าของและความเป็นส่วนตัวของบุคคล

ข้อที่ 4 พยาบาลยึดหลักความยุติธรรมและความเสมอภาคในสังคมมนุษย์

พยาบาลยึดหลักความยุติธรรมและความเสมอภาคในสังคมมนุษย์ ร่วมดําเนินการเพื่อช่วยให้ประชาชนที่ต้องการบริการสุขภาพ ได้รับความช่วยเหลือดูแลอย่างทั่วถึง และดูแลให้ผู้ใช้บริการได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสมกับความต้องการอย่างดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ด้วยความเคารพในคุณค่าของชีวิตศักดิ์ศรีและสิทธิในการมีความสุขของบุคคลอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่จํากัดด้วยชั้น วรรณะ เชื้อชาติ ศาสนา เศรษฐานะ เพศ วัย กิตติศัพท์ ชื่อเสียง สถานภาพในสังคม และโรคที่เป็น

ข้อที่ 5 พยาบาลประกอบวิชาชีพโดยมุ่งความเป็นเลิศ

พยาบาลประกอบวิชาชีพโดยมุ่งความเป็นเลิศปฏิบัติการพยาบาล โดยมีความรู้ในการกระทําและสามารถอธิบายเหตุผลได้ในทุกกรณี พัฒนาความรู้และประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง รักษาสมรรถภาพในการทํางาน ประเมินผลงานและประกอบวิชาชีพทุกด้านด้วยมาตรฐานสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ข้อที่ 6 พยาบาลพึงป้องกันอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของผู้ใช้บริการ

พยาบาลพึงป้องกันอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของผู้ใช้บริการ โดยการร่วมมือประสานงานอย่างต่อเนื่องกับผู้ร่วมงาน และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทุกระดับ เพื่อปฏิบัติให้เกิดผลตามนโยบายและแผนพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน พึงปฏิบัติหน้าที่รับมอบหมายงาน และมอบหมายงานอย่างรอบคอบ และกระทําการอันควร เพื่อป้องกันอันตราย ซึ่งเห็นว่าจะเกิดกับผู้ใช้บริการแต่ละบุคคล ครอบครัว กลุ่ม หรือชุมชน โดยการกระทําของผู้ร่วมงานหรือสภาพแวดล้อมของการทํางาน หรือในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูง

ข้อที่ 7 พยาบาลรับผิดชอบในการปฏิบัติให้สังคมเกิดความเชื่อถือไว้วางใจต่อพยาบาลและต่อวิชาชีพการพยาบาล

พยาบาลรับผิดชอบในการปฏิบัติให้สังคมเกิดความเชื่อถือไว้วางใจต่อพยาบาลและต่อวิชาชีพการพยาบาล มีคุณธรรมจริยธรรมในการดํารงชีวิต ประกอบวิชาชีพด้วยความมั่นคงในจรรยาบรรณและเคารพต่อกฎหมาย ให้บริการที่มีคุณภาพเป็นวิสัยเป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชน ร่วมมือพัฒนาวิชาชีพให้เจริญก้าวหน้าในสังคมอย่างเป็นเอกภาพ ตลอดจนมีมนุษยสัมพันธ์อันดีและร่วมมือกับผู้อื่น ในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมทั้งในและนอกวงการสุขภาพ ในระดับท้องถิ่นระดับประเทศและระหว่างประเทศ

ข้อที่ 8 พยาบาลพึงร่วมในการทําความเจริญก้าวหน้าให้แก่วิชาชีพการพยาบาล

พยาบาลพึงร่วมในการทําความเจริญก้าวหน้าให้แก่วิชาชีพการพยาบาล ร่วมเป็นผู้นําทางการปฏิบัติการพยาบาล หรือทางการศึกษาทางการวิจัย หรือทางการบริหาร โดยร่วมในการนําทิศทางนโยบายและแผน เพื่อพัฒนาวิชาชีพพัฒนาความรู้ทั้งในขั้นเทคนิคการพยาบาล ทฤษฎีขั้นพื้นฐาน และศาสตร์ทางการพยาบาลขั้นลึกซึ้งเฉพาะด้าน ตลอดจนการรวบรวมและเผยแพร่ความรู้ข่าวสารของวิชาชีพ ทั้งนี้พยาบาลพึงมีบทบาททั้งในระดับรายบุคคลและร่วมมือในระดับสถาบันองค์กรวิชาชีพระดับประเทศและระหว่างประเทศ

ข้อที่ 9 พยาบาลพึงรับผิดชอบต่อตนเองเช่นเดียวกับรับผิดชอบต่อผู้อื่น

พยาบาลพึงรับผิดชอบต่อตนเองเช่นเดียวกับรับผิดชอบต่อผู้อื่น เคารพตนเองรักษาความสมดุลมั่นคงของบุคลิกภาพ เคารพในคุณค่าของงานและทํางานด้วยมาตรฐานสูง ทั้งในการดํารงชีวิตส่วนตัวและในการประกอบวิชาชีพ ในสถานการณ์ที่จําเป็นต้องเสียสละ หรือประนีประนอม พยาบาลพึงยอมรับในระดับที่สามารถรักษาไว้ ซึ่งความเคารพตนเองความสมดุลในบุคลิกภาพและความมั่นคงปลอดภัย ในชีวิตของตนเช่นเดียวกับของผู้ร่วมงานผู้ใช้บริการและสังคม

จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ หมวด 3 การประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์
ข้อ 10 ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ต้องรักษามาตรฐานของการประกอบวิชาชีพ เทคนิคการแพทย์
ข้อ 11 ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ต้องไม่เรียกร้องสินจ้างรางวัลพิเศษนอกเหนือจากค่าบริการที่ต้องได้รับตามที่ประกาศไว้
ข้อ 12 ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ต้องไม่จูงใจหรือชักชวนผู้รับบริการให้มารับ บริการทางวิชาชีพเทคนิคการแพทย์เพื่อผลประโยชน์ของตน
ข้อ 13 ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ต้องปฏิบัติต่อผู้รับบริการโดยสุภาพ มีน้ำใจ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
ข้อ 14 ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ต้องไม่หลอกลวงผู้รับบริการให้หลงเข้าใจผิด ในการประกอบวิชาชีพเพื่อประโยชน์ของตน
ข้อ 15 ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ต้องประกอบวิชาชีพโดยคํานึงถึงความปลอดภัย และความสิ้นเปลืองที่เกินความจําเป็นของผู้รับบริการ
ข้อ 16 ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ต้องอธิบายให้ผู้รับบริการเข้าใจถึงสาระสําคัญ ของการตรวจและการให้บริการทางวิชาชีพเทคนิคการแพทย์
ข้อ 17 ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ต้องไม่ออกใบรับรองอันเป็นความเท็จโดยเจตนา หรือให้ความเห็นไม่สุจริตในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวกับวิชาชีพแห่งตน
ข้อ 18 ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ต้องไม่เปิดเผยความลับของผู้รับบริการ ซึ่งตนทราบมาเนื่องจากการประกอบวิชาชีพ เว้นแต่ด้วยความยินยอมของผู้รับบริการหรือ เมื่อต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือตามหน้าที่
ข้อ 19 ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ต้องไม่ปฏิเสธการช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในระยะ อันตรายจากการเจ็บป่วย เมื่อได้รับคําขอร้องและตนอยู่ในฐานะที่จะช่วยได้
ข้อ 20 ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ต้องไม่ใช่หรือสนับสนุนให้มีการประกอบ วิชาชีพเทคนิคการแพทย์โดยผิดกฎหมาย
หมวด 4 การปฏิบัติต่อผู้ร่วมวิชาชีพ
ข้อ 21 ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์พึงยกย่องให้เกียรติและเคารพในศักดิ์ศรีซึ่งกันและกัน
ข้อ 22 ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ต้องไม่ดูหมิ่น ทับถม ให้ร้าย หรือกลั่นแกล้งกัน
ข้อ 23 ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ต้องไม่ชักจูงผู้รับบริการของผู้ประกอบวิชาชีพ
เทคนิคการแพทย์อื่นมาเป็นของตน
ข้อ 24 ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ต้องไม่เอาผลงานของผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิค การแพทย์อื่นมาเป็นของตน
หมวด 5 การปฏิบัติต่อผู้ร่วมงาน
ข้อ 25 ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์พึงยกย่องให้เกียรติและเคารพในศักดิ์ศรีของ ผู้ร่วมงาน
ข้อ 26 ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ต้องไม่ดูหมิ่น ทับถม ให้ร้าย หรือกลั่นแกล้ง ผู้ร่วมงาน
ข้อ 27 ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์พึงส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบวิชาชีพของผู้ร่วมงาน
หมวด 6 การทดลองในมนุษย์
ข้อ 28 ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ผู้ที่ทําการทดลองในมนุษย์ต้องได้รับความยินยอม จากผู้ถูกทดลองหรือผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นลายลักษณ์อักษร และต้องได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการว่าด้วยจริยธรรมการทําวิจัยในมนุษย์
ข้อ 29 ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ต้องให้ผู้ถูกทดลองบอกเลิก หรือถอนตัวจาก การร่วมเป็นผู้ถูกทดลองเมื่อใดก็ได้
ข้อ 30 ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ที่ทําการทดลองโดยใช่สิ่งตัวอย่างของมนุษย์ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการว่าด้วยจริยธรรมการทําวิจัยในมนุษย์
หมวด 7 การปฏิบัติตนเกี่ยวกับสถานพยาบาล
ข้อ 31 ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ต้องปฏิบัติตนเกี่ยวกับสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
http://www.mtc.or.th/law_doc/law_ethics.pdf
จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันตกรรม ข้อบังคับทันตแพทยสภา ว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ.2538
หมวด 2 การประกอบวิชาชีพทันตกรรม
ข้อ 5 ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมต้องประกอบวิชาชีพทันตกรรมโดยไม่คำนึงถึงฐานะ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา สังคม หรือลัทธิการเมือง
ข้อ 6 ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมต้องปฏิบัติต่อผู้ป่วยโดยสุภาพ มีน้ำใจมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและปราศจากการบังคับขู่เข็ญ
ข้อ 7 ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมต้องรักษามาตรฐานของการประกอบวิชาชีพทันตกรรมในระดับที่ดีที่สุดแก่ผู้ป่วย โดยไม่เรียกร้องสินจ้างรางวัลพิเศษนอกเหนือจากค่าบริการที่ควรได้รับตามปกติ
ข้อ 8 ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมต้องประกอบวิชาชีพทันตกรรมโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและความสิ้นเปลืองของผู้ป่วย
ข้อ 9 ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมต้องไม่สนับสนุนหรือใช้วิชาชีพทันตกรรมโดยผิดกฎหมาย
ข้อ 10 ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมต้องไม่ใช้ หรือช่วยเหลือผู้มีได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมให้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม รวมทั้งต้องดูแลมิให้มีการประกอบวิชาชีพทันตกรรมของผู้ที่มิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมในสถานพยาบาลที่ตนรับผิดชอบ
ข้อ 11 ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมต้องไม่ใช้ สั่งใช้ หรือสนับสนุนการใช้วิธีการตรวจ วินิจฉัย การบำบัด หรือป้องกันในวิชาชีพทันตกรรม รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ทางทันตกรรมอันไม่เปิดเผยส่วนประกอบ หรือไม่มีหลักฐานทางวิชาการที่เชื่อถือได้รองรับ
ข้อ 12 ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมต้องไม่หลอกลวงผู้ป่วย ให้หลงเข้าใจผิดในการประกอบวิชาชีพทันตกรรมเพื่อผลประโยชน์ของตน
ข้อ 13 ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมต้องไม่จูงใจหรือชักชวนผู้ป่วย ให้มารับบริการทางวิชาชีพทันตกรรมเพื่อผลประโยชน์ของตน
ข้อ 14 ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมต้องไม่ให้ หรือรับผลประโยชน์เป็นค่าตอบแทนเนื่องจากการรับหรือส่งผู้ป่วยเพื่อรับบริการทางวิชาชีพทันตกรรม
ข้อ 15 ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมต้องไม่ปฏิเสธการช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในระยะอันตรายในวิชาชีพทันตกรรม เมื่อได้รับการร้องขอ และตนอยู่ในฐานะที่จะช่วยได้
