thaiall logomy background

ฆ่าน้อง ฟ้องนาย ขายเพื่อน โดย ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์

my town
กฤษฎา ตันเปาว์ | จริยธรรมสำหรับผู้บริหาร | วิจัยคืออะไร | ศูนย์สอบ | KM | SWOT | คำสำคัญ
เลือกบทความ

60. ฆ่าน้อง ฟ้องนาย ขายเพื่อน

"ฆ่าน้อง ฟ้องนาย ขายเพื่อน" กับทฤษฎีกลไกป้องกันตนเองของคนทำงานเชิงลบในทฤษฎี "พฤติกรรมองค์การ (Organizational Behavior)"
การทำงานของคนเราในชีวิตจริง จะเห็นได้ว่าจะมีการวัดที่ผลงานคนได้หลากหลายมิติ เช่น คนเก่งงาน (Task Oriented) หรือ คนเก่งคน (Relation Oriented) หรือ มองถึงทักษะการจัดการ เช่น การวางแผน (Planning) การจัดองค์กร (Organizing) การมีการทักษะนำ (Leading) และ การควบคุมดูแล (Controlling) หรือ อาจจะมองผลของงาน เช่น มีประสิทธิภาพ (Efficiency) หรือ ประสิทธิผล (Effectiveness) หรือ มิติการวัดผลลัพธ์ที่ได้ เช่น เชิงปริมาณ (Quantity) หรือ เชิงคุณภาพ (Quality) เป็นต้น
อย่างไรก็ตามในองค์กร บางครั้งก็อาจมีคนใช้ "กลยุทธ์เชิงลบ (Negative Strategy)" ที่ไม่ใช่ผลงานรูปธรรมเป็นของตนเอง โดยการ "ฆ่าน้อง ฟ้องนาย ขายเพื่อน" ถ้าเราแยกตามคำ 3 คำ คือ
1) ฆ่าน้อง = หาประเด็นในการทำร้าย ลูกน้อง/ ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือ ใช้อำนาจของตน เช่น ลูกน้องทำงานไม่ถูกใจ มีความเห็นต่างจากตน และ ไม่พอใจ เป็นต้น แต่ไม่เลือกที่จะสอนงาน (Coaching) ให้คำปรึกษา (Consulting) แต่เลือกที่จะลงโทษ (Punishment) ตำหนิติเตียน (Blaming) ไปจนถึงสั่งปลด ย้าย หรือ ให้ออก ( หรือ จะขยายต่อไปที่ "ฟ้องนาย" ด้วย)
2) ฟ้องนาย = ไม่พิจารณาผลงานตน แต่หาประเด็นข้อผิดพลาดของคนต่าง ๆ ในองค์กร เพื่อนำเสนอนาย/ หัวหน้า เพื่อให้เป็นที่จดจำในการหาจุดผิดพลาดของคน/ ฝ่ายต่าง ๆ (ซึ่งแน่นอนคนทำงาน ก็มีทั้งถูก และ ผิด คนไม่เคยผิดแสดงว่าไม่ทำงาน) เพื่อหวังผลให้นายเห็นคุณค่าคำพูดตน มีน้ำหนักอ้างอิงเป็นผลงาน
3) ขายเพื่อน = เป็นหนึ่งในการสื่อสาร (Communication) เชิงลบในการลดค่าคนอื่น เช่น เอาความลับงาน ข้อผิดพลาดงาน หรือ งานที่ล่าช้า เป็นต้น ของเพื่อนร่วมงาน ทั้งที่อาจจะในสายงานเดียวกัน หรือ ต่างสายงาน ทั้งนี้เพื่อลดคุณค่าคนอื่น/ งานคนอื่น (เมื่อตนไม่บวก ก็ไปลบคนอื่น)
ยิ่งหากการกระทำร่วมทั้ง "ฆ่าน้อง ฟ้องนาย ขายเพื่อน" ไปพร้อม ๆ กันก็จะยิ่งร้ายเข้าไปอีก ซึ่งคำเหล่านี้หากมองเชิงทฤษฎีองค์กร (Organizational Behavior) แล้ว คนที่ทำแบบนี้ เป็นเรื่อง "การสร้างการรับรู้ (Perception)" ที่มีทฤษฎีย่อยที่ว่าด้วยการสร้าง "การรับรู้ที่ผิดพลาด (Error of Perception)" จากคน ทำให้มีผลลบต่อคนแวดล้อม แต่เป็นคุณกับตน (โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง) โดยหลักจาก 3 ทฤษฎีย่อยต่อเนื่องกัน ได้แก่
1) การต่อต้านการรับรู้ (Perception Defense)
คือ การไม่ยอมรับใคร ไม่ฟังใคร ไม่เห็นคุณค่าใคร ใครที่เห็นต่างจะไม่ได้ เป็นต้น ซึ่งตนก็รับไม่ได้ต่อต้าน นี่คือ "กลไกป้องกันตนเอง (Self Defense Mechanism)" แบบหนึ่ง
2) การเลือกการรับรู้ (Selective Perception)
คือ ใช้ความรู้สึก/ มุมมองส่วนตน เลือกที่ตนเห็นน้ำหนัก "เลือกที่ตนอยากเห็น เลือกที่ตนอยากได้ยิน (People see, what he wants to see, people hear what he wants to hear)" เช่น มองข้อผิดคนอื่นเป็นประเด็น มองเพื่อนร่วมงานแง่ลบ เป็นต้น เพื่อหาประเด็นขยาย
3) การถ่ายทอดความรู้สึก (Projection)
คือ การนำเสนอ "ความคิดตน ใส่หัวคนอื่น" เป็นการสรุปจบที่ การพยายามถ่ายทอดความรู้สึกตน ให้ "คนที่มีอำนาจชี้เป็นชี้ตาย" เห็นน้ำหนักที่ตนต้องการสื่อสารข้อความ (Message) ไปหา อย่างมีการหวังผลอย่างหนึ่งอย่างใด โดยเฉพาะเรื่องลบคนอื่นไปยังหัวหน้าที่ให้คุณให้โทษ
จากทฤษฎีดังกล่าว คนที่ใช้วิธีนี้ เป็นกลไกป้องกันตนเองเชิงลบต่อคนอื่นโดยที่อาจไม่รู้ตัว เพราะเป็น "กลไกอัตโนมัติ (Automatic Mechanism)" ที่ทำจนชิน บางทีอาจทำมาตลอดการทำงาน จนทำให้การ "ฆ่าน้อง ฟ้องนาย ขายเพื่อน" เป็นธรรมชาติของตน และ อาจมีเหตุผลที่จะอ้างว่าทำงาน ทำหน้าที่ (แต่โยนงานให้คนอื่น) โดยที่เหมือนไม่รู้ตัว คนที่ทำแบบนี้จะเก่งพูดไปพร้อมๆกับเอาอกเอาใจนายเป็นพิเศษอยู่เสมอ และ ด้วยการ "ฆ่าน้อง" ก็จะไม่เหลือน้อง กับ "ขายเพื่อน" ก็จะไม่เหลือเพื่อน ไม่เหลือใคร ที่เหลือก็มีแต่ "นาย" ที่ไม่รู้ตามนิสัย ที่อาจฟังแต่การ "ฟ้องนาย" จนชิน
คนที่ "ฆ่าน้อง ฟ้องนาย ขายเพื่อน" ด้วยกลไกป้องกันตนเองโดยธรรมชาติเหล่านี้ ก็มักจะมีเหตุผลสวยๆว่า "ไม่เป็นไร มาทำงาน ไม่ได้มาหาเพื่อน" ซึ่งมุมนึงคือ จิตใจไม่สนใครนอกจากตนเองเป็นที่ตั้ง หรือ ไม่สนใจพื้นฐานสิ่งมีชีวิตที่คนเราเป็นสัตว์สังคมไปได้โดย "ทุจริตใจ" หากคนที่ทำนิสัยแบบนี้ สังเกตง่ายๆว่า ไปอยู่องค์กรไหน ท้ายที่สุดพอนานไป คนอื่นๆรู้ถึงแก่นแล้วก็หนีห่าง ก็จะเห็นอยู่แบบหัวเดียวกระเทียมลีบ อยู่องค์กรไหนก็จะโดดเดี่ยว แทบไม่มีคนจริงใจเหลือ เพราะตนนั้นมีจริตที่อดไม่ได้คันมือคันไม้ที่ต้อง "ฆ่าน้อง ฟ้องนาย ขายเพื่อน" เป็นผลงานตนอยู่ร่ำไป เป็นบทสรุปที่ไม่ใช่ "การสร้างทีม (Team Building)" แต่เป็น "การทำลายทีม (Team Breaking)" เพื่อตนเท่านั้น
ท่านล่ะ เจอคนในองค์กรที่เป็นเช่นนี้บ้าง หรือ ไม่ ทั้งนี้ไม่ใช่ด้วยความปรารถนาดี แต่ให้ระวังไว้ เพราะ "ศัตรูที่อยู่ตรงหน้า ยังอันตรายน้อยกว่า มิตรภาพปลอมข้างกายเรา"
ด้วยความปรารถนาดี
ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์
27 สิงหาคม 2565