ข้อ 16 ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมต้องระมัดระวังตามวิสัยที่พึงมี มิให้การประกอบวิชาชีพทันตกรรมใดๆ ของตนเป็นไปในลักษณะอนาจารต่อผู้ป่วย
ข้อ 17 ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมต้องไม่ออกใบรับรองอันเป็นเท็จโดยตั้งใจ หรือให้ความเห็นโดยไม่สุจริตในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวกับวิชาชีพของตน
ข้อ 18 ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมต้องไม่เปิดเผยความลับของผู้ป่วยซึ่งตนทราบมา เนื่องจากการประกอบวิชาชีพ เว้นแต่ด้วยความยินยอมของผู้ป่วยหรือต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือตามหน้าที่
ข้อ 19 ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมต้องไม่จงใจที่จะหน่วงเหนี่ยว หรือทำให้เกิดความล่าช้าในการบริการทางวิชาชีพทันตกรรมแก่ผู้ป่วย เพื่อผลประโยชน์ของตน
ข้อ 20 ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมต้องอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงสาระสำคัญของการให้บริการทางวิชาชีพทันตกรรม เพื่อใช้ประกอบในการตัดสินใจในการบำบัดรักษาของผู้ป่วย และต้องแจ้งค่าบริการให้ผู้ป่วยทราบเป็นรายการว่าแต่ละรายการเป็นจำนวนเงินเท่าใด รวมทั้งสิ้นเท่าใด เมื่อได้รับการร้องขอ
ข้อ 21 ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมต้องคำนึงถึงประโยชน์ในการให้บริการทางวิชาชีพทันตกรรมแก่ผู้ป่วยเป็นสำคัญ โดยยึดถือระบบส่งต่อผู้ป่วยไปยังผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมอื่นที่จะให้บริการทางวิชาชีพทันตกรรมที่ดีกว่าและปลอดภัยกว่า
https://dla.wu.ac.th/elaw/2335/
จริยธรรมสำหรับผู้บริหาร จากหนังสือ จริยธรรมทางธุรกิจ ของ ผศ.ดร.กิ่งดาว จินดาเทวิน
บทที่ 4 จริยธรรมผู้บริหาร
พบหัวข้อ หลักจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร หน้า 76
โดยเริ่มต้นนั้น ได้กล่าวนำว่า หลักธรรมทางด้านศาสนา
ที่สอนให้คนทุกคนทำดี งดเว้นการทำชั่ว มีคุณ 3 ประการ
1. ธรรมะทำให้เกิดการอุปการะ คือ เปรียบเสมือนกัลยาณมิตร
2. ธรรมะทำให้เกิดความงามในจิตใจ และภายนอกทั้งกายและวาจา
3. ธรรมะคุ้มครองโลกได้ ทำให้มนุษย์ระลึกรู้สิ่งดี สิ่งเลว แยกแยกได้
ซึ่งจริยธรรมของผู้บริหารองค์กร ได้นำเสนอไว้ 4 หลักธรรม
ตามธรรมนูญชีวิตของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). 2549 : 14-28;
วศิน อินทสระ. 2549 : 93-102; สมหวัง วิทยาปัญญานนท์. 2543. ออนไลน์ ดังนี้
1. สัปปุริสธรรม 7
2. พรหมวิหาร 4
3. ทศพิธราชธรรม 10
4. มรรคมีองค์ 8
สัปปุริสธรรม 7 1. รู้หลักและรู้จักเหตุ (ธัมมัญญุตา)
2. รู้ความมุ่งหมายและรู้จักผล (อัตถัญญุตา)
3. รู้จักตน (อัตตัญญุตา)
4. รู้จักประมาณ (มัตตัญญุตา)
5. รู้จักกาล (กาลัญญุตา)
6. รู้จักชุมชน (ปริสัญญุตา)
7. รู้จักบุคคล (ปุคคลัญญุตา)
พรหมวิหาร 4
HR Recruitment
คนดี VS คนเก่ง
ธรรมของนักปกครอง หรือผู้เป็นใหญ่ 1. เมตตา (Loving Kindness) - ความรักใคร่ อยากให้เขามีสุข
2. กรุณา (Compassion) - ความสงสาร อยากให้เขาพ้นทุกข์
3. มุทิตา (Appreciative Gladness) - ความยินดี เมื่อเห็นเขาเป็นสุข
4. อุเบกขา (Equanimity) - ความวางใจเป็นกลาง พิจารณาด้วยปัญญา
ทศพิธราชธรรม 10
ทศพิธราชธรรม ประกอบด้วย 1) ทานัง = ทาน 2) สีลัง = ศีล 3) ปริจาคะ = บริจาค 4) อาชชวัง = ซื่อตรง 5) มัททวัง = อ่อนโยน สุภาพ 6) ตะปัง = ความเพียร ข่มใจ 7) อักโกธัง = ไม่ลุแก่อำนาจ 8) อวิหิงสา = ไม่เบียดเบียน 9) ขันติ = อดทน 10) อวิโรธนัง = ยึดมั่นในความถูกต้อง
ธรรมสำหรับผู้ปกครองบ้านเมืองมี 10 ประการ
1. ทาน (Sharing with the Populace)
2. ศีล (Maintaining Good Conduct)
3. ปริจจาคะ (Working Selflessly)
4. อาชวะ (Working Honestly)
5. มัทวะ (Deporting himself with Gentleness and Congeniality)
6. ตปะ (Rejecting Indulgence through Austerity)
7. อโกธะ (Adhering to Reason, not Anger)
8. อวิหิงสา (Bringing Tranquility through Non-Violence)
9. ขันติ (Overcoming Difficulties with Patience)
10. อวิโรธนะ (Not doing that which Strays from Righteousness)
มรรคมีองค์ 8
ทำงานเป็นทีม
ช่วยกันไปถึงเป้าหมาย
มรรค 8 คือ หนทางสู่การดับทุกข์
1. สัมมาทิฏฐิ - ความเห็นชอบ (Right Understanding)
2. สัมมาสังกัปปะ - ความดำริชอบ (Right Thoughts)
3. สัมมาวาจา - การพูดชอบ (Right Speech)
4. สัมมากัมมันตะ - การกระทำชอบ (Right Action)
5. สัมมาอาชีวะ - การเลี้ยงชีพชอบ (Right Livelihood)
6. สัมมาวายามะ - ความเพียรชอบ (Right Effort)
7. สัมมาสติ - ความระลึกชอบ (Right Mindfulness)
8. สัมมาสมาธิ - ความตั้งใจมั่นชอบ (Right Concentration)
อ่านเพิ่มเติม
ความเป็นส่วนตัว ความสมเหตุสมผล ความเท่าเทียม และความเสมอภาค
ห้องเรียนแห่งอนาคต เราทุกคนจะได้ฟัง และได้เรียนรู้ด้วยความเสมอภาค แล้ว 2 ธันวาคม 2564 ได้เข้าร่วมประชุมเผยแพร่ผลการศึกษา โครงการศึกษาวิจัยเรื่อง “ศาลรัฐธรรมนูญกับการคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคล ในสังคมยุคดิจิทัล: ศึกษาเปรียบเทียบต่างประเทศ” ที่ร่วมกันจัดโดย สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ และสถาบันวิชาการนโยบายกิจการสาธารณะกับธุรกิจและการกำกับดูแล (APaR) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จากการฟังการเผยแพร่ผลการศึกษา พบคำที่น่าสนใจมากมาย เช่น PDPA (Personal Data Protection Act) ที่เป็นกฎหมายใหม่ของไทย ชื่อ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือ reasonable คือ สมเหตุสมผล หรือ proportionality คือ สัดส่วน ที่ใช้เป็นเกณฑ์การพิจารณาตามหลักกฎหมายที่ฟังผู้นำเสนอแล้วเข้าใจหลักเหล่านั้นได้ชัดเจนขึ้น
ล้วนึกถึงความเสมอภาคในห้องเรียนแห่งอนาคต ที่นักวิชาการด้านบริหารการศึกษาให้ความสนใจ พบว่า หากเราไปตีความว่า ความเท่าเทียม คือ ความเสมอภาค ก็คงไม่อาจคาดหวังว่าจะเกิด "สังคมที่เป็นธรรม" ที่ยึดหลักความยุติธรรม เป็นเป้าหมายของการสร้างสังคมอันพึงปรารถนาของทุกคน ซึ่ง ความเสมอภาคเป็นความยุติธรรม เกิดขึ้นเมื่อทุกคนเริ่มต้นด้วยทุนที่เท่ากัน ไม่มีใครเหลื่อมล้ำกว่าใคร ส่วนความหมายของ ความเท่าเทียม คือ ความเท่ากันไม่ต่างกัน
วามเท่าเทียม คือ การให้ทุกคนได้ทุกอย่างเหมือนกัน แต่ ความเท่าเทียม จะกลายเป็นความเป็นธรรมและความยุติธรรมได้ก็ต่อเมื่อทุกคนเริ่มจากจุดเดียวกันด้วยทุนที่เท่ากัน ซึ่ง ความยุติธรรมจะเกิดจากความเท่าเทียม ก็ต่อเมื่อทุกคนเกิดมาสูงเท่ากัน อายุเท่ากัน น้ำหนักเท่ากัน การศึกษาเท่ากัน หรือในสังคมที่ทุกคนมีอะไรเหมือนกัน ความยุติธรรมและความเป็นธรรมก็เกิดขึ้นได้ เป็น ความเสมอภาค (bangkokbiznews)
คำศัพท์ที่น่าสนใจ
jurispudence = นิติศาสตร์ หลักกฎหมาย
marital right to privacy = สิทธิในการสมรสเป็นสิทธิในความเป็นส่วนตัว
public emergency = เหตุเร่งด่วนของสาธารณะ
just = ตามกฎหมาย
fair = เป็นธรรม
reasonable = สมเหตุสมผล
proportionality = สัดส่วน
legitimacy = ความชอบธรรม
equity = ความเสมอภาค (ทุน) = ความยุติธรรม
equality = ความเท่าเทียมกัน เป็นมโนทัศน์ทั้งในมิติทางเศรษฐศาสตร์และมิติการศึกษา
Blog: คลิ๊ปลูกน้องไม่พอใจถูกหัวหน้า จึงเอาคืนโดยแกล้งกลับ # คนขับรถธนาคารแค้นที่ผู้จัดการธนาคารจะไล่ออก ทีแรกจะฆ่าด้วยซ้ำ แต่เปลี่ยนใจเป็นขโมยเงิน หวังให้เค้าถูกย้าย หรือถูกไล่ออก ไม่ได้ประสงค์ต่อทรัพย์ ด้วยการเจาะตู้เซฟแบงค์กรุงเทพ เป็นลูกจ้างชั่วคราว อายุ 36 ปี
https://www.youtube.com/watch?v=IjYc-Smet8E
การทะเลาะกับหัวหน้าก็มีเยอะนะครับ เช่น พ.ค.59 ในสถาบันการศึกษา ระดับอุดมศึกษา ที่ ดอกเตอร์ 3 คนฆ่ากันตาย เค้าก็ว่าเป็นปัญหาจากธรรมาภิบาล กรณีนี้ก็คงเป็นธรรมาภิบาลเหมือนกัน
http://www.matichon.co.th/news/142126
ก.ย.55 หนุ่มโรงงานยิงหัวหน้าหมดโม่ ก็เพราะแค้นที่ถูกด่าเรื่องงานอย่างรุนแรง
http://www.thairath.co.th/content/293746
พ.ย.57 ภาโรงแค้นถูก ผอ.โรงเรียน ดุด่าเป็นประจำ คว้าปืน ยิ่งต่อหน้าเพื่อนครูกลางวงเหล้า
http://hilight.kapook.com/view/111970
ธ.ค.58 ผู้พิพากษาสมทบหญิง และนักธุรกิจอหังสาริมทรัพย์ และอีกหลายอย่าง ถูก 5 ลูกน้องอุ้มฆ่า แล้วไปทิ้งในอ่างเก็บน้ำ แต่รอดมาได้ เพราะจับได้ว่าลูกน้องทุจริต ปลอมเอกสารที่ดินมูลค่า 200 ล้าน แล้วจะฟ้อง
https://www.youtube.com/watch?v=itUF7rY2IAE
กรณีของ ดอกเตอร์ฆ่ากันในมหาวิทยาลัยนั้น รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ ชี้ว่า ธรรมาภิบาลในองค์กร ก็มีส่วนสำคัญ
http://www.thaiall.com/blog/burin/7452/
ระบบรับแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์และให้บริการข้อมูลลิขสิทธิ์ ผู้ประกอบการยุคใหม่ ที่เป็นลูกศิษย์ของ อ.แป๋ม เรียนใน หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มักเข้าใจ และพัฒนาผลงานในองค์กรขึ้นมา อาจเป็น งานนวัตกรรม งานพัฒนา งานสร้างสรรค์ งานลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า เป็นต้น เพื่อปกป้องสิทธิ์ต่อผลงานที่สมาชิกในองค์กรเป็นผู้สร้างสรรค์ ตามวัตถุประสงค์ขององค์กรนั้น จึงมักจะพิจารณาในคณะกรรมการ เพื่อส่งผลงานไปจดลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา
อกจากลิขสิทธิ์แล้ว ยังมีบริการรับเรื่องผลงานอีกหลายแบบ อาทิ เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ความลับทางการค้า แบบผังภูมิของวงจรรวม
รณีตัวอย่าง ยื่นผลงานที่เป็นงานวรรณกรรม ประเภทงานนิพนธ์ ที่ประสงค์จดลิขสิทธิ์ ตามแบบฟอร์ม ลข.01 สามารถยื่นเรื่องขอจดได้ที่ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ถ้ามั่นใจว่า เขียนเอง และไม่ประสงค์ให้ใครอ้างสิทธิ์ว่าเป็นผลงานของเขา และนำไปแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ก็ควรยืนเรื่องจดลิขสิทธิ์ด้วยตนเอง แต่ถ้าไม่สะดวกก็มอบอำนาจให้ผู้แทนไปดำเนินเรื่องยื่นเอกสาร ซึ่งหลายองค์กรมีหน่วยงานสนับสนุนช่วยดำเนินการยื่นเอกสารให้จนจบกระบวนการ
ขั้นตอนการยื่นเอกสารเพื่อขอจดลิขสิทธิ์ มีขั้นตอนดังนี้
1. เข้าเว็บไซต์ ipthailand . go . th
2. เลือก บริการออนไลน์ จาก menu bar ด้านบน
3. เลือก ระบบรับแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์และให้บริการข้อมูลลิขสิทธิ์
4. เลือก แจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ แบบฟอร์ม ลข.01
[1] เจ้าของลิขสิทธิ์และตัวแทน
[2] ผลงานและผู้สร้างสรรค์
[3] สถานที่ติดต่อและส่งเอกสาร
[4] ตรวจสอบหลักฐานและส่งคำขอแจ้งลิขสิทธิ์
5. กรอกข้อมูล
- คำขอนี้มีเจ้าของลิขสิทธิ์ทั้งหมดกี่ราย = 1
- คำขอนี้มีตัวแทนเจ้าของลิขสิทธิ์หรือไม่ = ไม่มี
- ประเภทของผู้ยื่นคำขอ = บุคคลธรรมดา
- คำนำนหน้า = นาย , ชื่อ = x , นามสกุล = x , อีเมลที่สามารถติดต่อได้ = x , เบอร์โทรศัพท์ = x
- คลิ๊ก ขั้นตอนต่อไป
6. คำขอแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ ลข.01
- เลขที่ใบนำส่งคำขอ = x
- แก้ไขข้อมูลเพื่อระบุ *เลขประจำตัวประชาชน *กรอกที่อยู่ ตามที่ปรากฎในรายงานการวิจัย
- ตรวจสอบแล้วเลือก เพิ่มเจ้าของลิขสิทธิ์ (หากมีหลายคน)
7. เลือก [2] ผลงานและผู้สร้างสรรค์
- ผลงานที่ต้องการแจ้ง เป็นผลงานประเภทใด = วรรณกรรม และงานนิพนธ์
- ถ้าเป็นผลงานวิจัย เอกสารประกอบการสอน ตำรา แจ้งเป็น วรรณกรรม และงานนิพนธ์ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ก็แจ้งได้
- คลิ๊ก รายละเอียดผลงาน
8. เลือก เพิ่มผลงาน/แก้ไข/ลบ ผลงานได้
- ชื่อผลงาน = x , รายละเอียดการสร้างสรรค์ผลงานโดยย่อ (แรงบันดาลใจ) = x
- สร้างสรรค์ในประเทศ = ไทย , ปีพ.ศ. ที่สร้างสรรค์ = x , การโฆษณาผลงานลิขสิทธิ์ = ยังไม่ได้โฆษณา
- ไฟล์ผลงานประกอบการแจ้งลิขสิทธิ์ = x.pdf
- คลิ๊ก เก็บข้อมูลผลงาน
9. เลือก สถานที่ติดต่อและจัดส่งเอกสาร
- สถานที่ติดต่อและจัดส่งเอกสาร = **ใช้ที่อยู่เจ้าของลิขสิทธิ์ / ที่อยู่อื่น ๆ
- แล้วกรอก ชื่อบริษัท / องค์กร /นิติบุคคล หรือหน่วยงาน = x
- แล้วคลิ๊ก เก็บข้อมูลสถานที่ในการติดต่อและจัดส่งเอกสาร
- วิธีการจัดส่งหนังสือรับรอง = **จัดส่งทางไปรษณีย์ / มารับด้วยตนเอง
- การแจ้งเตือนทางอีเมล = **เจ้าของลิขสิทธิ์ / อีเมลอื่น ๆ
- คลิ๊ก ขั้นตอนถัดไป
10. เลือก ดาวน์โหลด
- หนังสือรับรองความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ แล้วลงนามโดยเจ้าของลิขสิทธิ์
11. เลือก อัพโหลด pdf, jpg, png (5 MB)
- หนังสือรัอบรองความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
- สำเนาบัตรประชาชน (พร้อมลงลายมือชื่อและรับรองสำเนาถูกต้อง)
12. เลือก วิธีการยืนยันตน
- ยืนยันตนผ่านระบบยืนยันตนแบบรวมศูนย์กลาง
- ยื่นเรื่องด้วยตนเอง ณ กรมทรัพย์สินทางปัญญา
13. เมื่อดำเนินการยื่นเอกสารสำเร็จจะได้เอกสาร 2 ฉบับ
1) แบบ ลข.01คำขอแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ ที่มีวันที่ และเลขคำขอ
2) ใบนำส่งคำขอแจ้งลิขสิทธิ์ ลข.01
14. ต่อไปรอผลการพิจารณาจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา
เอกสารประกอบการยื่นเอกสาร โดยเจ้าของลิขสิทธิ์มีดังนี้
1. ผลงานเอกสารที่เป็นวรรณกรรม/งานนิพนธ์ แบบ pdf
2. สำเนาบัตรประชาชน เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง
3. เบอร์โทรมือถือ อีเมล และที่อยู่ติดต่อ
4. ได้แบบฟอร์มยื่นเอกสารจากระบบ ต้องเซ็นลงนามแล้วส่งกลับไป
5. เขียนแรงบันดาลใจในการทำผลงาน (ประมาณ 5 - 10 บรรทัด)
6. ถ้าเป็นผลงานในองค์กร ต้องได้รับการพิจารณาจากเจ้าของลิขสิทธิ์
7. ถ้าไม่ดำเนินการยืนเอง ต้องมีหนังสือมอบอำนาจให้กับผู้ยื่นเอกสาร
ท็อปนิวส์ กราบขออภัย พระมหาไพรวัลย์
ท็อปนิวส์ กราบขออภัย 'พระมหาไพรวัลย์' เผยเหตุผล รายงานข่าวคลาดเคลื่อน⁣
30 พฤศจิกายน 2564 : เพจเฟซบุ๊ก "ไพรวัลย์ วรรณบุตร" โพสต์ภาพหนังสือจากกองบรรณาธิการข่าวออนไลน์ ท็อปนิวส์ เรื่อง กราบขออภัย "พระมหาไพรวัลย์" จากการรายงานข่าวคลาดเคลื่อน⁣
⁣จากกรณีที่ เจ้าหน้าที่ประจำกองบรรณาธิการข่าวออนไลน์ ท็อปนิวส์ ทีมข่าวเด่น ได้นำเสนอข่าวหัวข้อเรื่อง "รวยขนาดนี้ใช้ยังไงหมด!! พระมหาไพรวัลย์ บวช 18 ปี อู้ฟู่หลายร้อยล้าน!! ด้านพระมหาสมปองเตรียมมอบเวสป้าเป็นของขวัญวันสึก" เผยแพร่ทางเฟซบุ๊ก TOPNEWS เมื่อวันที่ 29 พ.ย.64 เวลา 17.45 น.⁣
ทั้งนี้ กองบรรณาธิการข่าวออนไลน์ ได้กราบขออภัยพระมหาไพรวัลย์ และจะใช้ความระมัดระวังในการนำเสนอข่าวสารให้มากกว่านี้ พร้อมกับทิ้งท้ายว่า ยังคงยืนยันยึดมั่นในมาตรฐานจริยธรรมในการดำเนินข่าวต่อไป⁣
นอกจากนี้ พระมหาไพรวัลย์ ยังเขียนแคปชั่นเอาไว้ว่า "ถ้าไม่เป็นการรบกวนมากไป ช่วยเกลียดอาตมาให้น้อยลงกว่านี้อีกสักนิดเถอะนะ นี่คือสิ่งเดียวที่อาตมาอยากได้พร้อมๆ กับคำขออภัยในครั้งนี้"⁣
PDPA : พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