รวมบทความของ ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ จาก facebook.com
 
Kritsada Tunpow : ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ริช เรสเตอรองต์ จำกัด บริษัทจัดตั้งขึ้น เพื่อบริหารจัดการธุรกิจ โชคดีติ่มซำ และ โคขุนโพนยางคำ เป็นนักวิชาการอิสระ ผู้มีประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการการตลาดมาอย่างมากมาย ได้จัดทำ คลิปวิดีโอ หลักสูตรการบริหารจัดการ เผยแพร่ผ่านช่อง Stepplus training และเขียนบทความแบ่งปันในเฟสบุ๊ค Kritsada Pop Tunpow อย่างต่อเนื่อง#
คลิกเปิดแบบ : พรีวิว หรือ ฉบับเต็ม
เอกสารอ้างอิงที่น่าสนใจ แบบ APA

นัฐปกรณ์ รวีธนาธร และ สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ. (2566). กลยุทธ์การขับเคลื่อนผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่การสร้างชุมชนเข้มแข็ง ภายใต้บริบท ความเป็นชุมชนเมือง ในพื้นที่จังหวัดปริมณฑล. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 10(1), 198-213.

จงรักษ์ บุญยืน. (2566). แนวทางการบริหารการนิเทศภายในสำหรับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1. Journal of Modern Learning Development, 8(10), 124-140.

Dir : tec File : handbook_tec_63.txt Topic : kritsada_fb

Reset | Decode
คลิกที่นี่ เพื่อส่งไปทดสอบบน Pagespeed insights
key.php | keyspeed.php
คุณคิดอะไรอยู่
Thaiall.com