ชวนติดตาม
ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร​
smethai.or.th
ระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หน้า 52 เล่ม 136 ตอนที่ 69 ก ราชกิจจานุเบกษา 27 พฤษภาคม 2562 (PDPA = Personal Data Protection Act) เป็น พ.ร.บ. เพื่อกำหนดมาตรฐานในการดูแลข้อมูลส่วนบุคคล รักษาสิทธิ์ของเจ้าของข้อมูลและเปิดโอกาสให้สามารถพัฒนานวัตกรรมการใช้ข้อมูลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อย่างถูกต้อง
.ร.บ.นี้ เป็นกฎหมายไทยระดับพระราชบัญญัติ มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและภาวะเฉพาะส่วนตัวในประเทศไทย มีการเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวในเดือนพฤษภาคม 2558 โดยได้รับอิทธิพลมาจากระเบียบการคุ้มครองข้อมูลทั่วไป (GDPR = General Data Protection Regulation 2016/679) ซึ่งเป็นกฎหมายคุ้มครองข้อมูลของสหภาพยุโรป
.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า PDPA มีทั้งหมด 44 หน้า แบ่งเป็น 96 มาตรา โดยมาตรา 1 - 7 เป็นส่วนของนิยาม ต่อด้วยรายละเอียดจำแนกเป็นหมวด ดังนี้ หมวด 1 คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีมาตรา 8 - 18 หมวด 2 การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แบ่งเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 บททั่วไป มีมาตรา 19 - 21 ส่วนที่ 2 การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล มีมาตรา 22 - 26 ส่วนที่ 3 การใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล มีมาตรา 27 - 29 ต่อจากนั้น หมวด 3 สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล มีมาตรา 30 - 42 หมวด 4 สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีมาตรา 43 -70 หมวด 5 การร้องเรียน มีมาตรา 71 - 76 หมวด 6 ความรับผิดทางแพ่ง มีมาตรา 77 - 78 หมวด 7 บทกำหนดโทษ มีมาตรา 79 - 81 หมวด 8 โทษทางปกครอง มีมาตรา 82 - 90 บทเฉพาะกาล มีมาตรา 91 - 96
มวด 2 ส่วนที่ 2 การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล มีรายละเอียดหน้า 62 มาตรา 23 ว่า "ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบว่าก่อนหรือในขณะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลถึงรายละเอียด .. (1) - (6) .." ดังนั้นจะพบอยู่เสมอ เมื่อเข้าในเว็บไซต์ใดครั้งแรก จะมีหน้าต่างร้องขอให้ตอบคำถาม เช่น tot.co.th จะพบ "ยอมรับคุกกี้" เพื่อให้เว็บไซต์นำเสนอประสบการณ์ที่ดีขึ้นสำหรับคุณ บริษัทใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อเพิ่มประสบการณ์ และความพึงพอใจของท่าน เพื่อให้เว็บไซต์สามารถใช้งานได้ง่าย และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยการเข้าใช้เว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายคุกกี้ของบริษัท อ่านเพิ่มเติม cookie policy ถ้าต้องการ ลบ และปฏิเสธการเก็บคุกกี้ ของ Chrome หรือ Firefox สามารถอ่านและดำเนินการได้ตามคำแนะนำ เพื่อกดปุ่ม ล้างข้อมูลทั้งหมด ได้
มีรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนที่ 32 ก วันที่ 8 พฤษภาคม 2564 "พระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานและกิจการที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่อยู่ภายใต้บังคับ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ฉบับที่ 2)" มีรายละเอียดในมาตรา 3 ว่าให้เลื่อนออกไปก่อนจนถึงวันที่ 31 พ.ค. 2565 เหตุผลระบุในหมายเหตุว่า ".. อันเนื่องจากการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่พ.ร.บ.ฯ กำหนดนั้น มีรายละเอียดมากและซับซ้อน กับต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสมดังเจตนารมณ์ของกฎหมาย ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสฯ ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องและรุนแรงยิ่งขึ้นจนถึงปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมเป็นอย่างมาก ทำให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นหน่วยงานและกิจการต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวนมากทั่วประเทศยังไม่พร้อม ที่จะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้น สมควรขยายระยะเวลาการใช้บังคับ ออกไปอีกจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 .."
กฎหมาย ระเบียบ จริยธรรม
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
บริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ และ กระทรวงดิจิทัลฯ
ถอดรหัส PDPA สร้างสมดุลแห่งการใช้ข้อมูลในยุคปัจจุบันและอนาคต
PDPA : ข้อมูลมีอิทธิพลต่อความคิด/การกระทำ ซึ่งมีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ความคิด (Thinking) มาจาก (Influenced by) ข้อมูล (Data)
ประสบการณ์ (Experience)
และพื้นฐาน (Fundamental)
ที่ต่างกันไป (Different)

PBL = Problem Based Learning
"นักเรียน ต้องหมั่นเพียร
ตั้งโจทย์ กำหนดปัญหาขึ้นมา
เพื่อถามตัวเอง
ว่า ข้อมูลอะไร ความเชื่ออะไร ประสบการณ์อะไร
ที่ส่งผลให้เราคิด หรือมีอิทธิพลต่อตัวเรา
ได้นำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ เป็นพฤติกรรม
ที่ต่างจากเดิม หรือเหมือนเดิม
แล้วผลลัพธ์สุดท้าย คืออะไร
"
แนะนำ หัวข้อ/หนังสือที่น่าสนใจ
Book : Thinking Clearly with Data: A Guide to Quantitative Reasoning and Analysis
Blog : How I Let Data Influence Choices
Blog : Data-Driven Decision Making: A Primer for Beginners
Techtalkthai : ข้อมูลนั้นสำคัญทั้งบุคคล และธุรกิจ (/mis19)
Google Form กับการใช้สอบออนไลน์
Google Form คือ ระบบฟอร์มออนไลน์เพื่อบริการผู้สร้างฟอร์มได้ตั้งคำถามแล้วรอรับข้อมูลคำตอบจากผู้ให้ข้อมูล โดยแชร์ลิงค์แบบฟอร์มไปให้ผู้ให้ข้อมูล สามารถสั่งเปิดปิดฟอร์มรับข้อมูลได้ ประยุกต์เป็นแบบสอบถามงานวิจัย หรือแบบทดสอบออนไลน์ได้ มีประเภทของตัวเลือกในแบบฟอร์ม อาทิ คำตอบสั้น คำตอบยาวเป็นย่อหน้า หลายตัวเลือก ช่องทำเครื่องหมาย เลื่อนลง อัพโหลดไฟล์ การกำหนดเงื่อนไข เช่น บังคับตอบ สลับตัวเลือก ตอบได้หลายครั้ง หรือเฉลยคำตอบหลังทำเสร็จ
ต.ย. จงตอบคำถามในวิชา xxx แบบ Short answer ให้ครบทุกข้อ ในเวลาที่กำหนด
='Form Responses 1'!B2
=if(lower('Form Responses 1'!C3)="chrome",1,0)

ตัวอย่างแบบฟอร์ม
ต.ย.1 : TEC101 (4 ข้อ) - forms.gle/U1z4P68SMfzeBzTv8 หรือ /jJLXMJrDP9wJrhcb7
ต.ย.2 : TEC102 (4 ข้อ sect) - forms.gle/rsLbLHueeijyPEyQA
ต.ย.3 : TEC102gt (4 ข้อ sect) - forms.gle/FHFSkin5ZSp8P9hM8
ต.ย.4 : TEC103 (4 ข้อเฉลย) - forms.gle/UZoqbbVVBP4Y96cG8
ต.ย.5 : [ส่งภาพถ่าย]gt อัพโหลดหนึ่งแฟ้ม 10 MB - forms.gle/dZ6hLirJV2vtwFCN9
ต.ย.6 : TEC104gt อัพโหลดหลายแฟ้ม 10 MB - forms.gle/azg9kJU7RspVWihk7
ต.ย.7 : TEC101temp (11 ข้อ) - forms.gle/8ueg9MnHSPzietHf9
ต.ย.8 : แบบสำรวจข้อมูลพื้นฐาน ICT 10 ข้อ - forms.gle/nLsSPZbUDWHzZf7n8
ต.ย.9 : Sheet กระดาษคำตอบ แบบ short answer [ต.ย.1 : TEC101]
ต.ย.10 : แบบฝึกสอบก่อนกลางภาค/ปลายภาค - แบบ 1) Image 2) PDF/Image 3) No limit
Allow only specific file types = PDF, Image
Maximum number of files = 1
Maximum file size = 10 MB
Limit to response > 1
youtube.com/watch?v=sS_oI0CAn7Q โดย ครูนรินทร์ อนงค์ชัย
youtube.com/watch?v=u_zisReVayo โดย ClickHereProVideo
youtube.com/watch?v=Ns4J1ezuCiU โดย krucom99

ภาพจาก ต.ย.3
ข้อควรทราบในการใช้ google form
รณีเครื่องดับ - ถ้าสร้างข้อสอบออนไลน์ชุดหนึ่งมีหลาย section แบบไม่ถามให้ login อีเมล หลังจบแต่ละ section เลือก next, back หรือ submit ในหน้าสุดท้ายได้ ในกรณีทำถึง section สุดท้าย แต่ยังไม่ได้กดปุ่ม submit แล้วเครื่องดับก่อน เมื่อกลับมาเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์อีกครั้ง พบว่า ระบบของ google form ไม่ได้เก็บข้อมูลการทำข้อสอบก่อนหน้านั้นไว้ ต้องเริ่มต้นทำใหม่ตั้งแต่ข้อที่ 1
ต่ถ้า login ด้วย email แล้วทำข้อสอบ เมื่อปิด browser หรือ tab ใหม่ใน browser เดิม แล้วใช้ url เดิมของ google form นั้น พบว่า คำตอบที่เคยตอบไว้ยังอยู่ที่เดิม หรือไปเปิดอีก browser แล้ว login ด้วย email เดิม พบว่า คำตอบยังอยู่เหมือนเดิม และพร้อมให้กดปุ่ม submit ต่อได้ เช่น แบบฟอร์ม TEC102 (4 ข้อ แบ่ง section)
ต่สำหรับแบบฟอร์มที่ไม่บังคับให้กรอกอีเมล เราสามารถกรอกข้อมูลได้แบบไม่ประสงค์ออกนาม (anonymous) ทำให้ไม่มีการบันทึกการตอบแบบฟอร์มไว้ในอีเมลโดยอัตโนมัติ จึงไม่มีการจดจำข้อมูลที่กรอกไปแล้ว และยังสามารถใช้งานโหมดไม่ระบุตัวตน (incognito) เพื่อทำแบบทดสอบได้ และ submit ได้ตามปกติ เช่น แบบสำรวจข้อมูลพื้นฐาน ICT 10 ข้อ
ยกชุดกันลอก และจัดการง่าย - ถ้าออกข้อสอบปรนัยจำนวน 60 ข้อ แล้วสร้าง Form ไว้ 3 ชุด ๆ 20 ข้อ นิสิตแต่ละคนทำทีละชุด แบ่งให้นิสิตทำชุดละ 20 ข้อ แล้ว submit ในแต่ละชุด จนครบ 3 ชุด โดยแบ่งนิสิตเป็น 3 กลุ่ม ถ้าอยู่ต่างกลุ่มกัน ก็จะเริ่มต้นทำข้อสอบต่างชุดกัน คือ กลุ่มแรกทำ A1, A2, A3 กลุ่มที่สองทำ A2 , A3 , A1 กลุ่มที่สามทำ A3 , A1 , A2 ข้อดีของการแบ่ง 60 ข้อเป็น 20 ข้อ จำนวน 3 ชุด คือ ลดความเสี่ยงในกรณีไฟดับระหว่างทำข้อสอบ และจัดการกลุ่มได้ง่าย อีกวิธี เพิ่มชุดข้อสอบ คือ แยกข้อสอบเป็นชุด A กับ ชุด B ซึ่ง A และ B ต่างก็มี 3 ชุดย่อย จึงมีทั้งหมด 6 ชุดย่อย คือ A1, A2, A3, B1, B2, B3 นิสิตคนหนึ่งที่ได้ชุด B อาจเริ่มทำจาก B2 ตามด้วย B1 แล้วจบด้วย B3 แต่ห้ามข้ามไปทำชุด A ซึ่งนิสิตอีกกลุ่มทำชุด A ก็ห้ามข้ามไปทำชุด B ยิ่งทำให้การสุ่มนั้น หลากหลายยิ่งขึ้น
หนึ่งภาพอาจสื่อความหมายได้ดีกว่าคำนับพัน
อัลบั้ม - 01-06 : 07-12 : 13-19 : 49 คลิ๊ป
เอกสารอ้างอิง เอกสารอ้างอิง
[1] เจษฎาพร ยุทธนวิบูลย์ชัย และศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล, "ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีการจัดการความรู้", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ, 2549.
[2] ประสงค์ ปราณีตพลกรัง และคณะ, "ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และกรณีศึกษา", บริษัท ธนรัชการพิมพ์ จำกัด, กรุงเทพฯ, 2543.
[3] พนิดา พานิชกุล, "จริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ", บริษัท เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์ จำกัด, กรุงเทพฯ, 2553.
[4] ศ.ดร.เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฎ์ และคณะ, "การจัดการเชิงกลยุทธ์", บริษัท อักษรเงินดี จำกัด, กรุงเทพฯ, 2553.
[5] ผศ.ดร.พรรณี สวนเพลง, "ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ, 2555.
[6] ผศ.ดร.ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และ ผศ.ดร.ไพบูลย์ เกียรติโกมล, "ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ", บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ, 2545.
[7] ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, "3901-2119 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ", วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่, สงขลา.
Thaiall.com